@article{บรรจงภาค พ.บ.,_2020, title={ผลการรักษาและปัจจัยสู่ความสำเร็จในการรักษาผู้ป่วยเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวี ในโรงพยาบาลนครปฐม ประเทศไทย}, volume={39}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/248381}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>          วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาผลการรักษาและปัจจัยสู่ความสำเร็จของการรักษาผู้ป่วยเด็กติดเชื้อเอชไอวีในโรงพยาบาลนครปฐม</p> <p><strong>          วิธีการศึกษา:</strong> ศึกษาย้อนหลังแบบ cohort study ในเด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อเอชไอวี (0 – 20 ปี) ช่วงเมษายน พ.ศ. 2544 -  มีนาคม พ.ศ. 2563 (19 ปี) รวบรวมข้อมูลทั่วไปและข้อมูลทางคลินิก ก่อนและหลังการรักษาด้วยยาต้านไวรัส วิเคราะห์ผลการรักษาและปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิต โดยใช้ paired t-test, chi-square, และ multivariate logistic regression โดยคำนวณ odds ratio ที่ระดับ ช่วงความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p < .05</p> <p><strong>          ผลการศึกษา:</strong> ผู้ป่วยทั้งหมด 167 คน เพศหญิงร้อยละ 58.1 อายุเริ่มยาต้านไวรัสเฉลี่ย 7.4  4.1 ปี ส่งต่อคลินิกผู้ใหญ่และโรงพยาบาลอื่นร้อยละ 50.8 รักษาต่อในคลินิกเด็กร้อยละ 19.8 ขาดนัดร้อยละ 14.4 เสียชีวิตร้อยละ 15 ส่วนใหญ่ร้อยละ 90.9 รักษาด้วยยาสูตร 2NRTI + NVP/EFV และร้อยละ 62.2 ยังคงยาสูตรเดิม ผลการรักษาสามารถเพิ่มภูมิต้านทาน (จาก CD<sub>4</sub> ตั้งต้นเฉลี่ย = 11.1  10.5%, เพิ่มเป็น CD<sub>4</sub> สุดท้ายเฉลี่ย = 20.8  11.0%) กดไวรัสลง (จาก viral load: VL > 1,000 copies/mm<sup>3</sup> ตั้งต้นพบร้อยละ 81.8 ลดลงสุดท้ายเหลือร้อยละ 46.2 และเพิ่มจำนวนผู้ป่วยที่มี VL < 20 copies/mm<sup>3</sup> จากร้อยละ 0 เป็นร้อยละ 53.8) เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทั้งน้ำหนักและส่วนสูง (น้ำหนักและส่วนสูงตั้งต้น จากค่ามัธยฐาน = 10 เพิ่มเป็น 20 และ 40 เปอร์เซ็นต์ไทล์ตามลำดับ) ปัจจัยเสี่ยงต่อการเสียชีวิตดังนี้ 1) การเริ่มยาต้านไวรัสช้าที่อายุ > 5 – 15 ปี มี odds ratio = 3.1, p-value = .044  2) drug adherence ต่ำ มีความเสี่ยงสูงมาก p-value = < .001 (ผู้เสียชีวิตทุกคนมี drug adherence ต่ำ) 3) ระดับ CD<sub>4</sub> สุดท้าย < 20% มีความเสี่ยงสูงมาก p-value < .001 (ผู้เสียชีวิตทุกคนมีค่า CD<sub>4</sub> < 20%) 4) VL สุดท้าย  20 copies/mm<sup>3</sup> มี odds ratio = 2.43 p-value = .001 5) น้ำหนักและส่วนสูงตั้งต้นและสุดท้าย < 3 เปอร์เซ็นต์ไทล์ มี odds ratio = 13.62, 7.34, 20.52 และ 20.23 ตามลำดับ โดยทั้งหมดมี p-value < .001</p> <p><strong>          สรุป</strong><strong>:</strong> แนวโน้มเด็กที่ติดเชื้อเอชไอวีพบรายใหม่ลดลง การได้รับยาต้านไวรัสทำให้ภูมิต้านทานฟื้นตัว สามารถกดไวรัสได้ เพิ่มอัตราการเจริญเติบโตทั้งน้ำหนักและส่วนสูง ลดการเจ็บป่วย และรอดชีวิตเพิ่มขึ้น ปัจจัยที่ส่งเสริมให้เกิดผลการรักษาดีขึ้น คือ การเริ่มยาต้านไวรัสเร็วที่อายุน้อย ระดับ CD<sub>4 </sub>ตั้งต้นสูง น้ำหนักและส่วนสูงดี มี drug adherence ดี</p>}, number={4}, journal={วารสารแพทย์เขต 4-5}, author={บรรจงภาค พ.บ., สุธัญญา}, year={2020}, month={ธ.ค.} }