วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu <p>วารสารสาธารณสุขมหาวิทยาลัยบูรพา เป็นวารสารด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่เผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ (มกราคม-มิถุนายน และ กรกฎาคม-ธันวาคม)โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของบุคลากรด้านสาธารณสุข วิทยาศาสตร์การแพทย์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพ ทั้งนี้ได้ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) และอยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 2 (รอบประเมินที่ 4 พ.ศ. 2563-2567 ครั้งที่ 3) บทความในวารสารฯ ทุกเรื่องจะผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ก่อนการเผยแพร่บทความ (Double blinded peer review) ผู้สนใจสามารถส่งบทความเพื่อขอรับการพิจารณาตีพิมพ์ได้ทางระบบออนไลน์</p> <p> </p> <p>ISSN 2821-9856 (Online)</p> th-TH rotruedee@go.buu.ac.th (Asst.Prof.Dr. Rotruedee Chotigawin) yanin@go.buu.ac.th (Yanin Siranonthana) Mon, 01 Jul 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ผลกระทบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/265821 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลที่มีต่อผลกระทบคุณภาพชีวิต ของผู้สูงอายุด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม ในอำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี ของผู้สูงอายุ จำนวน 385 คน จากวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่น .90 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณ (MANOVA) ผลการศึกษาพบว่า ผลกระทบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับน้อย ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\overline{x}" alt="equation" /> = 1.75) โดยผลกระทบด้านร่างกาย อยู่ในระดับน้อย ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\overline{x}" alt="equation" /> = 1.87) ผลกระทบด้านจิตใจ อยู่ในระดับน้อย ( <img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\overline{x}" alt="equation" /> = 1.84) ผลกระทบด้านความสัมพันธ์ทางสังคม อยู่ในระดับน้อย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\overline{x}" alt="equation" /> = 1.57) และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของผู้สูงอายุ อยู่ในระดับน้อย (<img id="output" src="https://latex.codecogs.com/svg.image?\overline{x}" alt="equation" /> = 1.73) และการเปรียบเทียบผลกระทบคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุจำแนกตามเพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ลักษณะครอบครัว และรายได้ ภาพรวมพบว่า ด้านร่างกาย ด้านจิตใจด้านความสัมพันธ์ทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ</p> ดวงรัตน์ เหลืองอ่อน , กัลยา มั่นล้วน, ชุติมา สร้อยนาค Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/265821 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมดูแลตนเองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองของชุมชนบ้านบ้งมั่ง จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/269510 <p>การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในชุมชนบ้านบ้งมั่ง จังหวัดอุบลราชธานี และการวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง การป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง และปัจจัยที่มีความ สัมพันธ์ต่อการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงจำนวน 58 คน โดยเก็บข้อมูลจากแบบสอบถาม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ และค่าสถิติไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่าส่วนปัจจัยนำกลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับโรคหลอดเลือดสมองในระดับสูงร้อยละ 96.6 ส่วนปัจจัยเอื้อกลุ่มตัวอย่างมีการเข้าถึงบริการสุขภาพมากที่สุดคือ ด้านการตรวจรักษาโดยได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขเป็นประจำร้อยละ 87.9 ปัจจัยเสริมพบว่ากลุ่มตัวอย่างได้รับการสนับสนุนทางสังคมมากที่สุด คือด้านครอบครัวร้อยละ 