@article{ใจอารีย์ พย.ม.,_2020, title={ผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับ โรงพยาบาลนครปฐม }, volume={39}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/248759}, abstractNote={<p><strong>บทคัดย่อ</strong></p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับและศึกษาผลลัพธ์ของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับ</p> <p><strong>รูปแบบการศึกษา</strong><strong>: </strong>เป็นการวิจัยและพัฒนา (research and development) ดำเนินการวิจัย 2 ระยะคือ 1) การพัฒนาแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันแผลกดทับ และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันแผลกดทับ โดยการเปรียบเทียบอัตราการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ระหว่างกลุ่มที่ได้รับการดูแลแบบเดิมกับกลุ่มที่ได้รับการดูแลด้วยแนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้น และศึกษาความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกใหม่ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ประกอบด้วย แบบบันทึกการเกิดแผลกดทับในผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงและแบบสอบถามความพึงพอใจของพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการเปรียบเทียบความแตกต่างของ กลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม และอัตราการเกิดแผลกดทับโดยใช้สถิติ t-test  และ Chi – square</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> พบว่า 1) แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วย 6 หมวด คือ  การประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดแผลกดทับ,  การประเมินผิวหนังและดูแลความสะอาดผิวหนัง, การดูแลภาวะโภชนาการ,  การจัดท่าพลิกตะแคงตัว,  การใช้อุปกรณ์ลดแรงกด  และการจัดโปรแกรมการให้ความรู้ ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับการดูแลแบบเดิมทั้งหมด 425 คน และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลด้วยแนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับที่พัฒนาขึ้น จำนวน 410 คน และ 2) พยาบาลที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยกลุ่มเดียวกันจำนวน 131 คน การเปรียบเทียบความแตกต่างของอัตราการเกิดแผลกดทับพบว่า อัตราการเกิดแผลกดทับของกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลตามแนวปฏิบัติทางคลินิกที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นต่ำกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ใช้แนวปฏิบัติเดิม โดยมีอัตราการเกิดแผลกดทับเท่ากับ  3.19 และ 7.05 ครั้งต่อ 1000 วันนอนกลุ่มเสี่ยง ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนความพึงพอใจของพยาบาลต่อการใช้แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับใหม่ พบว่า อยู่ในระดับมาก (คะแนนรวมเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 จากคะแนนเต็ม 5 คะแนน)</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>แนวปฏิบัติทางคลินิกสำหรับป้องกันการเกิดแผลกดทับที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมนำไปใช้เป็นแนวปฏิบัติสำหรับพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเกิดแผลกดทับ ในโรงพยาบาลนครปฐมได้</p>}, number={4}, journal={วารสารแพทย์เขต 4-5}, author={ใจอารีย์ พย.ม., ฉัตรวลัย}, year={2020}, month={ธ.ค.} }