TY - JOUR AU - ธีระธำรงชัยกุล พ.บ.,, ศิรินุช PY - 2020/12/29 Y2 - 2024/03/28 TI - การตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านมในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการวินิจฉัยก่อนอายุ 40 ปี JF - วารสารแพทย์เขต 4-5 JA - Reg 4-5 Med J VL - 39 IS - 4 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/248312 SP - AB - <p><strong>บทคัดย่อ </strong></p><p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> การศึกษานี้เป็นการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านมกับลักษณะทางคลินิกและพยาธิวิทยาในผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่ได้รับการวินิจฉัยก่อนอายุ 40 ปี ในโรงพยาบาลเจ้าพระยายมราช</p><p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>รวบรวมข้อมูลผู้ป่วยหญิงที่อายุน้อยกว่า 40 ปีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านมรายใหม่ทั้งหมด 51 ราย ตั้งแต่กันยายน พ.ศ. 2557 ถึงสิงหาคม พ.ศ. 2562 โดย 39 ราย ได้รับการตรวจทั้งแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านม, 12 ราย ได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมเพียงอย่างเดียว แล้วนำข้อมูลที่ได้มาศึกษาผลการตรวจแมมโมแกรมและอัลตร้าซาวด์เต้านมกับลักษณะทางคลินิกและพยาธิวิทยา</p><p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยคือ 35 ปี โดยมีเพียง 4 ราย (ร้อยละ 7.8) ที่มีประวัติเป็นมะเร็งเต้านมในญาติลำดับที่หนึ่ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมาด้วยอาการคลำได้ก้อนที่เต้านม (ร้อยละ 88.2) ผลพยาธิวิทยาที่พบมากที่สุด คือ invasive ductal carcinoma (ร้อยละ 82.3) และเป็นมะเร็งระดับสูงร้อยละ 51 พบว่าอัลตร้าซาวด์เต้านมมีอัตราการตรวจพบมะเร็งเต้านมในผู้ป่วยอายุน้อยได้ดีกว่าแมมโมแกรม (ร้อยละ 100 และ 92.3) ลักษณะสำคัญที่บ่งชี้ว่าเป็นก้อนมะเร็งเต้านมคือ irregular shape, microlobulated border, hyperdensity ของก้อนจากการตรวจแมมโมแกรม และ hypoechogenicity ของก้อนจากการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม ขนาดของก้อนที่วัดได้จากการตรวจแมมโมแกรมและการตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านม เมื่อเทียบกับขนาดก้อนที่วัดได้จากพยาธิวิทยา พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p><p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สรุป</strong><strong>:</strong> มะเร็งเต้านมในผู้ป่วยอายุน้อยกว่า 40 ปี มักจะมาด้วยการคลำพบก้อนที่เต้านม การตรวจอัลตร้าซาวด์เต้านมเป็นการตรวจหลักที่สำคัญ และพบว่ามีอัตราการตรวจพบเหนือกว่าการตรวจแมมโมแกรมในการวินิจฉัยมะเร็งเต้านมและพบว่าส่วนใหญ่ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี มักจะมีความรุนแรงของโรคมากกว่า ดังนั้นความตระหนักในผลการตรวจทางรังสีวิทยาและพยาธิวิทยาของมะเร็งเต้านม ในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 40 ปี มีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะช่วยป้องกันโรค และช่วยให้รังสีแพทย์วินิจฉัยโรคได้รวดเร็วและแม่นยำมากขึ้น</p> ER -