93.1 ด้านพฤติกรรมการดูแลตนเองพบว่าพฤติกรรมที่เหมาะสมมากที่สุดคือ เมื่อมีอาการผิดปกติจะไปพบแพทย์ทันทีร้อยละ 96.6 พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมมากที่สุดคือ รับประทานอาหารที่มีรสเค็มเป็นประจำร้อยละ 32.8 โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง ได้แก่ ปัจจัยอาชีพมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (7.612, p = 0.037) โรคความดันโลหิตสูง (9.656, p = 0.004) ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์ (7.783, p = 0.015) ประวัติการควบคุมความดันโลหิตในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา (9.697, p = 0.012) ดัชนีมวลกาย (4.870, p = 0.038) และปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ และปัจจัยเสริมไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง (p = 0.32, 0.69, &gt;0.05) ตามลำดับ</p> ลติพร อุดมสุข, วชิรญา มุ้ยเผือก, ปิยนุช งามสาย, พงษ์ศักดิ์ คำนาโฮม, รัฐพล ผิวจันทร์ Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/269510 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตา และการสัมผัสสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อการมองเห็นด้วยตาเปล่า ของผู้สูงอายุในประเทศไทย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/269519 <p>การวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา 1) พฤติกรรมการดูแลสุขภาพตา การสัมผัสสิ่งแวดล้อม และการมองเห็นของผู้สูงอายุ 2)วิเคราะห์ลักษณะพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตา และการสัมผัสสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อการมองเห็นด้วยตาเปล่าของผู้สูงอายุ &nbsp;กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในประเทศไทยที่ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 407 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และแบบประเมินการมองเห็นด้วยตาเปล่า ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้ว วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และ การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงโดยใช้ Odds ratio, 95% Confidence interval (95%CI) ที่ระดับนัยสําคัญทางสถิติ p = 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตาอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 78.60 มีการสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการมองเห็น ระดับน้อย ร้อยละ 66.80 มองเห็นด้วยตาเปล่าดี ร้อยละ 92.4 ผลการทดสอบความเสี่ยงของลักษณะพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตา และการสัมผัสสิ่งแวดล้อม ที่ส่งผลต่อการมองเห็นด้วยตาเปล่าของผู้สูงอายุพบว่า&nbsp; การมองหน้าจอ คอมพิวเตอร์/ สมาร์ทโฟน/ แท็บเลต/ โทรทัศน์ ในแต่ละครั้งนานมากกว่า 20นาที การสัมผัสควันจาก บุหรี่ ท่อไอเสีย การเผาไหม้ การสัมผัสสารเคมี ยาฆ่าแมลง และ การไม่ใช้แว่นตา หรือหมวกปีกกว้าง ป้องกันแสงและสิ่งแปลกปลอมเข้าตา มีความเสี่ยง 1.588(1.033-2.441), 1.688(1.139-2.501), 1.828(1.205-2.772) ตามลำดับ&nbsp; อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ทั้งนี้การวางแผนในการสร้างรูปแบบการดูแลสุขภาพตาของผู้สูงอายุ ควรให้ความสำคัญกับการป้องกันอันตรายจากสิ่งแวดล้อมที่ส่งผลต่อการมองเห็น และการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตาของผู้สูงอายุที่เหมาะสม 3ประเด็น ดังกล่าวข้างต้น เพื่อการมองเห็นด้วยตาเปล่าที่ดีในผู้สูงอายุต่อไป</p> ณัทธร สุขสีทอง, กุหลาบ รัตนสัจธรรม, วสุธร ตันวัฒนกุล Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/269519 Mon, 30 Sep 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนากล่องยาอิเล็กทรอนิกส์แจ้งเตือนทานยาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/268965 <p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบและสร้างกล่องยาอิเล็กทรอนิกส์แจ้งเตือนทานยาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ประกอบด้วย ไมโครคอนโทรลเลอร์ ESP8266 ทำหน้าที่เป็นตัวประมวลผลข้อมูล รับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยมีโมดูลตัวรับสัญญาณอินฟาเรด (KY-022) ความถี่ 38kHz และโมดูลส่งค่าแบบ อินฟาเรด (KY-005) ประกอบด้วย LED IR ขนาด 5 mm ทำหน้าที่รับส่งข้อมูลแบบไร้สายระหว่างกล่องยากับรีโมท เพื่อค้นหากล่องยาในระยะที่กำหนด จากการทดสอบ พบว่า กล่องยาอิเล็กทรอนิกส์แจ้งเตือนทานยาผ่านแอปพลิเคชันไลน์สามารถกำหนดเวลาแจ้งเตือนทานยาก่อนอาหารและหลังอาหารจากเว็บแอปพลิเคชัน และแจ้งเตือนข้อความเวลาทานยาก่อนอาหารและหลังอาหารผ่านแอปพลิเคชันไลน์ แสดงสถานะด้วยจอแอลอีดีและเสียงแจ้งเตือนได้ตามกำหนด ทำการค้นหากล่องยาจากหน้าเว็บแอปพลิเคชันที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยมีความคลาดเคลื่อนของเวลาในการแจ้งเตือนเฉลี่ย 2.47 วินาที ระบบสามารถค้นหากล่องยาจากรีโมทได้ในพื้นที่โล่งระยะไม่เกิน 5 เมตร และค้นหากล่องยาจากปุ่มกดบนหน้าเว็บเพจได้ในระยะไม่เกิน 30 เมตร สำหรับพื้นที่โล่งและไม่เกิน 15 เมตร ในพื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวางกล่องยาอิเล็กทรอนิกส์แจ้งเตือนทานยาผ่านแอปพลิเคชันไลน์ สามารถแจ้งเตือนเมื่อลืมกล่องยาได้อย่างอัตโนมัติในระยะ 30 เมตร ในพื้นที่โล่งและไม่เกิน 15 เมตร สำหรับพื้นที่ที่มีสิ่งกีดขวาง</p> รัตนสุดา สุภดนัยสร, ธีรถวัลย์ ปานกลาง Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/268965 Wed, 20 Nov 2024 00:00:00 +0700 ทัศนคติด้านเศรษฐกิจสังคม การรับบริการทางสุขภาพและวิธีการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยที่มีความสัมพันธ์ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/270168 <p>ทัศนคติด้านเศรษฐกิจสังคม การรับบริการทางสุขภาพและวิธีการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยมีความสำคัญต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพ การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ทัศนคติด้านเศรษฐกิจสังคม การรับบริการทางสุขภาพและวิธีการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยกับความรอบรู้ด้านสุขภาพของนิสิตมหาวิทยาลัยพะเยา กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตมหาวิทยาลัยพะเยาที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป จำนวน 390 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างมีระดับทัศนคติด้านเศรษฐกิจสังคมอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 84.6) มีระดับทัศนคติการรับบริการทางสุขภาพและวิธีการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยอยู่ในระดับดีมาก (ร้อยละ 52.6) มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอยู่ในระดับเพียงพอ (ร้อยละ 81.5) ด้านปัจจัยพบว่า หนี้สิน ลักษณะที่อยู่อาศัยและการพักอาศัยมีความสัมพันธ์ต่อความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และพบว่าระดับทัศนคติด้านเศรษฐกิจสังคม ระดับทัศนคติการรับบริการทางสุขภาพและวิธีการดูแลตนเองเมื่อเจ็บป่วยมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r<sub>s</sub> = 0.136, p = 0.007), (r<sub>s</sub> = 0.321, p &lt; 0.001) ดังนั้น การส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ทำให้นิสิตสามารถดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง</p> นภัสวรรณ มามาศ, นัทธริกาณ์ ดุเหว่า, มณุเชษฐ์ มะโนธรรม Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/270168 Tue, 17 Dec 2024 00:00:00 +0700 ผลของโปรแกรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์และพระราชานุเคราะห์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/271016 <p>การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้ เพื่อศึกษา ผลของโปรแกรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์และพระราชานุเคราะห์ มี 2 ระยะ คือ 1) เพื่อการพัฒนาความรู้ความเข้าใจ ประชากร คือ บุคลากรสาธารณสุขที่รับผิดชอบงาน ทั้งหมด จำนวน 152 คน รูปแบบการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ กิจกรรมการพัฒนาความรู้ความเข้าใจคุณภาพชีวิตโดยการบรรยายเชิงปฏิบัติการ การออกแบบพัฒนากิจกรรมคุณภาพชีวิต การนำเสนอและข้อเสนอแนะจากผู้เชี่ยวชาญ และแบบประเมินความรู้ มีความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.71 ระยะเวลา 