@article{เจริญผล_2021, title={รูปแบบการดำเนินงานตามมาตรการในยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 – 2564 ของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอในจังหวัดเพชรบุรี}, volume={40}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/250079}, abstractNote={<p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>ศึกษาการรับรู้การดำเนินงานตามมาตรการ ศึกษาความต้องการพัฒนา ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการพัฒนา และเพื่อเสนอรูปแบบการดำเนินงานตามมาตรการในยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 – 2564  </p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> โดยใช้แบบสอบถามสำหรับผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารแผนยุทธศาสตร์ของเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอในจังหวัดเพชรบุรี จำนวน 278 คน ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับผู้อำนวยการโรงพยาบาล จำนวน 8 คน และสาธารณสุขอำเภอ จำนวน 8 คน ศึกษาระหว่างวันที่ 15 – 30 พฤศจิกายน 2563 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบคะแนนเฉลี่ยโดยใช้      Paired – samples test วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต้นและตัวแปรตามโดยใช้การทดสอบสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงเหตุผลระหว่างตัวแปรต้นกับตัวแปรตาม   โดยใช้สมการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และนำเสนอรูปแบบการดำเนินงานตามมาตรการในยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 – 2564 โดยใช้แนวทางของ Steiner และ Keeves</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่รับรู้การดำเนินงานตามมาตรการรวมทุกด้านในระดับปานกลางร้อยละ 66.9 มีความต้องการพัฒนาในระดับมากร้อยละ 69.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความต้องการพัฒนาการดำเนินงานตามมาตรการในยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 – 2564 ประกอบด้วย 1) การได้รับแต่งตั้งเป็นคณะทำงานในระดับอำเภอ 2) การเข้าร่วมในกระบวนการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 3) การรับรู้การปฏิบัติตามค่านิยม MOPH 4) การรับรู้การบริหารเชิงกลยุทธ์ และ 5) การรับรู้การมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายความต้องการพัฒนาได้ร้อยละ 63.2  (R<sup>2</sup> = .632)</p> <p><strong>สรุป: </strong>ผู้วิจัยได้เสนอรูปแบบการดำเนินงานเพื่อบรรลุตามมาตรการในยุทธศาสตร์กระทรวงสาธารณสุข พ.ศ. 2560 – 2564 โดยการปรับเปลี่ยนกลวิธีการดำเนินงานที่สำคัญคือ 1) การดูแลสุขภาพประชาชนทุกกลุ่มวัย 2) การพัฒนาระบบบริการตามแผนพัฒนาบริการสุขภาพ (Service Plan) ที่ครอบคลุมทุกระบบในการให้บริการทุกพื้นที่ 3) การพัฒนาระบบบริหารจัดการกำลังคนควบคู่กับการส่งเสริม และสนับสนุนการผลิต การพัฒนา และธำรงรักษากำลังคนด้านสุขภาพ และ 4) การพัฒนาระบบธรรมาภิบาลและคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ และการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังสุขภาพ</p>}, number={1}, journal={วารสารแพทย์เขต 4-5}, author={เจริญผล สำราญ}, year={2021}, month={มี.ค.} }