@article{Okascharoen_2018, title={Editor’s Note}, volume={41}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/149993}, abstractNote={<p style="text-align: justify;">ในระยะนี้มีเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในวงการวิชาการและวารสารทางการแพทย์คือ เรื่องที่คณะกรรมการบริหาร (Board of Director) ของ Cochrane Collaboration ได้มีมติไล่ออกกรรมการบริหารคนหนึ่งคือ Peter Gøtzsche และเป็นสาเหตุให้กรรมการบริหารอีก 4 คน ประกาศลาออก ผลคือ กรรมการบริหารจาก 13 คน เหลือเพียง 8 คน</p> <p style="text-align: justify;">Cochrane Collaboration<sup>1</sup> เป็นหน่วยงานไม่แสวงผลหากำไรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการแพทย์ (Evidence-based medicine) ในการตัดสินใจรักษารายบุคคลและระดับนโยบายสุขภาพ จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี ค.ศ. 1993 โดยตั้งชื่อเป็นเกียรติให้กับ Archie Cochrane (1909 - 1988) แพทย์และนักระบาดวิทยาชาวสก็อตที่รณรงค์ให้นำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ในการรักษาผู้ป่วยแทนที่การใช้ประสบการณ์เฉพาะบุคคล ทั้งนี้ Cochrane Collaboration ถือเป็นหน่วยงานที่มีอิทธิพลสูงในวงการแพทย์ เนื่องจากมีสมาชิกมากกว่า 11,000 คน ทั่วโลก และมีสิ่งตีพิมพ์ที่สำคัญคือ Cochrane Library ซึ่งเป็นที่รวมของ Systematic Reviews และ Evidence-based synopsis อื่นๆ โดยมีผู้เชี่ยวชาญที่เขียน Systematic reviews ใน Cochrane Library มากกว่า 35,000 คน รวมทั้งมีอัตราการถูกอ้างอิงที่สูงมาก</p> <p style="text-align: justify;">เหตุการณ์ที่ทำให้ Peter Gøtzsche ถูกไล่ออกจากกรรมการบริหารและสมาชิกของ Cochrane Collaboration มาจากการที่ Peter Gøtzsche ได้ร่วมเขียนบทความในวารสาร BMJ Evidence-Based Medicine หัวข้อ “The Cochrane HPV vaccine review was incomplete and ignored important evidence of bias”<sup>2</sup> ซึ่งทางกรรมการบริหารพิจารณาเห็นว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการดูแคลนคุณภาพของ Systematic review ของ Cochrane Library รวมทั้งถือเป็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของกรรมการบริหาร</p> <p style="text-align: justify;">Peter Gøtzsche ซึ่งมีตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการของ Nordic Cochrane Center ได้ออกแถลงการณ์<sup>3</sup> ว่าการที่เขาถูกไล่ออกจากกรรมการบริหารนั้น เนื่องมาจากความเสื่อมลงของจริยธรรมและธรรมาภิบาลของ Cochrane Collaboration</p> <p style="text-align: justify;">กรรมการบริหารอีก 4 คน จึงได้ลาออก เพื่อประท้วงการลงมติที่ไม่เป็นธรรมของที่ประชุมกรรมการบริหารที่ให้ไล่ Peter Gøtzsche ออก<sup>4</sup></p> <p style="text-align: justify;">ทางกรรมการบริหาร Cochrane Collaboration ที่เหลืออยู่ก็ได้ออกแถลงการณ์แก้ข้อกล่าวหา<sup>5</sup></p> <p style="text-align: justify;">เหตุการณ์นี้ถือว่าสั่นสะเทือนความเชื่อมั่นต่อ Cochrane Collaboration และทำให้นักวิชาการในวงการวิทยาศาสตร์การแพทย์เริ่มขาดความเชื่อมั่นใน Cochrane Library<sup>6</sup></p> <p style="text-align: justify;">จากกรณีนี้ ผมขอไม่กล่าวถึงการตัดสินความถูกผิดของเหตุการณ์ดังกล่าว แต่สิ่งที่อยากสื่อสารกับผู้อ่านมีสองประเด็นครับ ประเด็นที่หนึ่งคือ ธรรมาภิบาล (Corporate governance) มีความสำคัญกับความน่าเชื่อถือขององค์กร ซึ่งผู้บริหารสถานศึกษา/สถาบันวิชาการมักไม่ให้ความสำคัญ ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลมีตัวอย่างชัดเจนจากผลประเมินเรื่องวัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กรจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ในปี พ.ศ. 2559 และการดำเนินการทำให้ข้อมูลนั้นหายไปจากรายงาน<sup>7</sup> ประเด็นที่สองคือ อิทธิพลของการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social network) ในปัจจุบันที่ทำให้เหตุการณ์ลักษณะนี้เผยแพร่อย่างรวดเร็ว ซึ่งผลกระทบก็แล้วแต่กรณีครับ</p>}, number={3}, journal={Ramathibodi Medical Journal}, author={Okascharoen, Chusak}, year={2018}, month={Oct.} }