TY - JOUR AU - นาควรรณ พ.บ., , สิริวรรณ PY - 2020/12/29 Y2 - 2024/03/29 TI - อุบัติการณ์ ปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบของภาวะไตวายเฉียบพลัน ในคนไข้หอผู้ป่วยหนักโรงพยาบาลราชบุรี JF - วารสารแพทย์เขต 4-5 JA - Reg 4-5 Med J VL - 39 IS - 4 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/248380 SP - AB - <p><strong>บทคัดย่อ</strong></p><p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ ,ปัจจัยเสี่ยงและผลกระทบของภาวะไตวายเฉียบพลัน ของภาวะไตวายเฉียบพลันในคนไข้ในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลราชบุรี</p><p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การศึกษาวิเคราะห์แบบย้อนหลัง (retrospective study) รวบรวมข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยในที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลราชบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึง 30 มิถุนายน 2561 และข้อมูลคนไข้ที่เกิดภาวะไตวายฉับพลันตามหลักเกณฑ์ KDIGO criteria พ.ศ. 2555 โดยนำมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม SPSS statistics 17.0 และใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลแบบถดถอยโลจิสติกหลายตัวแปร (multivariate logistic regression) สำหรับแสดงถึงปัจจัยเสี่ยงของภาวะไตวายเฉียบพลัน</p><p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> คนไข้ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม โรงพยาบาลราชบุรี ทั้งหมด 115 คน อุบัติการณ์ของภาวะไตวายฉับพลันคิดเป็นร้อยละ 69.6 (80 ราย) ซึ่งพบว่า คนไข้ที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันมีการใช้เครื่องช่วยหายใจ, ภาวะ septic shock, APACHE II score, ค่าครีเอตินินที่หอผู้ป่วยหนักอายุรกรรมที่สูงกว่าคนไข้ที่ไม่มีภาวะไตวายเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.0001) และพบว่าปัจจัยเสี่ยงในการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันคือ ค่า APACHE II score ทีสูงขึ้น 1 หน่วย เพิ่มโอกาสการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน 1.62 เท่า (odds ratio 1.62 ,95%CI 1.286-2.041) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .0001) นอกจากนี้ระยะเวลานอนในหอผู้ป่วยหนักอายุรกรรม ในกลุ่มที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันนานมากกว่าคนไข้ที่ไม่มีภาวะไตวายเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (16.28 ±20.92 วัน&nbsp; VS 5.49±5.19 วัน ;p =.003) &nbsp;และ ระยะเวลานอนในโรงพยาบาลในกลุ่มที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันนานมากกว่าคนไข้ที่ไม่มีภาวะไตวายเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (24.29±23.16 วัน VS 12.77±14.38 วัน ; p = .008) &nbsp;และอัตราการตายของกลุ่มที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันคิดเป็นร้อยละ 66.2 (53 ราย) ซึ่งสูงกว่าคนไข้ที่ไม่มีภาวะไตวายเฉียบพลันซึ่งมีร้อยละ 8.57 (3 ราย) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt;.0001) ในกลุ่มคนไข้ที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันพบว่า เป็นคนไข้ไตวายเฉียบพลันที่วินิจฉัยตามหลักเกณฑ์ของ KDIGO 2012 ซึ่งพบเป็น KDIGO stage 1 ร้อยละ 10 (8 ราย), KDIGO stage 2 ร้อยละ 13.7 (11ราย) และ KDIGO stage 3 ร้อยละ 76.2 (61 ราย) โดยพบว่า คนไข้ไตวายเฉียบพลัน KDIGO stage 3 พบอัตราการตายมากที่สุดคือร้อยละ 79.2 ผู้ป่วยที่มีภาวะไตวายเฉียบพลันได้รับการทำบัดทดแทนทางไต ร้อยละ 36.2</p><p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> จากผลการศึกษานี้พบว่า อุบัติการณ์ของภาวะไตวายเฉียบพลันมีสูงมากในคนไข้ที่รักษาในหอผู้ปวยหนักอายุรกรรมโดยปัจจัยเสี่ยงของภาวะไตวายเฉียบพลันคือ ภาวะ septic shock, APACHE II ที่สูง, ค่าการทำงานของไตที่หอผู้ป่วยหนักที่สูง, และการใช้เครื่องช่วยหายใจ ซึ่งภาวะไตวายเฉียบพลันทำให้มีค่าใช้จ่ายในการรักษามากขึ้น โดยมีระยะเวลาในการนอนโรงพยาบาลมากขึ้น และเพิ่มอัตราการเสียชีวิต ทำให้แพทย์ต้องตระหนักในการดูแลคนไข้มากขึ้นและเหมาะสม</p> ER -