TY - JOUR AU - Thaiyanan, Jerusphol PY - 2022/10/03 Y2 - 2024/03/29 TI - ความชุกและปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา JF - วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา JA - PHJ BUU VL - 17 IS - 2 SE - DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/258988 SP - 28-41 AB - <p>                ภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดเป็นสาเหตุสำคัญหนึ่งที่ทำให้ทารกแรกเกิด มีเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตได้สูง และเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่บอกถึงคุณภาพและประสิทธิภาพในการดูแลมารดาและทารกในโรงพยาบาล เพื่อกำหนดแนวทางปฏิบัติและการป้องกันที่เป็นมาตรฐานในดูแลมารดาและทารกในช่วงการฝากครรภ์และช่วงคลอดให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด การวิจัยจึงมีวัตถุประสงค์วิจัยเพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิดที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยบูรพา โดยศึกษาวิจัยแบบ Retrospective study เก็บข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2561 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ.2563 จำนวน 208 คน แบ่ง <br />2 กลุ่ม กลุ่มศึกษา คือ สตรีตั้งครรภ์ที่คลอดทารกแรกเกิด Apgar Score นาทีที่ 1 ≤ 7 จำนวน 52 คน กลุ่มควบคุม คือ สตรีตั้งครรภ์ที่คลอดทารกแรกเกิด Apgar Score นาทีที่ 1 &gt; 7 จำนวน 156 คน สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย SD Odds ratio (95% CI) <br />หาความสัมพันธ์โดยใช้ Chi-Square</p><p>                ผลการวิจัย พบว่า ความชุกของการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ในปี พ.ศ.2561 มีความชุก 24.0 ต่อ 1,000 <br />การเกิดมีชีพ (95% CI: 21.75-26.25) ปี 2562 ความชุก 68.1 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ (95% CI: 44.65-91.75) และ ปี 2563 ความชุก 24.8 ต่อ 1,000 การเกิดมีชีพ (95% CI: 24.74-24.93) เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม (p &lt; 0.5) พบว่าปัจจัยเสี่ยงด้านมารดา คือ อายุครรภ์น้อยกว่า 37 สัปดาห์ (OR 3.21, 95%CI  1.49-6.85) ปัจจัยเสี่ยงด้านทารก คือ น้ำหนักแรกเกิด &lt; 2,500 กรัม (OR 7.29, 95%CI 2.98-17.81)  เมื่อทราบถึงปัจจัยเสี่ยงนี้ทำให้สามารถวางแผนเตรียมความพร้อมตลอดจนการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังในสตรีตั้งครรภ์ เพื่อลดอัตราการเกิดภาวะขาดออกซิเจนในทารกแรกเกิด ลดภาวะทุพพลภาพของทารกและการตายปริกำเนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> ER -