TY - JOUR AU - เหล่าตระกูล , อรอนงค์ PY - 2021/06/29 Y2 - 2024/03/28 TI - ความสำเร็จของโครงการรับยาใกล้บ้านตามมาตรการบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ ในจังหวัดนครปฐม JF - วารสารแพทย์เขต 4-5 JA - Reg 4-5 Med J VL - 40 IS - 2 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/251837 SP - AB - <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong><span style="font-weight: 400;"> เพื่อศึกษาผลสำเร็จของโครงการรับยาใกล้บ้าน ตามมาตรการบริการทางการแพทย์</span><span style="font-weight: 400;">วิถี</span><span style="font-weight: 400;">ใหม่ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการรับยาใกล้บ้านโดยร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 และโครงการรับยาต่อเนื่องสุขใจปลอดภัยจากโควิด-19&nbsp;</span></p><p><strong>วิธีการศึกษา:</strong><span style="font-weight: 400;"> การศึกษานี้เป็นงานวิจัยเพื่อประเมินผลสำเร็จของการดำเนินงานลดความแออัด ของหน่วยบริการในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมาตรการบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ของโครงการรับยาใกล้บ้านจำนวน 2 โครงการ </span><span style="font-weight: 400;">คือ</span><span style="font-weight: 400;"> โครงการรับยาใกล้บ้านโดยร้านยาแผนปัจจุบันประเภท 1 คัดเลือกผู้ป่วยสิทธิการรักษาของ สปสช. ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ได้แก่ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หอบหืด และจิตเวช ที่ควบคุมอาการได้ดี ไปรับยายังร้านยาเครือข่ายจำนวน 8 แห่ง โดยมีโรงพยาบาลจัดสำรองยาไว้ที่ร้านยาที่เข้าร่วมโครงการ และโครงการรับยาต่อเนื่องสุขใจปลอดภัยจากโควิด-19 คัดเลือกผู้ป่วยนัดทุกโรค ทุกคลินิกที่มีภาวะคงที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน แพทย์พิจารณาสั่งยาต่อเนื่องให้กับผู้ป่วยหรือญาติให้ไปรับยาที่คลินิกหมอครอบครัววัดไผ่ล้อมหรือร้านยาในโครงการได้ทุกสิทธิการรักษา โดยไม่ต้องเข้ามาโรงพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่าง เดือนมีนาคม ถึง เดือนสิงหาคม 2563 วัดผลสำเร็จของโครงการด้านปริมาณจากจำนวนผู้ป่วยนอกที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลนครปฐมลดลง และอัตราการเพิ่มขึ้นของผู้รับการบริการโครงการรับยาใกล้บ้าน วัดผลสำเร็จเชิงคุณภาพจากระยะเวลาในการรอรับยาของผู้ป่วยในโรงพยาบาลนครปฐมลดลง และร้อยละความพึงพอใจของผู้รับบริการเพิ่มขึ้น การประเมินโครงการนี้เป็นการประเมินตามวัตถุประสงค์โดยใช้แนวคิดของไทเลอร์ (Tyler) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลการรับบริการของผู้ป่วย แบบบันทึกเวลาในการรอรับยา แบบประเมินความพึงพอใจในการรับบริการ และแบบประเมินโครงการของไทเลอร์ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่&nbsp; ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เพื่อแสดงลักษณะของประชากรตัวอย่าง, chi-square test และ t test เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของข้อมูลก่อนและหลังเริ่มโครงการ</span></p><p><strong>ผลการศึกษา: </strong><span style="font-weight: 400;">โครงการรับยาใกล้บ้านมีร้านยาที่เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น 8 แห่ง และคลินิกหมอครอบครัว 1 แห่ง พบว่า หลังเริ่มโครงการมีจำนวนผู้ป่วยนอกที่เข้ารับบริการในโรงพยาบาลในอัตราที่ลดลงกว่าในปีที่ผ่านมา มีผู้ป่วยรับยาในโครงการทั้งหมด 2,037 ใบสั่งยา คิดเป็นร้อยละ 0.4 ของใบสั่งยาผู้ป่วยนอกทั้งหมด ระยะเวลารอรับยาเฉลี่ยของผู้ป่วยนอกระหว่างดำเนินโครงการรับยาใกล้บ้านต่อเนื่อง 6 เดือน ลดลงจากก่อนเริ่มโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% ความพึงพอใจของผู้รับบริการเฉลี่ยทั้ง 3 หัวข้อการประเมิน ได้แก่ การประเมินลักษณะภายนอกของห้องยา ความถูกต้อง ความรวดเร็ว ความน่าเชื่อถือ และการตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยโดยรวมระหว่างดำเนินโครงการต่อเนื่อง 6 เดือน มีค่าสูงกว่าก่อนเริ่มโครงการอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95%</span></p><p><strong>สรุป:</strong><span style="font-weight: 400;"> ผลสำเร็จจากโครงการทั้งสองสามารถบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการได้เป็นอย่างดี แม้ว่าจะมีผลกระทบเชิงลบบางอย่างที่ส่งผลต่อผู้รับบริการบ้าง แต่ผู้ดำเนินโครงการได้มีการติดตามประเมินและหาแนวทางในการแก้ไขและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง&nbsp;</span></p> ER -