วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu <p>วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นวารสารด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของบุคลากรด้านสาธารณสุข วิทยาศาสตร์การแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทั้งนี้ได้ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 2 (รอบประเมินที่ 4 พ.ศ. 2563-2567 ครั้งที่ 3) บทความในวารสารฯ ทุกเรื่องจะผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ก่อนการเผยแพร่บทความ (Double blinded peer review) ผู้สนใจสามารถส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ได้ทางระบบออนไลน์</p> <p> </p> <p>ISSN 2821-9856 (Online)</p> Faculty of Public Health, Burapha University th-TH วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา 2821-9856 ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักของนักเรียนหญิง อาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/265913 <p> การวิจัยเชิงพรรณนาแบบตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักของนักเรียนหญิงอาชีวศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ จังหวัดปทุมธานี จำนวน 359 คน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น ทำการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และวิเคราะห์ปัจจัยการทำนายด้วยสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน</p> <p> ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนมีอายุเฉลี่ย 17 ปี ค่า BMI อยู่ในเกณฑ์ปกติ ร้อยละ 56.82 ส่วนใหญ่ไม่เคยมีประวัติการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ร้อยละ 72.70 และมีความพึงพอใจในรูปร่างของตนเอง ร้อยละ 55.43 โดยส่วนใหญ่นักเรียนเข้าถึงแหล่งซื้อขายผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ร้อยละ 91.36 และการได้รับข้อมูลข่าวสาร อยู่ในระดับน้อย ร้อยละ 68.52 ในขณะที่คะแนนความรู้อยู่ในระดับมาก ร้อยละ 71.31 (ค่าเฉลี่ย = 16.33 ± 3.86 ) ทัศนคติอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 71.59 (ค่าเฉลี่ย = 36.59 ± 6.83) และพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักอยู่ในระดับมาก ร้อยละ 52.37 (ค่าเฉลี่ย = 20.11 ± 3.33) และพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ได้แก่ ทัศนคติ (β = 0.420, p &lt; 0.001) ประวัติการบริโภค (β = 0.399, p &lt; 0.001) และการได้รับข้อมูลข่าวสาร <br />(β = -0.154, p &lt; 0.01) และสามารถร่วมทำนายพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนัก ได้ร้อยละ 28.7 (Adj. R<sup>2</sup> = 0.287, <em>p </em>&lt; 0.001)</p> <p>ผลการศึกษาดังกล่าว สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคลากรทางด้านสาธารณสุขในการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเสริมลดน้ำหนักที่ถูกต้อง และเหมาะสมให้แก่นักเรียนนักศึกษาต่อไป</p> ประภาศรี เพลงอินทร์ เอมอัฌชา วัฒนบุรานนท์ ปาจรีย์ อับดุลลากาซิม รจฤดี โชติกาวินทร์ Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-22 2024-03-22 19 1 1 13 แนวทางการบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมในนิคมอุตสาหกรรม พื้นที่ภาคตะวันออก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/264458 <p>ปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำในอุตสาหกรรมเป็นความจำเป็นเร่งด่วนในการป้องกันการขาดแคลนน้ำใช้หรือความเครียดของน้ำโดย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาการใช้น้ำในนิคมอุตสาหกรรม 2 แห่ง ได้แก่นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง และนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการน้ำในนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่ภาคตะวันออก และวิเคราะห์องค์ประกอบเกณฑ์ตัวชี้วัดในการบริหารจัดการน้ำในนิคมอุตสาหกรรม ผลการศึกษาพบว่าความคิดเห็นต่อเกณฑ์การบ่งชี้การบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมในนิคมอุตสาหกรรม โดยรวมทั้ง 2 นิคมอุตสาหกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.13 <u>+</u> 0.79 โดยพบว่านิคมอุตสาหกรรมปิ่นทองมีตัวบ่งชี้การบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมในนิคมอุตสาหกรรมสูงกว่านิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ในระดับมากที่สุดที่ค่าเฉลี่ย&nbsp; 