TY - JOUR AU - คุ้มศิริ , ณตพล AU - ตันติวิชิตเวช, รสสุคนธ์ PY - 2021/12/27 Y2 - 2024/03/29 TI - ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสั่งยา angiotensin- converting enzyme inhibitors หรือ angiotensin receptor blockers และผลการชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ในโรงพยาบาลโพธาราม JF - วารสารแพทย์เขต 4-5 JA - Reg 4-5 Med J VL - 40 IS - 4 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/255538 SP - 473-486 AB - <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการสั่งยา angiotensin–converting enzyme inhibitors (ACEI) หรือ angiotensin receptor blockers (ARB) และผลการชะลอไตเสื่อมของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ในโรงพยาบาลโพธาราม</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>วิธีการศึกษา: </strong>การศึกษาแบบย้อนหลัง โดยรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจากโปรแกรม HOSxP ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2561 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 จำแนกกลุ่มผู้ป่วยออกตามระยะโรคไตเรื้อรัง อายุ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ปริมาณโปรตีนในปัสสาวะ คลินิกที่เข้ารับบริการ จากนั้นวิเคราะห์อัตราส่วนและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสั่งยา ACEI หรือ ARB โดยวิธีวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบลอจิสติค และเปรียบเทียบอัตราการกรองของไตระหว่างกลุ่มที่ได้ยาและไม่ได้ยา เมื่อสิ้นสุดการศึกษาเพื่อแสดงผลการชะลอไตเสื่อม</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>ผลการศึกษา: </strong>ผู้ป่วยทั้งหมด 3,994 ราย จำนวนที่ได้รับยา ACEI หรือ ARB 1,560 ราย (ร้อยละ 39) เมื่อแบ่งตามโรคไตเรื้อรังระยะ 1, 2, 3a, 3b, และ 4 อัตราส่วนที่ได้รับยาร้อยละ 48.5, 58.9, 40.5, 32.4 และ 15.9 ตามลำดับ ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการสั่งยา ACEI หรือ ARB คือ โรคไตเรื้อรังระยะ 2 มีค่า odds ratio 1.39 (95% confidence interval (CI) 1.02 - 1.91, p = .04) โรคไตเรื้อรังระยะ 4 0.43 (95% CI 0.23 - 0.80, p = .01) โรคเบาหวาน 2.92 (95% CI 1.72 - 4.94, p &lt; .001) โรคความดันโลหิตสูง 5.66 (95% CI 3.23 - 9.92, p &lt; .001) โรคเบาหวานร่วมกับความดันโลหิตสูง 6.12 (95% CI 3.54 - 10.60, p &lt; .001) และการเข้ารับบริการที่คลินิกเบาหวานหรือความดันโลหิตสูง 3.39 (95% CI 2.58 - 4.47, p &lt; .001) ผลการชะลอไตเสื่อมในกลุ่มที่รับยา ACEI หรือ ARB มีอัตราการกรองของไตลดลงเฉลี่ย -5.58±9.06 มล./นาที/1.73ม.<sup>2</sup>/ปี กลุ่มไม่ได้ยามีอัตราการกรองของไตลดลงเฉลี่ย -6.64 ± 10.67 มล./นาที/1.73ม.<sup>2</sup>/ปี</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>สรุป: </strong>จากการศึกษาพบว่า กลุ่มผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ได้รับยา ACEI หรือ ARB สามารถชะลอไตเสื่อมได้ดีกว่า แต่อย่างไรก็ตามอัตราการใช้ยาของโรงพยาบาลโพธารามค่อนข้างต่ำ การใช้ยามีแนวโน้มลดลงในโรคไตเรื้อรังระยะท้าย โดยมีปัจจัยที่ส่งผลต่อการได้รับยา คือ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และการเข้ารับบริการที่คลินิกเฉพาะโรค ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาเพื่อส่งเสริมการใช้ยาให้มากขึ้นในผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าว</p> ER -