วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon <p>วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี เป็นวารสารที่รับบทความวิชาการหรือรายงานผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานป้องกันควบคุมโรคและภัยคุกคามสุขภาพ ทั้งโรคติดต่อและโรคไม่ติดต่อ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทางวิชาการและรายงานผลการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับงานป้องกันควบคุมโรคแก่หน่วยงานและบุคลากรทางด้านการแพทย์และสาธารณสุข (2) เพื่อรายงานความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานป้องกันควบคุมโรคแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ (3) เพื่อเป็นสื่อกระชับความสัมพันธ์ทางแนวคิดและปฏิบัติงานระหว่างสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 สำนักงานสาธารณสุข ศูนย์วิชาการเขต และกรมกองต่างๆที่เกี่ยวข้อง</p> สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี th-TH วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี 2730-194X <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี</p> <p>ข้อความที่ปรากฏในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานีและบุคลากรท่านอื่นๆในสำนักงานฯ แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน หากมีความผิดพลาดใดๆ ผู้เขียนแต่ละท่านจะรับผิดชอบบทความของตนเองแต่ผู้เดียว</p> การประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลาย และภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคในมุมมองประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานีและมุกดาหาร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/268271 <p>การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลการประเมินความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันโรคติดต่อนำโดยยุงลายของประชาชนในจังหวัดอุบลราชธานีและมุกดาหาร 2) ศึกษาภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรคในมุมมองประชาชน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร แหล่งข้อมูลการรับรู้ข่าวสาร ความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวสาร ความรู้เรื่องโรค ความรอบรู้สุขภาพด้านการป้องกันควบคุมโรค และภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรค กับพฤติกรรมการป้องกันโรคของประชาชน คำนวณขนาดตัวอย่างด้วยโปรแกรม G*power ได้ขนาดตัวอย่าง 400 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยการใช้แบบสอบถาม และเชิงคุณภาพโดยการประชุมกลุ่มย่อย วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และข้อมูลเชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับมาก (M=3.92, SD=1.03)<sub> </sub>การเข้าถึงแหล่งข้อมูลของการรับรู้ ร้อยละ 100.0 แหล่งข้อมูลที่สามารถเข้าถึงมากที่สุด 5 แหล่ง เรียงตามลำดับได้ดังนี้ 1) บุคคลที่ใกล้ชิด เช่น เพื่อน/ญาติ/คนในครอบครัว 2) บุคลากรสาธารณสุข 3) วิทยุ 4) อสม. และ 5) โทรทัศน์/เคเบิ้ลทีวี ความพึงพอใจภาพรวมต่อข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับความพึงพอใจมาก (M=4.45, SD=0.53) ระดับความรู้เรื่องโรคติดต่อนำโดยยุงลายอยู่ในระดับน้อย (M=0.56, SD=0.75) ความรอบรู้ด้านสุขภาพในการป้องกันควบคุมโรคอยู่ในระดับมีปัญหา (M=59.61, SD=9.20) พฤติกรรมการป้องกันโรคอยู่ในระดับปานกลาง (M=11.37, SD=3.44) ภาพลักษณ์เชิงบวกของกรมควบคุมโรคในมุมมองของประชาชนมีมุมมองในระดับมาก (M=17.90, SD=2.20) ความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งข้อมูลการรับรู้ข่าวสาร การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร ความพึงพอใจต่อข้อมูลข่าวสาร ความรู้เรื่องโรค ความรอบรู้สุขภาพด้านการป้องกันควบคุมโรค ภาพลักษณ์ของกรมควบคุมโรค มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในระดับต่ำ (0.344, .0196, 0.100, 0.176, 0.246, 0.319) แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่มีการรับรู้ที่ดี มีแหล่งข้อมูลหลากหลาย