@article{บุญจร พ.บ.,_2020, title={การพัฒนาการจัดการโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านช่องทางด่วน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์}, volume={39}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/248346}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลในการพัฒนาการจัดการผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านช่องทางด่วน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> ศึกษาเปรียบเทียบผลของการพัฒนาการจัดการผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันโดยระยะเวลาแบ่งเป็น 2 ช่วงเวลา คือ ระยะก่อนพัฒนาเดือนมกราคม พ.ศ. 2560 ถึง ธันวาคม พ.ศ. 2561 จำนวนผู้ป่วย 21 ราย และระยะหลังพัฒนา เดือนมกราคม พ.ศ. 2562 ถึงธันวาคม พ.ศ. 2562 จำนวนผู้ป่วย 29 ราย โดยวัดผลจากระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ผู้ป่วยมาถึงโรงพยาบาลจนกระทั่งได้รับยาละลายลิ่มเลือด (door-to-needle time) ระยะเวลาเฉลี่ยตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มมีอาการโรงพยาบาลจนกระทั่งได้รับยาละลายลิ่มเลือด (onset-to-treatment time) ผู้ป่วยที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือดที่เกิดภาวะแทรกซ้อนซึ่งครอบคลุม symptomatic intracranial hemorrhage (sICH) ที่ได้รับการผ่าตัดและเสียชีวิต และ Barthel indexระหว่างก่อนรับเข้าโรงพยาบาลและก่อนจำหน่ายกลับบ้าน</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ในกลุ่มผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลัน การพัฒนาการให้ยาละลายลิ่มเลือด ณ ห้องฉุกเฉินพบว่า ระยะก่อนพัฒนาผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดจำนวน 21 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.85 และหลังพัฒนาพบว่าเพิ่มเป็น 29 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.76 โดยมีระยะเวลาเฉลี่ยที่ผู้ป่วยได้รับยาหลังมาถึงโรงพยาบาลระยะก่อนพัฒนาใช้เวลาเฉลี่ย 79.2 ± 30.6 นาที และหลังพัฒนาระยะเวลาเฉลี่ยลดลงเป็น 59.0 ± 22.5 นาที นอกจากนี้อัตราผู้ป่วยได้รับยาภายใน 60 นาที ระยะก่อนพัฒนามีจำนวน 7 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.3 ระยะหลังพัฒนาเพิ่มเป็น 19 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.5 ส่วนภาวะแทรกซ้อนในการเกิดภาวะเลือดออกในสมองและมีอาการแย่ลงหลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด ระยะก่อนพัฒนาพบจำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 4.76 ของจำนวนผู้ป่วยได้รับยาทั้งหมดและเสียชีวิต หลังพัฒนาเกิดภาวะเลือดออกในสมองและมีอาการแย่ลง หลังได้รับยาละลายลิ่มเลือด เพิ่มขึ้นเป็นจำนวน 2 ราย คิดเป็นร้อยละ 6.89 และเสียชีวิต จำนวน 1 ราย คิดเป็นร้อยละ 3.45 ของจำนวนผู้ป่วยได้รับยาทั้งหมด</p> <p><strong>สรุป:</strong> การพัฒนาระบบการจัดการโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันผ่านช่องทางด่วน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ กล่าวคือ ทำให้จำนวนผู้ป่วยได้รับยาละลายลิ่มเลือดเพิ่มขึ้น ลดระยะเวลาการได้รับยาละลายลิ่มเลือดของผู้ป่วยหลังจากมาถึงโรงพยาบาล และพบการเกิดภาวะแทรกซ้อนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน</p> <p> </p>}, number={4}, journal={วารสารแพทย์เขต 4-5}, author={บุญจร พ.บ., เนตรชนก}, year={2020}, month={ธ.ค.} }