@article{ปริยเอกสุต_2022, title={ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะความรุนแรงของภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนในโรงพยาบาลราชบุรี }, volume={41}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/258483}, abstractNote={<p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> การวิจัยนี้ทำขึ้นเพื่อศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะความรุนแรงของภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่มีอุ้งเชิงกรานหย่อนในโรงพยาบาลราชบุรี ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึง 30 กันยายน พ.ศ. 2563 จำนวน 139 คน จัดเก็บข้อมูล อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพ จำนวนบุตร จำนวนบุตรที่คลอดทางช่องคลอด โรคประจำตัว ภาวะหมดประจำเดือน ดัชนีมวลกาย อาการความรู้สึกก้อนยื่นทางช่องคลอด อาการระบบทางเดินปัสสาวะ อาการระบบขับถ่ายอุจจาระ อาการปัญหาต่อเพศสัมพันธ์ ระยะเวลาที่มีอาการ และระยะความรุนแรงของภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ทำการวิเคราะห์ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะความรุนแรงของภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนด้วย chi-square test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>พบว่าผู้ที่มีอุ้งเชิงกรานหย่อนส่วนใหญ่อายุ 60 ปี ขึ้นไปร้อยละ 73.4  จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 46.8  มีดัชนีมวลกาย 23 กิโลกรัม/เมตร<sup>2</sup> ขึ้นไปร้อยละ 60.4  จำนวนบุตรที่คลอดทางช่องคลอดตั้งแต่ 3 คนขึ้นไปร้อยละ 68.3  เป็นภาวะหมดประจำเดือนร้อยละ 92  โดยมีกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อนระยะความรุนแรงมาก (ระยะ 3–4) ร้อยละ 56.8 การวิเคราะห์พบปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะของภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนบุตรที่คลอดทางช่องคลอด อาการความรู้สึกก้อนยื่นทางช่องคลอด และอาการระบบขับถ่ายอุจจาระ ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05)</p> <p><strong>สรุป </strong><strong>:</strong> ปัจจัยที่สัมพันธ์กับระยะความรุนแรงของภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษา จำนวนบุตรที่คลอดทางช่องคลอด อาการความรู้สึกก้อนยื่นทางช่องคลอด และอาการระบบขับถ่ายอุจจาระ</p>}, number={2}, journal={วารสารแพทย์เขต 4-5}, author={ปริยเอกสุต พิมพ์ชนก}, year={2022}, month={มิ.ย.}, pages={145–155} }