4.14 <u>+</u> 0.77 &nbsp;และนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังมีตัวบ่งชี้การบริหารจัดการน้ำที่เหมาะสมในนิคมอุตสาหกรรม ในระดับมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย&nbsp; 4.12 <u>+</u> 0.83&nbsp; ตัวบ่งชี้การบริหารจัดการน้ำที่ได้ค่าคะแนนน้อยที่สุดของนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง &nbsp;ได้แก่ ด้านการเผยแพร่และการส่งเสริมการใช้น้ำ มีค่าเฉลี่ย 3.88 <u>+</u> 0.98 ส่วนนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง มีตัวบ่งชี้การบริหารจัดการน้ำที่น้อยที่สุด ได้แก่ ด้านประสิทธิภาพของระบบควบคุมการบริหารจัดการน้ำในองค์กร มีค่าเฉลี่ย 3.99 <u>+</u> 0.86 นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างมีข้อเสนอแนะ ให้ใช้หลักการจัดการของเสียเป็นศูนย์ ควบคุมคุณภาพของน้ำให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานน้ำอุปโภคและบริโภค บริหารน้ำสำรองให้เพียงพอต่อการใช้ในหน้าแล้ง และกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์&nbsp; เพื่อลดการขัดแย้งต่ออุตสาหกรรมและชุมชน เป็นการใช้ทรัพยากรน้ำร่วมกันอย่างยั่งยืน</p> เพียงใจ หาญวัฒนาวุฒิ กอบเกียรติ ผ่องพุฒิ บุญเลิศ วงค์โพธิ์ วินัย วีระวัฒนานนท์ Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-22 2024-03-22 19 1 14 28 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนหญิง ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดอุทัยธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/267427 <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม การป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนของนักเรียนหญิง ระดับมัธยมศึกษา จังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนหญิงระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดอุทัยธานี ปีการศึกษา 2565 จำนวน 294 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถามออนไลน์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนส่วนมากมีพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ ในวัยเรียนอยู่ในระดับต่ำ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; 0.05) พบว่า ปัจจัยด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ได้แก่ ผลการเรียน (p = 0.021) และรายได้ที่ได้รับจากผู้ปกครอง (p = 0.040) มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนปัจจัยนำ ได้แก่ การรับรู้ความรุนแรง มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.211, p &lt; 0.001) เจตคติต่อพฤติกรรมป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำมาก (r = 0.186, p &lt; 0.001) ปัจจัยเอื้อ ได้แก่ การรู้ เท่าทันสื่อ มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.276, p &lt; 0.001) ทักษะป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ มีความสัมพันธ์กันในทิศทางลบอยู่ในระดับต่ำมาก (r = -0.355, p &lt; 0.001) และปัจจัยเสริม ได้แก่ การได้รับแรงสนับสนุนทางสังคมจากครู ผู้ปกครอง มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับต่ำ (r = 0.246, p &lt; 0.001) และอิทธิพลจากกลุ่มเพื่อน มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.590, p &lt; 0.001) ดังนั้น ควรมีการจัดโปรแกรมสร้างเสริมหรือฝึกทักษะให้กับนักเรียนทุกระดับชั้น เพื่อป้องกันการมีเพศสัมพันธ์ในวัยเรียน เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเอง และผลกระทบที่จะได้รับจากการปฏิบัติพฤติกรรม</p> สุนารี หอมจันทร์ มลินี สมภพเจริญ มณีรัตน์ ธีระวิวัฒน์ Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-07 2024-05-07 19 1 29 42 การเพิ่มคุณภาพการนอนหลับโดยการใช้โปรแกรมการฝึกหายใจแบบใช้กะบังลมในพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/267788 <p>การวิจัยกึ่งทดลองเพื่อศึกษาการเพิ่มคุณภาพการนอนหลับโดยการใช้โปรแกรมฝึกหายใจแบบใช้กะบังลมในพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลหนึ่งในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในแผนก</p> <p>อายุรกรรม รวม 21 คน ผู้วิจัยสาธิตการฝึกหายใจแบบใช้กะบังลมและให้ปฏิบัติเป็นรายบุคคล มีคลิปสั้นและแผ่นพับ เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถามเกี่ยวกับ ข้อมูลส่วนบุคคลและแบบประเมินคุณภาพการนอนหลับพิทส์เบอร์ก (PSQI) ฉบับภาษาไทย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพการนอนหลับก่อนและหลังเข้าร่วมโปรแกรมที่ 2 และ 4 สัปดาห์ ด้วยสถิติ Wilcoxon signed rank test ที่นัยสำคัญทางสถิติ = .01</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 85.7 อายุเฉลี่ย 31.14 ปี มีปัญหาคุณภาพการนอนหลับเกินเกณฑ์มาตรฐานทั้งหมด ร้อยละ 100.0 มีค่าเฉลี่ย 8.71 คะแนน และหลังการเข้าร่วมโปรแกรมที่ 2 และ 4 สัปดาห์ พบว่ากลุ่มตัวอย่างร้อยละ 71.4 และร้อยละ 81.0 มีระดับคุณภาพการนอนหลับอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน มีค่าเฉลี่ย 4.56 คะแนน และ 4.18 คะแนน ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนคุณภาพการนอนหลับก่อนและหลังการเข้าร่วมโปรแกรมที่สัปดาห์ที่ 2 และสัปดาห์ที่ 4 พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (p &lt;.001 และ p &lt;.001 ตามลำดับ) การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่า โปรแกรมการฝึกหายใจแบบใช้กะบังลมสามารถเพิ่มคุณภาพการนอนหลับของพยาบาลวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิผล</p> ณัฐนันท์ จำรูญสวัสดิ์ กนิษฐา จำรูญสวัสดิ์ อรวรรณ แก้วบุญชู ศรีรัตน์ ล้อมพงศ์ Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-13 2024-05-13 19 1 43 55 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุตําบลจําป่าหวาย อําเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/266178 <p>ปัญหาการนอนไม่หลับของผู้สูงอายุส่งผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจและสังคมของผู้สูงอายุ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ และหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุอายุ 60 ปี ขึ้นไปที่อาศัยอยู่ในตำบลจำป่าหวาย อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา จำนวน 139 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีจับฉลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษา พบว่า ผู้สูงอายุมีระดับคุณภาพการนอนหลับอยู่ในระดับไม่ดี (ร้อยละ 51.1) มีระดับสภาพจิตใจและสังคมที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับอยู่ในระดับไม่ดี (ร้อยละ 77.0) มีระดับสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับอยู่ในระดับไม่ดี (ร้อยละ 67.6) พบว่า เพศมีความสัมพันธ์ต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ( = 6.132, p = 0.047) และสภาพจิตใจและสังคม สิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r<sub>s</sub> = .451, p = &lt; 0.001), (r<sub>s</sub> = .477, p = &lt; 0.001) ดังนั้น ควรมีการจัดกิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนหลับของผู้สูงอายุ หรือจัดโครงการส่งเสริมคุณภาพการนอนหลับของผู้สูงอายุให้ดีขึ้น และประเมินปัจจัยรบกวนการนอนหลับของผู้สูงอายุ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนป้องกันปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุต่อไป</p> ภัทรลิตา วงค์คำ ชนิกา เข่งแก้ว พิมมาดา ทะสอน อลงกรณ์ เกษมวัฒนา สุนิษา โสภา ภัทริน แนวหน่อ รัตนากร แสงปัญญา มณุเชษฐ์ มะโนธรรม Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-13 2024-05-13 19 1 56 67 การควบคุมระดับน้ำตาลของผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ด้วยการจัดการตนเองและครอบครัว https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/266839 <p>โรคเบาหวานเป็นโรคที่มีความสำคัญมากและพบบ่อยอยู่ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อและเป็นปัญหาทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศและของโลก โรคเบาหวานทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งชนิดเฉียบพลันและชนิดเรื้อรัง ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวอาจเกิดผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของตัวผู้ป่วย รวมทั้งส่งผลกระทบต่อครอบครัวในการปฏิบัติหน้าที่ที่ต้องมีการปรับเปลี่ยนจากการที่ต้องดูแลผู้ป่วยเบาหวาน จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ป่วยโรคเบาหวานจะต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงปกติ การควบคุมโรคเบาหวานต้องอาศัยการจัดการตนเองในการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานยาและการจัดการความเครียดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดำรงชีวิตให้ดีขึ้นอันเป็นการรักษาหลักของผู้ป่วยโรคเบาหวาน