@article{เมธานพคุณ พ.บ.,_2020, title={ความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ในโรงพยาบาลหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์}, volume={39}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/242799}, abstractNote={<p><strong>วัตถุประสงค์</strong>:เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาในโรงพยาบาลหัวหิน</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong>: การศึกษาเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลังโดยเก็บข้อมูลจากแบบบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยโรคเบาหวานทุกรายที่เข้ารับบริการในคลินิกจักษุ แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลหัวหิน ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2561 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2561 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการวินิจฉัยภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาโดยจักษุแพทย์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบบันทึกข้อมูลประกอบด้วย ข้อมูลเพศ อายุ ดัชนีมวลกายโรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง ระดับน้ำตาลในเลือดครั้งล่าสุด ระยะเวลาที่เป็นเบาหวาน และระดับความรุนแรงของภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวนร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาด้วยการวิเคราะห์ t-test independent, chi-square test เปรียบเทียบสัดส่วนความเสี่ยง (odds ratio) ระหว่างกลุ่มที่เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตากับกลุ่มที่ไม่เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ด้วยการวิเคราะห์ binary logistic regression และการประมาณค่าขอบเขตความเชื่อมั่น คิดเป็นร้อยละ 95 (95% confidence interval: 95% CI) และพิจารณาจุดตัดของการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ด้วยค่า sensitivity และ specificity โดย ROC curve</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด 1,404 ราย พบความชุกของการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาร้อยละ 8.8 ระดับน้ำตาลในเลือด (mg/dL) ในกลุ่มที่เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา   (155.83 ± 45.94) มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (144.52 ± 40.75) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.01) และระยะเวลาเป็นเบาหวาน (เดือน) ในกลุ่มที่เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (110.17 ± 79.20) มีค่าสูงกว่ากลุ่มที่ไม่เกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา (74.34 ± 60.83) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.001) โดยพบว่า ถ้าระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น 1 mg/dL ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.5 โดยมีจุดตัดระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ที่ 173.50 mg/dL และถ้าระยะเวลาเป็นเบาหวานเพิ่มขึ้น 1 เดือน ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาเพิ่มขึ้น ร้อยละ 0.70 โดยมีจุดตัดระยะเวลาเป็นเบาหวานอยู่ที่ 138 เดือน ส่วนปัจจัยอื่น ได้แก่ เพศ อายุ ดัชนีมวลกาย      โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง ไม่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา</p> <p><strong>สรุป </strong><strong>: </strong>ความชุกของการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาของผู้ป่วยเบาหวานในโรงพยาบาล หัวหิน เท่ากับร้อยละ 8.8 ระดับน้ำตาลในเลือดและระยะเวลาการเป็นเบาหวานเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา ดังนั้นควรมีการให้ความรู้แก่ผู้ป่วยโรคเบาหวานและเฝ้าระวัง เพื่อลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร ตั้งแต่ 173.50 mg/dL ขึ้นไป เพื่อลดการเกิดภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตา</p>}, number={2}, journal={วารสารแพทย์เขต 4-5}, author={เมธานพคุณ พ.บ., เทียนชัย}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={178} }