@article{Okascharoen_2016, title={Editor’s Note}, volume={39}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ramajournal/article/view/177166}, abstractNote={<p>รามาธิบดีเวชสารได้รับการจัดกลุ่มจากศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ให้อยู่ในกลุ่มที่ 1 จากสามกลุ่ม ซึ่งการจัดการกลุ่มนี้เป็นการจัดลำดับตามคุณภาพวารสาร โดยเกณฑ์การวัดคุณภาพมีดังนี้<sup>(1)</sup></p> <p>1. บทความทุกบทความต้องมีการควบคุมคุณภาพจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer review)<br>2. ออกตรงตามเวลาที่กำหนด<br>3. มีอายุการตีพิมพ์บทความวิชาการไม่น้อยกว่า 3 ปี หรือตีพิมพ์อย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 6 ฉบับ<br>4. มี citation ที่ตรวจสอบได้จากฐานข้อมูล TCI<br>5. มีการกำหนดกติกาและรูปแบบการตีพิมพ์อย่างชัดเจน<br>6. มีกองบรรณาธิการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิมาจากหลากหลายหน่วยงาน<br>7. ตีพิมพ์บทความที่ผู้นิพนธ์มาจากหลากหลายหน่วยงานทั้งภายในและภายนอก<br>8. มีการตีพิมพ์บทความที่มีรูปแบบการตีพิมพ์และรูปเล่มที่ได้มาตรฐาน<br>9. มีเว็บไซต์ที่มีข้อมูลกติกาและรูปแบบการตีพิมพ์ และมีการปรับปรุงเนื้อหาให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง</p> <p>โดยวารสาร TCI กลุ่มหนึ่งก็จะมีคุณภาพตามเกณฑ์ดังกล่าวเกือบครบทั้งหมด</p> <p>ผลการจัดลำดับตาม TCI คือการที่วารสารนั้นๆ จะสามารถใช้ในการขอตำแหน่งวิชาการหรือขอจบการศึกษาได้หรือไม่ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ) แต่พึงทราบว่าการจัดลำดับของ TCI เป็นการบ่งชี้คุณภาพของตัววารสารแต่ไม่ได้บ่งชี้คุณภาพของตัวบทความในวารสาร</p> <p>มีตัวบ่งชี้หนึ่งที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ Impact Factor ซึ่งริเริ่มโดย Eugene Garfield ผู้ก่อตั้ง Institute for Scientific Information (ISI) ซึ่งปัจจุบันคือ Web of Science ของบริษัท Thomson Reuter โดย Impact Factor นั้น เป็นการบอกค่าเฉลี่ยจำนวนครั้งที่บทความในวารสารถูกอ้างอิงในแต่ละปี ซึ่งบ่งชี้เป็นนัยถึงความนิยมหรือคุณภาพของวารสาร จนเป็นที่ใช้กันแพร่หลายถึงว่าวารสารที่ดีต้องมีค่า Impact Factor สูง</p> <p>แต่ในระยะหลังมีการตั้งคำถามถึงความน่าเชื่อถือของ Impact Factor โดยข้อมูลที่น่าสนใจจากบทความของ Ewen Callaway<sup>(2)</sup> ที่แสดงให้เห็นว่า Impact Factor อาจไม่ได้บอกคุณภาพของวารสารจริงๆ ดังภาพในหน้าถัดไป ที่เปรียบเทียบข้อมูลการอ้างอิงของวารสาร Nature ซึ่งเป็นวารสารทางวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงเทียบกับ PLOS One ซึ่งเป็นวารสารแบบเปิดเข้าถึงฟรี (Open Access Journal) ที่จะเห็นได้ว่า Impact Factor ของ Nature อาจสูงเกินจริงไปหลายเท่า เพียงเพราะมีบทความเพียงไม่กี่เรื่องที่มีผู้อ้างอิงสูงมาก</p> <p>จากความก้าวหน้าทาง internet technology และความนิยมการใช้ Social media ในระยะหลังมีการนิยมใช้ Article-Level Metrics (ALM)<sup>(3)</sup> มากขึ้น Article-Level Metrics เป็นการจัดลำดับตามจำนวนการ View (อ่าน) Save (เก็บ file หรือ download ไว้) Discuss (พูดถึง วิจารณ์ใน blog หรือ social media) Recommended (แนะนำ บอกต่อ) และ Cited (อ้างอิง) ซึ่งสรุปดังรูปด้านล่าง<sup>(4)</sup> Article-Level Metrics น่าจะบ่งชี้ถึงคุณภาพในระดับบทความได้ดีกว่า Impact Factor ซึ่งหลายสำนักพิมพ์อย่าง Elsevier, Springer, Oxford Journals และกลุ่มวารสาร Open Access อย่าง PubMed Central, PLOS One ก็ใช้เครื่องมือนี้ในการบ่งชี้คุณภาพบทความ</p> <p> </p>}, number={3}, journal={Ramathibodi Medical Journal}, author={Okascharoen, Chusak}, year={2016}, month={Sep.} }