@article{Okascharoen_2017, title={Editor’s Note}, volume={40}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/150342}, abstractNote={<p>       เมื่อเร็วๆ นี้ ทางรามาธิบดีเวชสารได้พบกับปัญหาของ plagiarism ซึ่งศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถานและ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) แปลว่า “การลอกเลียนทางวรรณกรรม” ปัญหา plagiarism ถือว่าพบได้บ่อย โดยจากงานวิจัยหนึ่งที่ตรวจสอบบทความที่ส่งไปที่ American Journal of Roentgenology (AJR) โดย Taylor DB.<sup>1</sup> พบว่า จากการสุ่ม 110 บทความจากทั้งหมด 1160 บทความที่ส่งในปี 2014 มีถึง 12% ที่ตรวจพบว่าเป็น plagiarism</p> <p>        ปัญหานี้ในประเทศไทยไม่มีรายงานที่ชัดเจน เพราะโดยปกติแล้วตรวจพบได้ยากมากสำหรับวารสาร<br>ซึ่งตีพิมพ์บทความที่เป็นภาษาไทย เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบ plagiarism ระหว่างบทความภาษไทย และที่ยากขึ้นไปอีกคือ plagiarism ระหว่างภาษา เช่น การแปลจากภาษาอื่นเป็นภาษาไทย <br>วิธีเดียวที่ทำได้ในปัจจุบันคือ การอ่านโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีประสบการณ์และอ่านมามาก</p> <p>          การกำหนดขอบเขตของ plagiarism ไม่ได้มีเกณฑ์ที่ชัดเจนนัก Wager E.<sup>2</sup> ได้แนะนำหลักเกณฑ์เบื้องต้นดังนี้</p> <ol> <li class="show">ปริมาณหรือขอบเขต (Extent) โดยดูว่าปริมาณมากน้อยเท่าใด ซึ่งไม่ได้มีกรอบชัดเจน แต่ถ้า<br>ลอกเลียนทั้งบทความ หรือเป็นส่วนใหญ่ของบทความ ก็จะสงสัยว่าน่าจะเป็น plagiarism กรณีที่มีการนำข้อความหรือข้อมูลจำนวนมากมาใส่ในบทความแล้วใช้วิธีการอ้างอิงถึงอาจจะไม่เพียงพอ ต้องมีการขอความยินยอมหรือลิขสิทธิ์เป็นทางการ</li> <li class="show">ความเริ่มแรก (Originality of copied material) กรณีนี้ในวารสารทางวิทยาศาสตร์มักหมายถึง รูปภาพ ซึ่งแม้นำมาเพียงรูปเดียวโดยไม่มีการอ้างอิงหรือขอลิขสิทธิ์ที่เหมาะสม ก็อาจถูกตีความมีเจตนาเป็น plagiarism ได้</li> <li class="show">บริบทของเนื้อหา (Position/Context) เนื่องจากเนื้อหาในบางส่วนของบทความโดยเฉพาะผลงานวิจัยมักมีข้อความที่คล้ายๆ กัน เช่น วิธีการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ใช้บ่อย วิธีวิเคราะห์ทางสถิติ เป็นต้น ดังนั้น ความคล้ายคลึงในส่วนนี้อาจไม่ถูกพิจารณาว่าเป็น plagiarism แต่หากปรากฏในส่วนอื่นของบทความก็อาจถูกพิจารณาว่ามีเจตนาเป็น plagiarism</li> <li class="show">การอ้างอิง (Referencing/Attrition) ปัญหาของส่วนนี้มักมาจากการอ้างอิงที่ไม่ถูกต้อง กรณีที่พบบ่อยคือ ผู้นิพนธ์นำข้อมูลมาจากบทความที่อ้างอิงมาจากงานวิจัยต้นฉบับ บางทีก็มีการอ้างอิงมาหลายทอด และ<br>ผู้นิพนธ์อาจเข้าใจว่าได้อ้างอิงหรือขอความยินยอมที่เหมาะสมแล้ว แต่ไม่ได้ตรวจสอบให้ดีว่าไม่ได้อ้างอิงไปถึงงานวิจัยต้นฉบับ ซึ่งอาจทำให้ถูกพิจารณาว่ามีเจตนา plagiarism ได้</li> <li class="show">เจตนา (Intention) การดูเจตนานี้จะขึ้นกับบรรณาธิการของแต่ละวารสาร เพราะบรรณาธิการไม่มีสิทธิสอบสวนผู้นิพนธ์ได้ จะทำได้แต่ดูปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ประกอบ แต่ข้อนี้มีผลมากต่อการตัดสินว่าเป็น plagiarism หรือไม่</li> <li class="show">ประสบการณ์ของผู้นิพนธ์ (Author seniority) กรณีที่ตรวจพบหรือสงสัยว่าจะเป็น plagiarism บรรณาธิการจะดูว่าผู้นิพนธ์นี้ได้เขียนหรือเคยตีพิมพ์มามากหรือยัง หากเป็นผู้นิพนธ์ที่มีประสบการณ์ <br>(รวมถึงผู้นิพนธ์ร่วม เช่น หัวหน้าหน่วย หรืออาจารย์ที่ปรึกษาที่มีชื่ออยู่) ก็จะถูกตีความว่ามีเจตนา plagiarism <br>เพราะโอกาสที่จะเกิดจากความรู้เท่าไม่ถึงการณ์จะลดลงไปมาก</li> <li class="show">ภาษา (Language) เนื่องจากไม่มีเครื่องมือที่สามารถตรวจระหว่างภาษา หากตรวจพบหรือต้องสงสัยว่าเป็น plagiarism ก็จะมีแนวโน้มที่บรรณาธิการจะเชื่อว่าเป็น plagiarism เพราะผู้มีนิพนธ์อาจมีเจตนากระทำ<br>ด้วยเชื่อว่าตรวจได้ยาก</li> </ol> <p>       จากข้อแนะนำของ Wager E. ไม่ได้เป็นกฎเกณฑ์สากลที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป การตัดสินขึ้นกับบริบทของบรรณาธิการและวารสารนั้นๆ การดำเนินการต่อ plagiarism ก็ไม่ได้มีกติกาที่ชัดเจน โดยมีตั้งแต่<br>การเตือน การปฏิเสธบทความ จนถึงการร้องเรียนต่อสถาบันของผู้นิพนธ์</p> <p>       ทั้งนี้ ผู้อ่านสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ plagiarism ได้ที่เว็บไซต์ https://plagiarism.org ครับ</p>}, number={2}, journal={Ramathibodi Medical Journal}, author={Okascharoen, Chusak}, year={2017}, month={Jun.} }