@article{ลักขณาภิชนชัช พ.บ.,_2020, title={ประสิทธิผลของการใช้รองเท้าและอุปกรณ์พยุงส้นเท้าและฝ่าเท้าชนิดหล่อพิเศษ เฉพาะรายในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลที่เท้า}, volume={39}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/242850}, abstractNote={<p><strong>          วัตถุประสงค์</strong>:  เพื่อศึกษาประสิทธิผลต่อการป้องกันการเกิดแผลซ้ำซ้อน  และปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดแผลดังกล่าวภายหลังการได้รับ รองเท้า( shoes) และอุปกรณ์พยุงส้นเท้าและฝ่าเท้าชนิดหล่อพิเศษเฉพาะราย</p> <p>( total contact foot orthotics :TCFOs )ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลที่เท้า</p> <p>          <strong>วิธีการศึกษา</strong>: ติดตามผู้ป่วยเบาหวานทีมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลทีเท้า( neuropathic ulcer )    ซึ่งได้รับรองเท้าและ TCFOs จากงานกายอุปกรณ์ กลุ่มงานเวชกรรมฟื้นฟูโรงพยาบาลราชบุรี จาก มกราคม2559–มิถุนายน พ.ศ.2561 โดยติดตามระยะเวลาเป็นอย่างน้อย 6 เดือน  โดยบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล   ความผิดปกติของเท้า ดัชนีมวลกาย (BMI)  ระดับน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหาร( fasting blood sugar : FBS ) เฉลี่ย  การนำไปใช้  อัตราการเกิดแผลซ้ำซ้อน  วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดแผลดังกล่าว  </p> <p><strong>           ผลการศึกษา</strong>: ผู้ป่วยทั้งหมด 48 ราย ช่วงอายุ 34-81 ปี  (เฉลี่ย 59.31± 10.43 ปี) ส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 54.2 ) ระยะเวลาเป็นเบาหวานเฉลี่ย 13.73 ± 9.60 ปี  ระดับน้ำตาลเฉลี่ย 146.77 ± 47.85 mg /dl ค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เฉลี่ย 27.48 ± 4.34 กิโลกรัม/ เมตร²  รูปร่างเท้าผิดปกติจำนวน 22 ราย (ร้อยละ45.8 ) มีแผลที่เท้าเมื่อแรกรับรองเท้าจำนวน 28 ราย (ร้อยละ 58.3)  นิ้วเท้าถูกตัดขาดอย่างน้อยหนึ่งนิ้วจำนวน 14 ราย (ร้อยละ 29.2 ) ระยะเวลาติดตามเฉลี่ย 10.51 ± 6.37  เดือน แบ่งเป็นได้รับทั้งรองเท้าและอุปกรณ์พยุงส้นเท้าและฝ่าเท้าชนิดหล่อพิเศษเฉพาะรายจำนวน 35 ราย  (ร้อยละ 72.9 ) ได้รับอุปกรณ์พยุงส้นเท้าและฝ่าเท้าชนิดหล่อพิเศษเฉพาะรายอย่างเดียวจำนวน 13 ราย (ร้อยละ 27.1)   พบแผลซ้ำซ้อนจำนวน 6 ราย (ร้อยละ 12.5)  ไม่พบปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดแผลซ้ำซ้อนอย่างมีนัยสำคัญโดย odds ratio และ 95 % confidence interval   เกี่ยวกับระยะเวลาการเป็นเบาหวาน( duration≥ 10 years)  การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่เข้มงวด (  FBS≥  141 mg/dl)  ภาวะน้ำหนักตัวเกิน ( BMI ≥ 25 )  รวมทั้งการไม่ใช้รองเท้าและ TCFOs   </p> <p>          <strong> สรุป</strong> :  การใช้รองเท้าและ  TCFOs ในผู้ป่วยเบาหวานที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดแผลที่เท้า พบอัตราการเกิดแผลซ้ำซ้อน ร้อยละ  12.5   ปัจจัยเกี่ยวกับระยะเวลาการเป็นเบาหวาน (duration≥ 10 years)   การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่เข้มงวด (  FBS≥   141 mg/dl)  ภาวะน้ำหนักเกิน ( BMI ≥ 25 )  รวมทั้งการไม่ใช้รองเท้าและ TCFOs  ไม่มีผลต่อการเกิดแผลดังกล่าวอย่างมีนัยสำคัญ    <strong>  </strong></p>}, number={2}, journal={วารสารแพทย์เขต 4-5}, author={ลักขณาภิชนชัช พ.บ., ปราณี}, year={2020}, month={มิ.ย.}, pages={240} }