@article{Okascharoen_2017, title={Editor’s Note}, volume={40}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/150303}, abstractNote={<p>วัคซีน (Vaccine) มีประเด็นที่น่าสนใจทั้งในระดับประเทศและเป็นเรื่องใกล้ตัว โดยขอสรุปเป็น 3 ประเด็น ดังนี้</p> <p>          ประเด็นแรกเป็นเรื่องของ HPV (Human papillomavirus) vaccine ในประเทศไทยเรียกว่า วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก (ซึ่งอาจเรียกชื่อที่ไม่ถูกต้อง [Misnomer]) วัคซีนดังกล่าวได้เริ่มใช้ในประเทศที่พัฒนาแล้วมาหลายปี สำหรับในประเทศไทยได้บรรจุวัคซีนดังกล่าวเข้าในบัญชียาหลักแห่งชาติ ซึ่งเด็กไทยทุกคนจะได้รับการฉีดวัคซีนโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยวัคซีนดังกล่าวได้เริ่มฉีดให้เด็กบางพื้นที่ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา<sup>1</sup> อย่างไรก็ตาม ผมขอกล่าวถึงสิ่งที่ขัดแย้งกับแนวทางปฏิบัติของประเทศไทย จากเหตุการณ์ที่ประเทศญี่ปุ่นถอน HPV vaccine ออกจากรายการวัคซีนที่เด็กญี่ปุ่นควรได้รับ<sup>2 </sup>และมีการฟ้องร้องบริษัทผู้ผลิตวัคซีน<sup>3</sup> เนื่องจากสาเหตุของผลข้างเคียงจากการได้รับ HPV vaccine ซึ่งประกอบด้วย อาการปวดเรื้อรังที่แขนขา (Complex regional pain syndrome, CRPS) ภาวะหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ (Postural orthostatic tachycardia syndrome, POTS) อาการอ่อนเพลียเรื้อรัง (Chronic fatigue syndrome, CFS) กลุ่มอาการกิลแลง-บาร์เร หรือโรคเส้นประสาทอักเสบเฉียบพลัน (Guillain-Barré syndrome, GBS) และภาวะเสียชีวิตกะทันหันโดยไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อน (Sudden unexpected death) แม้ว่าผลข้างเคียงดังกล่าวนี้ยังไม่มีข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนแล้วทั้งหมด<sup>4</sup> แต่พึงทราบว่าข้อพิสูจน์ที่ชัดเจนจะมีขึ้นเมื่อเกิดผลข้างเคียงต่อผู้ได้รับวัคซีนแล้วในจำนวนพอสมควร นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างที่น่าสนใจจาก UK Association of HPV Vaccine Injured Daughters (AHVID)<sup>5</sup> ในสหราชอาณาจักร โดยเกิดจากการรวมตัวของกลุ่มผู้ปกครองที่บุตรสาวได้รับผลกระทบจากผลข้างเคียงของการได้รับ HPV vaccine ซึ่งในสหราชอาณาจักรเองกำลังมีการฟ้องร้องบริษัทผู้ผลิตวัคซีนเช่นกัน ดังนั้นการได้รับ HPV vaccine ยังต้องระมัดระวังอยู่ครับ</p> <p>          ประเด็นที่สองเป็นเรื่องของ Dengue vaccine ซึ่งเป็นวัคซีนป้องกันโรคไข้เลือดออกที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus) โดยบริษัทผู้ผลิตได้ประกาศเตือนเรื่องความปลอดภัย สาระสำคัญคือ หากผู้ที่ไม่เคยติดเชื้อไวรัสเดงกีมาก่อน เมื่อได้รับ Dengue vaccine จะก่อให้เกิดโรคไข้เลือดออกที่รุนแรงกว่าผู้ที่ไม่ได้รับ vaccine<sup>6</sup> ซึ่งเป็นผลให้ประเทศฟิลิปปินส์ประกาศระงับการฉีดและจำหน่าย Dengue