แต่ความรอบรู้ด้านสุขภาพยังอยู่ในระดับมีปัญหา เนื่องจากทักษะส่วนบุคคล การเข้าถึงข้อมูล และข้อมูลที่ได้รับมีความซับซ้อนเกินกว่าที่ประชาชนบางส่วนจะเข้าถึงและนำไปใช้ประโยชน์ได้ ผลจากการศึกษาสามารถนำไปใช้วางแผนการสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของประชาชนให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ในการป้องกันโรคที่เหมาะสมกับแต่ละบริบทต่อไป</p> ฤชุอร วงศ์ภิรมย์ พฤศจิกาพรน์ ปัญญาคมจันทพูน Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-26 2024-11-26 22 2 9 24 ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรคของพยาบาลวิชาชีพ ในเขตสุขภาพที่ 10 กระทรวงสาธารณสุข https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/268243 <p>การวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของปัจจัยความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ การสนับสนุนทางสังคม และประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรค ต่อพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรคของพยาบาลวิชาชีพ รูปแบบการวิจัยเป็นการศึกษาสหสัมพันธ์เชิงทำนาย กลุ่มตัวอย่างเป็นพยาบาลวิชาชีพที่ดูแลผู้ป่วยวัณโรค ณ คลินิกวัณโรคโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เขตสุขภาพที่ 10 เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม โดยส่งทางไปรษณีย์ จำนวน 87 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติถดถอยเชิงเส้นแบบพหุคูณ</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยวัณโรคเฉลี่ย 8 ปี (x̄ = 7.91, SD = 6.62) ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน ร้อยละ 55.2 ปฏิบัติงานใน รพ.สต. ร้อยละ 44.8 กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรคอยู่ระดับสูง ร้อยละ 82.6 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 51 คะแนน (x̄ = 51.17, SD = 7.15) ปัจจัยด้านการรับรู้การสนับสนุนทางสังคมและทัศนคติต่อการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรค สามารถร่วมกันทำนายพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรคของพยาบาลวิชาชีพในเขตสุขภาพที่ 10 กระทรวงสาธารณสุขได้ ร้อยละ 25.2 (adjust R<sup>2 </sup>= .252, F = 8.244, p &lt; .001) ซึ่งตัวแปรที่สามารถทำนายได้มากที่สุด คือ การรับรู้การสนับสนุนทางสังคม (β = .389, p &lt; .001) รองลงมา คือ ทัศนคติต่อการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อวัณโรค (β = .264, p &lt; .01) ตามลำดับ </p> จิรพันธุ์ อินยาพงษ์ กีรดา ไกรนุวัตร ปิยะธิดา นาคะเกษียร Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-26 2024-11-26 22 2 25 36 การพัฒนารูปแบบการดูแลแบบประคับประคองโดยการมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงห่องแห่ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/268901 <p>วิจัยเชิงปฏิบัติการมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโดยการมีส่วนร่วมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพดงห่องแห่ ตำบลปทุม อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 2) เพื่อศึกษาผลลัพธ์การใช้รูปแบบ ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ การศึกษาสถานการณ์การดูแลแบบประคับประคอง การพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคองโดยการมีส่วนร่วม และการประเมินผลลัพธ์ของการใช้รูปแบบ ผู้เข้าร่วมวิจัย ประกอบด้วย 1) ผู้รับบริการ จำนวน 16 คน 2) ผู้ให้บริการ จำนวน 6 คน และเครือข่ายชุมชน จำนวน 8 คน เลือกแบบเจาะจงตามเกณฑ์คัดเข้า เครื่องมือสัมภาษณ์เป็นแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถามในการประเมินผลลัพธ์การใช้รูปแบบ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้ สถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ Wilcoxon sign ranks test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการดูแลแบบประคับประคองโดยการมีส่วนร่วม โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดงห่องแห่ ประกอบด้วย 1) บุคลากร 2) การสื่อสาร 3) เครือข่าย 4) การบริหารจัดการ ด้านงบประมาณและด้านอุปกรณ์ เครื่องมือ/เวชภัณฑ์ ด้านความพึงพอใจของญาติต่อรูปแบบการดูแลแบบประคับประคองฯ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄=4.81, S.D.