ทั้งนี้จะอาศัยเพียงการจัดการตนเองของผู้ป่วยโรคเบาหวานเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต้องอาศัยการจัดการของครอบครัวเข้ามามีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยเพราะการที่ครอบครัวได้มีส่วนร่วมในกระบวนการจัดการตนเองร่วมกับผู้ป่วยโรคเบาหวานทำให้ครอบครัวมีความรู้ ความเข้าใจโรคและผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถทำหน้าที่ของครอบครัว ให้การสนับสนุนผู้ป่วยโรคเบาวหวาน ประเมินและให้การดูแลเมื่อเกิดภาวะแทรกซ้อนเฉียบพลันจากโรคเบาหวานได้อันเป็นส่วนสำคัญอย่างมากที่ทำให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานเกิดความมั่นใจในการจัดการตนเองเพื่อปรับเปลี่ยนพติกรรมของตนเองในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้</p> ทรงกรฎ ศฤงคาร ตฤณ ทิพย์สุทธิ์ กัลยา มั่นล้วน Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-13 2024-05-13 19 1 68 80 การประเมินผลกระทบจากการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดค่าความเข้มของแสงสว่างในสถานที่จำหน่ายอาหาร เขตบางแค กรุงเทพมหานคร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/268445 <p>การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เพื่อประเมินผลกระทบของผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารที่ตั้งใน เขตบางแค กรุงเทพมหานคร จากการปรับปรุงระบบแสงสว่าง ในสถานที่จำหน่ายอาหารให้ถูกต้องตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดค่าความเข้มของแสงสว่างในสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 กลุ่มศึกษาเป็นสถานที่จำหน่ายอาหารที่ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งสถานที่จำหน่ายอาหารจำนวน 50 ร้าน โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆ ละ 25 ร้าน ร้านกลุ่ม 1 คือ สถานที่จำหน่ายอาหารที่มีการปรุงประกอบอาหารและเครื่องดื่ม สำหรับร้านกลุ่ม 2 มีการเตรียมวัตถุดิบและการอุ่นอาหาร ปัจจัยในการประเมินผลกระทบ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงลักษณะทางกายภาพ และระดับความเข้มของแสงสว่าง ที่เพียงพอต่อพื้นที่ปฏิบัติงาน และความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรวมทั้งผู้ประกอบการร้านจำหน่ายอาหารจำนวน 50 คน ความพึงพอใจจากผู้บริโภคอาหารจำนวน 500 คน และความคิดเห็นจากเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบกลุ่มงานสุขาภิบาลอาหารของสำนักงานเขตบางแค จำนวน 4 คน ผลการศึกษาพบว่า ร้านกลุ่ม 1 และร้านกลุ่ม 2 มีระดับความเข้มของแสงสว่างผ่านเกณฑ์ 300 ลักซ์ 11% และ 27% และผ่านเกณฑ์ 215 ลักซ์ 24% และ 82% ตามลำดับ ส่วนสีของผนังและฝ้าเพดานของทั้งสองกลุ่ม มีสีโทนอ่อนและสามารถสะท้อนแสงจากพื้นผิวได้ดี ดังนั้นทั้งสองกลุ่มต้องปรับปรุงเฉพาะเรื่องระดับความเข้มของแสงสว่างให้ได้มาตรฐาน และปรับตำแหน่งโคมไฟที่ติดตั้งให้เหมาะสม งบประมาณในการปรับปรุงระบบแสงสว่างขึ้นกับชนิดของหลอดไฟ ค่าใช้จ่ายสูงสุดของร้านกลุ่ม 1 และร้านกลุ่ม 2 ประมาณ 10,202 บาท และ 6,462 บาท ตามลำดับ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกกลุ่มต่างเห็นด้วยกับประกาศกระทรวงฯ ฉบับนี้ ดังนั้นการออกประกาศกระทรวงฯ ฉบับนี้มีผลกระทบเชิงลบต่อผู้ประกอบการจำหน่ายอาหารในระดับต่ำ ขณะที่ให้ประโยชน์ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานและความปลอดภัย</p> อิสสรียา อารมณ์ ศศิธร ศรีมีชัย นันทิกา สุนทรไชยกุล Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-16 2024-05-16 19 1 81 94 การวิเคราะห์องค์ประกอบสมรรถนะของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติในหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดชลบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/267996 <p><strong> </strong>การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบสมรรถนะนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติในหน่วยบริการปฐมภูมิ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในจังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างที่ได้จากการสุ่มแบบสะดวก คือ นักวิชาการสาธารณสุขในหน่วยบริการปฐมภูมิ จังหวัดชลบุรี จำนวน 230 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ (Exploratory factor