TY - JOUR AU - จันทร์ฉาย, เสาวณีย์ PY - 2021/03/24 Y2 - 2024/03/28 TI - การจัดระบบยาจิตเวชให้ครอบคลุมการบริการในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม JF - วารสารแพทย์เขต 4-5 JA - Reg 4-5 Med J VL - 40 IS - 1 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/250094 SP - AB - <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>พัฒนาและศึกษาผลลัพธ์การจัดระบบยาจิตเวชให้ครอบคลุมการบริการในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม</p><p><strong>วิธีการศึกษา</strong>: เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา (research and development) มีกระบวนการ ดังนี้&nbsp;</p><ol><li class="show">พัฒนาการจัดระบบยาจิตเวชให้ครอบคลุมการบริการในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม</li></ol><p>แบ่งเป็น ระยะที่หนึ่ง ศึกษาสถานการณ์การดูแลผู้ป่วยในโรงพยาบาลนครปฐม จากเวชระเบียนของผู้ป่วยจิตเวช จำนวน 300 ราย ที่มารับบริการในช่วง เมษายน - มิถุนายน 2557 &nbsp;ระยะที่สอง การพัฒนาการจัดระบบยาจิตเวชให้ครอบคลุมการบริการในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม ประกอบด้วยขั้นตอน ได้แก่ 1) การทบทวนนโยบายด้านสุขภาพจิต และระบบการให้บริการสุขภาพจิตในพื้นที่ โดยการศึกษายุทธศาสตร์ของการให้บริการสุขภาพจิตระดับประเทศและจังหวัด และใช้การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างต่อ ผู้บริหาร จิตแพทย์ พยาบาลจิตเวช เภสัชกรในจังหวัดนครปฐม รวม 16 คน&nbsp; 2) ออกแบบแนวทางและแนวปฏิบัติของโครงการการจัดระบบยาจิตเวชฯ โดยใช้การสัมมนากลุ่ม (focus group) ในกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ จิตแพทย์ นักวิชาการสาธารณสุข พยาบาลจิตเวช และเภสัชกร ในจังหวัด จำนวน 14 คน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการดูแลผู้ป่วยให้ได้มาตรฐานและปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง การประสานงาน, การสื่อสาร, และระบบข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพ &nbsp;3) แต่งตั้งคณะทำงาน เพื่อ กำกับการดำเนินงาน พัฒนา และประเมินผล</p><ol start="2"><li class="show">ผลลัพธ์ของจัดระบบยาจิตเวชให้ครอบคลุมการบริการ ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม โดยศึกษาข้อมูลผู้ป่วย ความต่อเนื่องของการรักษา อัตราการกำเริบ และอัตราการเกิดผลแทรกซ้อนจากยา</li></ol><p><strong>ผลการศึกษา</strong>: ผู้ป่วยเข้าโครงการตั้งแต่ กรกฎาคม&nbsp;2557- กันยายน 2563 ทั้งสิ้น 421 ราย คิดเป็น ร้อยละ 5.3 (3.0-8.8) ของผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลนครปฐม เป็นเพศชาย ร้อยละ 51.3 ส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 41-60 ปี ร้อยละ 42.3 &nbsp;โรคที่พบมากที่สุดเป็นโรคจิตเภท ร้อยละ 45.4 &nbsp;รองลงมาคือ โรคซึมเศร้าและโรควิตกกังวล พบเท่ากัน ร้อยละ 14.5 ยาที่ผู้ป่วยใช้มากที่สุด คือ ยารักษาอาการโรคจิต ร้อยละ 45 และรองลงมาคือ ยารักษาอาการวิตกกังวล (เบนโซไดอะเซปีน) คิดเป็นร้อยละ 22 ในด้านผลลัพธ์ของการดูแลผู้ป่วย พบว่ามีผู้ป่วยที่ต้องออกจากโครงการ 17 ราย (ร้อยละ 4) แบ่งเป็น อาการโรคจิตกำเริบ 4 ราย (ร้อยละ 1) และผลแทรกซ้อนจากยา 8 ราย (ร้อยละ 1.9) และผู้ป่วยที่ไม่สมัครใจรักษา 3 ราย (ร้อยละ 0.7) มีผู้ป่วยเสียชีวิตจากโรคทางกาย&nbsp; 2 ราย</p><p><strong>สรุป: </strong>การพัฒนาการจัดระบบยาจิตเวชให้ครอบคลุมการบริการในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครปฐม ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชได้รับยาใกล้บ้านที่โรงพยาบาลชุมชน ภายใต้การประสานของเครือข่ายสุขภาพ สามารถให้การดูแลต่อเนื่องที่โรงพยาบาลชุมชน โดยมีอาการกำเริบของโรคจิตและเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยาจิตเวชน้อยมาก</p> ER -