=.36) เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z=3.07, P&lt;.05) ทีมผู้ให้บริการมีความเห็นว่า สามารถปฏิบัติตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้นในระดับปฏิบัติทุกครั้ง (x̄=3.91, S.D.=.28) เพิ่มขึ้นกว่าก่อนการใช้รูปแบบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (Z=2.21, P&lt;.05) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือ มี อสม.บั๊ดดี้ในการเยี่ยมบ้าน เกิดกลุ่มผู้มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง มีการทำ Advance care plan มีศูนย์อุปกรณ์การแพทย์ที่จำเป็นสำหรับให้ผู้ป่วยยืมใช้ที่บ้าน</p> บรรเทิง พลสวัสดิ์ อรุณศรี ผลเพิ่ม จรูญศรี มีหนองหว้า กัญญารัตน์ กันยะกาญจน์ Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-26 2024-11-26 22 2 37 48 อุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ หลังรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประชาชนที่มารับวัคซีน ที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/odpc10ubon/article/view/270124 <p>วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นวัคซีนที่พัฒนาขึ้นใหม่และเร่งด่วนยังไม่มีข้อมูลเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เมื่อมีการใช้ในวงกว้าง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประชาชนที่มารับวัคซีนที่อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี เป็นการศึกษาย้อนหลังในประชาชนผู้มารับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งหมดที่หน่วยบริการในอำเภอวารินชำราบ ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน - 30กันยายน 2565 เก็บรวบรวมข้อมูลจากระบบสารสนเทศโรงพยาบาล ฐานข้อมูลกลางของกระทรวงสาธารณสุข และระบบเฝ้าระวังเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ผลการศึกษาพบว่าประชาชนที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 รวมทั้งหมด 141,143 โดส พบรายงานอุบัติการณ์เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ฯทั้งหมด 8,094 รายงาน (คิดเป็นร้อยละ 5.7) โดย 8,073 รายงาน (ร้อยละ 99.7) ไม่ร้ายแรง พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย (aOR= 2.22 95%CI: 2.07-2.34) กลุ่มประชาชนอายุมากกว่า 60 ปี พบน้อยกว่าช่วงอายุอื่น (aOR= 0.63 95%CI: 0.52-0.74) ในขณะที่กลุ่มบุคลากรทางการแพทย์และเจ้าหน้าที่ระบาดพบรายงานผลข้างเคียงได้บ่อยกว่ากลุ่มอื่น (aOR=8.73 95%CI: 7.59-9.88 และ aOR=9.65 95%CI: 8.23-10.91 ตามลำดับ) วัคซีนโควิด-19 ที่มีรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์มากที่สุดคือ Moderna (1,186.6 รายงานต่อหมื่นโดส) และพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ร้ายแรง 21 รายงาน (ร้อยละ 0.3) ได้แก่ โรคหลอดเลือดสมอง (11 รายงาน) กล้ามเนื้อหัวใจตาย (2 รายงาน) ภาวะหัวใจล้มเหลว (1 รายงาน) ความดันโลหิตสูงวิกฤติ (1 รายงาน) ภาวะ ARDS (1 รายงาน) ภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง (1 รายงาน) สมองอักเสบ (1 รายงาน) และเสียชีวิต (2 รายงาน) โดยสรุปวัคซีนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งมีความสำคัญในการป้องกันโรคนั้นพบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคได้บ่อย แต่เกือบทั้งหมดไม่ร้ายแรง ในภาพรวมจึงมีความปลอดภัย อย่างไรก็ตามบุคลากรสาธารณสุขและประชาชนควรตระหนักถึงเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น</p> นุชกานดา มณี สถาพร มณี ณัฐฐิญา กิตติ์ธนกาญจน์ Copyright (c) 2024 สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 10 จังหวัดอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-11-26 2024-11-26 22 2 49 60