analysis) ได้จำนวนองค์ประกอบของสมรรถนะ 37 ตัวบ่งชี้ สกัดองค์ประกอบด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก (Principal component analysis) และหมุนแกนองค์ประกอบแบบมุมฉากด้วยวิธีวาริแมกซ์ (Varimax) รวมถึงการทดสอบยืนยันความเหมาะสมของข้อมูล พบว่า 3 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านความรู้ ด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะเฉพาะบุคคล</p> <p> ด้านความรู้มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของ ความรู้ระบาดวิทยาของโรค เท่ากับ 0.92 การวิเคราะห์และวางแผนเท่ากับ 0.93 และการบริหารสาธารณสุขเท่ากับ 0.55 ส่วนด้านทักษะมีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของการบริการด้านสาธารณสุขเท่ากับ 0.76 การจัดการข้อมูลสุขภาพ เท่ากับ 0.87 การประสานงานและการทำงานเป็นทีม เท่ากับ 0.87 และการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เท่ากับ 0.91 สำหรับด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบของคุณลักษณะด้านบุคคลเท่ากับ 0.64 คุณลักษณะด้านปฏิสัมพันธ์เท่ากับ 0.83 และด้านคุณลักษณะด้านจรรยาบรรณวิชาชีพเท่ากับ 0.76 โดยทั้ง 3 องค์ประกอบมีความเหมาะสมในระดับมาก (KMO = 0.70) และค่า Bartlett’s Test of Sphericity มี <em>P</em> &lt; 0.001</p> จิตราภรณ์ สายสุพันธุ์ วัลลภ ใจดี เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์ พัชนา ใจดี Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-05-21 2024-05-21 19 1 95 107 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ ของประชาชนวัยก่อนสูงอายุ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/266073 <p> การวิจัยเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชนวัยก่อนสูงอายุ 2) ความแตกต่างของการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชนวัยก่อนสูงอายุ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพสมรส จำนวนบุตร ระดับการศึกษา อายุการทำงาน รายได้ ลักษณะที่อยู่อาศัย และสมาชิกในบ้าน และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้สูงอายุ ความรู้การเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ การรับรู้เกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมกับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุของประชาชนวัยก่อนสูงอายุ อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี โดยศึกษาจากประชาชนผู้มีอายุระหว่าง 45-59 ปี อยู่ในเขตอำเภอเมืองปทุมธานีในปี พ.ศ.2565 จำนวน 31.425 คน ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 440 คน และเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มอย่างเป็นระบบ (Systematic random sampling) เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, One-way ANOVA, และสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน</p> <p> ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างมีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุโดยรวมอยู่ในระดับมาก ( &gt; 3.51) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าอยู่ในระดับมากทุกด้าน คือ ด้านจิตใจ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านร่างกาย ตามลำดับ 2) การเปรียบเทียบการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ สถานภาพสมรส จำนวนบุตร ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และลักษณะที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน มีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ&lt;.05 และ 3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ระดับการศึกษา (r = 0.16, p &lt;.01), รายได้ต่อเดือน (r = 0.11, p = .01), ความรู้เกี่ยวกับการเป็นผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ (r = 0.22, p &lt;.01) และการรับรู้การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ (r = 0.75, p &lt;.01) ซึ่งมีค่าความสัมพันธ์มากที่สุด</p> นฤนาท ยืนยง พันธ์ุทิพย์ รามสูต วนัสรา เชาวน์นิยม Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-12 2024-06-12 19 1 108 121 ฤทธิ์ของสารสกัดเปลือกกล้วยน้ำว้าดิบ (Musa sapientum L.) ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย Staphylococcus epidermidis และ Bacillus cereus จากโรงเรือนเลี้ยงสุกร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/269309 <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของสารสกัดจากเปลือกกล้วยน้ำว้าดิบ (<em>Musa sapientum L.