3 วัน และ 2) เพื่อทดลองใช้โปรแกรมคุณภาพชีวิต กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์และพระราชานุเคราะห์ จำนวน 339 คน การสุ่มแบบอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัย คือ โปรแกรมคุณภาพชีวิตที่พัฒนาขึ้น ได้แก่ การดูแลสุขภาพตนเอง การเสริมสร้างการเห็นคุณค่าตนเอง การสร้างสัมพันธภาพสุขภาพชุมชน และการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อความปลอดภัย ระยะเวลา 12 สัปดาห์ และแบบวัดคุณภาพชีวิต(WHO) มีค่าความเชื่อมั่น 0.84 ค่าความเที่ยงตรง 0.65 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการศึกษา พบว่า 1). ภายหลังได้รับการพัฒนาความรู้ความเข้าใจบุคลากรสาธารณสุขมีความรู้คุณภาพชีวิต ดีกว่าก่อนได้รับความรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และ 2). ภายหลังการเข้าร่วมโปรแกรม ผู้ป่วยในพระบรมราชานุเคราะห์และพระราชานุเคราะห์ ประเทศไทย มีคุณภาพชีวิตโดยรวม และแยกตามองค์ประกอบ ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสัมพันธภาพทางสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม มีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01</p> <p><strong>สรุปและข้อเสนอแนะ</strong><strong>:</strong> การพัฒนาความรู้คุณภาพชีวิตเพื่อนำไปประยุกต์และใช้ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ส่งผลกระทบให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยสูงขึ้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถนำรูปแบบไปใช้เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต</p> พิมพ์รดา สิริจิตต์ธงชัย , ธณกร ปัญญาใสโสภณ Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/271016 Tue, 17 Dec 2024 00:00:00 +0700 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของอาชีพพนักงานทำความสะอาด มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/270825 <p>ภาวะหมดไฟในการทำงานเป็นปัญหาทางสุขภาพจิต ส่งผลกระทบต่อจิตใจของอาชีพพนักงานทำความสะอาด ได้แก่ ความอ่อนล้าทางอารมณ์ การลดความเป็นบุคคล และความสำเร็จส่วนบุคคล การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะหมดไฟในการทำงานของอาชีพพนักงานทำความสะอาด และเพื่อหาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะหมดไฟในการทำงานของอาชีพพนักงานทำความสะอาด มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคเหนือ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานทำความสะอาดอายุระหว่าง 15-59 ปี จำนวน 136 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยวิธีจับฉลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน พ.ศ. 2567 วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติทดสอบไคสแควร์และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความอ่อนล้าทางอารมณ์อยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 54.40) มีการลดความเป็นบุคคลอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 87.50) มีความสำเร็จส่วนบุคคลอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 97.10) ส่วนด้านปัจจัยพบว่า ระดับการศึกษา&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; มีความสัมพันธ์ต่อความอ่อนล้าทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;0.05) ระดับการลดความเป็นบุคคลและระดับความสำเร็จส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์เชิงบวกต่อระดับความอ่อนล้าทางอารมณ์ของอาชีพพนักงานทำความสะอาดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;0.05) ดังนั้น จึงให้ข้อเสนอแนะว่าผู้บริหารองค์กรควรมีการปรับภาระงานและปรับค่าตอบแทนให้เหมาะสมกับระยะเวลาในการทำงาน เพื่อเพิ่มแรงจูงใจในการทำงานให้แก่พนักงานทำความสะอาด</p> การัณยภาส รักษาพล, กัลยกร จินณรักษ์, ณภัทร ปั้นพัว, ปัญจมาพร พันธรณี, พัชราภา ผ่องใส, พิจิตรา หลวงใน, วริศรา ไชยเกษม, วิชุศร แสงจันทร์, มณุเชษฐ์ มะโนธรรม Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุข มหาวิทยาลัยบูรพา http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/phjbuu/article/view/270825 Tue, 17 Dec 2024 00:00:00 +0700