vaccine<sup>7</sup> ขณะที่ประเทศไทยยังไม่ได้ระงับการฉีดและจำหน่ายวัคซีนดังกล่าว<sup>8</sup> ทั้งนี้ The Asian Society for Pediatric Infectious Disease (ASPID) ได้ออกแถลงการณ์เกี่ยวกับประกาศจากทางบริษัทผู้ผลิตวัคซีน<sup>9 </sup>ซึ่งมีข้อสรุปดังนี้</p> <p>1) ประกาศระบุว่าข้อมูลนี้มาจากการวิเคราะห์ย้อนหลัง ซึ่งหมายถึงว่ามีโอกาสคลาดเคลื่อนสูง เนื่องจากไม่ได้วางแผนวิจัยไว้ก่อน ที่เรียกว่า Post hoc หรือ Retrospective analysis ทั้งนี้ ผู้อ่านควรระมัดระวังข้อความลักษณะนี้ เพราะแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้วัคซีน (Vaccination guidelines) จำนวนมากใช้ข้อสรุปจากการวิเคราะห์ย้อนหลัง กล่าวคือ เมื่อข้อมูลได้รับความเชื่อถือจึงไม่ได้ระบุว่าเป็นการวิเคราะห์ย้อนหลัง</p> <p>2) ประชากรในประเทศแถบเอเชียมีสัดส่วนผู้ที่เคยได้รับเชื้อไวรัสเดงกีมาก่อนในอัตราสูง ดังนั้นโอกาสที่ผู้ได้รับวัคซีนแล้วจะเกิดการติดเชื้อที่รุนแรง (เพราะไม่เคยได้รับเชื้อมาก่อน) จึงมีค่อนข้างน้อย ดังนั้นการได้รับวัคซีนน่าจะมีประโยชน์กว่า</p> <p>3) การตรวจวินิจฉัยเพื่อประเมินการติดเชื้อไวรัสเดงกีมาก่อนด้วยวิธีมาตรฐาน Dengue Plaque Reduction Neutralization Test (PRNT) เป็นวิธีที่มีราคาแพงและทำได้ยาก จึงยังไม่สามารถนำไปใช้ได้ทั่วไป</p> <p>          ทั้งนี้ ในแถลงการณ์ได้สรุปว่า ผู้ที่ได้รับ Dengue vaccine ไปแล้วอย่าตื่นตระหนก และวัคซีนนี้ยังมีประโยชน์ในผู้ที่เคยได้รับเชื้อไวรัสเดงกีมาก่อน (ประสิทธิภาพของวัคซีนชนิดนี้ประมาณร้อยละ 65)</p> <p>          ในความเห็นส่วนตัวของผม มีข้อที่ต้องคำนึงเพิ่มเกี่ยวกับอุบัติการณ์ของโรคไข้เลือดออกในผู้ใหญ่โดยเฉพาะในเขตเมืองที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ท่านผู้อ่านคงจำกรณีคุณปอ ทฤษฎี ได้) แม้ว่าผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคไข้เลือดออกจะยังคงพบอยู่แต่ไม่มากเหมือนในอดีต การที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศให้ยังฉีด Dengue Vaccine ได้ในผู้ที่อายุ 9-45 ปี ยังคงมีความเสี่ยงอยู่พอสมควร เนื่องจากเด็กโตในเขตเมืองจำนวนหนึ่งจะยังไม่เคยได้รับการติดเชื้อไวรัสเดงกีมาก่อน</p> <p>          สุดท้ายนี้ ประเด็นที่สามมาจากการที่ผมได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นกรรมการในคณะกรรมการวัคซีนขององค์การเภสัชกรรม เป็นที่น่าตกใจว่าปัจจุบันประเทศไทยไม่ได้ผลิตวัคซีนเองเลยแม้แต่ชนิดเดียว เป็นการนำเข้ามาทั้งหมด โดยองค์การเภสัชกรรมเลิกผลิตวัคซีนไปตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากปัญหาด้านคุณภาพ รัฐบาลจึงมีนโยบายให้ฟื้นการผลิตวัคซีนขึ้นใช้เอง จากโรงงานวัคซีนที่ใกล้เปิดดำเนินการที่ตำบลทับกวาง จังหวัดสระบุรี แต่ยังเป็นกระบวนการที่คงต้องใช้เวลาพอควร และยังคงผลิตเฉพาะวัคซีนพื้นฐานก่อนครับ</p>}, number={4}, journal={Ramathibodi Medical Journal}, author={Okascharoen, Chusak}, year={2017}, month={Dec.} }