</em>) (UW) ในการยับยั้ง <em>Staphylococcus epidermidis </em>และ <em>Bacillus cereus </em>จากโรงเรือนเลี้ยงสุกรโดยหาความเข้มข้นของสารสกัดที่ต่ำที่สุดที่ยับยั้งการเจริญเติบโต (MIC) และสามารถกำจัดเชื้อแบคทีเรีย (MBC) ทั้งสองชนิด ด้วยวิธี broth microdilution ทำการศึกษาเวลาในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียด้วยวิธี Time-kill ที่ความเข้มข้น 2, 5 และ 10 เท่าของ MIC เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และทดสอบการยับยั้งเอนไซม์โปรตีเอสด้วยวิธี protease activity วิเคราะห์ผลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน</p> <p>ผลการศึกษา พบว่า ค่า MIC ของสารสกัดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของ <em>S. epidermidis</em> และ <em>B. cereus</em> <br />มีค่า 7.81 mg/mL และ 15.625 mg/mL ตามลำดับ เช่นเดียวกับค่า MBC ที่กำจัดเชื้อ <em>S. epidermidis</em> และ <em>B. cereus </em>มีค่า 7.81 และ 15.625 mg/mL ตามลำดับ ผลการทดสอบการยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียต่อหน่วยเวลา (Time-kill) ของสารสกัด UW พบว่า ที่ระดับความเข้มข้น 5 เท่าของ MIC (39 mg/mL) สามารถกำจัดเชื้อ<em> S. epidermidis</em> ได้ที่เวลา <br />8 ชั่วโมง และเมื่อเพิ่มความเข้มข้นเป็น 10 เท่าของ MIC (78 mg/mL) สามารถกำจัดได้ที่เวลา 4 ชั่วโมง สำหรับเชื้อ <em>B. cereus </em>ที่ความเข้มข้น 10 เท่าของ MIC (78 mg/mL) สามารถกำจัดเชื้อได้ที่เวลา 18 ชั่วโมง และสารสกัด UW ความเข้มข้น 3.90 mg/mL สามารถยับยั้งฤทธิ์ของเอนไซม์โปรตีเอสจาก <em>S. epidermidis</em> ได้ ในขณะที่สารสกัดทุกความเข้มข้นไม่สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์โปรตีเอสจาก <em>B. cereus</em> ได้ ผลการศึกษาที่ได้สามารถนำไปพัฒนาและต่อยอด เช่น การสร้างเป็นนวัตกรรมผลิตสารชีวภาพที่ปลอดภัยในการควบคุมจุลินทรีย์ก่อโรคในโรงเรือนเลี้ยงสุกรได้ต่อไป</p> รจฤดี โชติกาวินทร์ ณัฐธิดา ชัยเลิศ ศุภชัย ยอดคีรี ทัดดาว พาหาทรัพย์อนันต์ ทิษฏยา เสมาเงิน Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 19 1 122 133 ความแตกต่างทางเศรษฐกิจสังคมและภาวะซึมเศร้าของครูในประเทศไทย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/268773 <p>การศึกษาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับภาวะซึมเศร้าและความสัมพันธ์ระหว่างความแตกต่างทางเศรษฐกิจและสังคมกับภาวะซึมเศร้าของครูในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างเป็นครูจำนวน 376 คน โดยใช้แบบสอบถามเพื่อประเมินสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม พฤติกรรมสุขภาพ และภาวะสุขภาพจิต วิเคราะห์ผลด้วยสถิติการถดถอยโลจิสติกแบบหลายตัวแปรเพื่อกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างความแตกต่างทางเศรษฐกิจและสังคม กับภาวะซึมเศร้าหลังจากควบคุมตัวแปรร่วมอื่น ๆ ผลการศึกษาพบว่าครูมีอายุเฉลี่ย 35.4 ± 8.6 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 52.6 เป็นครูไทยร้อยละ 82.4 และ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีมากกว่าร้อยละ 80 ครูออกกำลังกายสม่ำเสมอร้อยละ78 พบภาวะซึมเศร้าอยู่ที่ร้อยละ 23.40 (95% CI= 19.38-27.97) พบว่า เพศ (AOR= 1.94, 95% CI: 1.1- 3.4, p&lt;0.001) สัญชาติ (AOR= 3.36, 95%CI: 1.04-5.36, p&lt;0.001) และรายได้ (AOR= 2.57, 95%CI : 1.16-5.67, p&lt;0.001) มีความสัมพันธ์เป็นอย่างมากกับภาวะซึมเศร้า นอกจากนี้ยังพบว่ามีปัจจัยอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับภาวะซึมเศร้า ได้แก่ ประเภทของโรงเรียน จำนวนปีที่ทำงาน ค่าดัชนีมวลกาย การออกกำลังกาย ความวิตกกังวล และความเครียด เนื่องจากครูประมาณ 1 ใน 4 มีภาวะซึมเศร้า ดังนั้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 4 ของสหประชาชาติ ว่าด้วยการศึกษาที่มีคุณภาพ จึงควรมีมาตรการที่มุ่งปรับปรุงภาวะสุขภาพจิตในกลุ่มครู เนื่องจากการลงทุนด้านสุขภาพจิตของครูเป็นสิ่งที่สำคัญมาก</p> Yi Myint Swe Rattanathorn Intarak Somporn Naklang Jishin Jayan Thrippunath Felicitas Calugan Boleyley Nongnuch Suwanaruji Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-06-28 2024-06-28 19 1 134 145