TY - JOUR AU - แก้วเมืองฝาง , รุจา PY - 2022/06/30 Y2 - 2024/03/30 TI - ผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายต่อพฤติกรรมสุขภาพ ด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์ JF - วารสารแพทย์เขต 4-5 JA - Reg 4-5 Med J VL - 41 IS - 2 SE - นิพนธ์ต้นฉบับ DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/258499 SP - 209-219 AB - <p>ภาวะโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์มีความสำคัญต่อภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ ภาวะโภชนาการที่ไม่เพียงพออาจส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ พฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพมีผลต่อภาวะโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์ งานวิจัยนี้ประยุกต์ใช้แบบแผนการสร้างเสริมสุขภาพของ Pender ในการสร้างโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายในหญิงตั้งครรภ์ โดยให้หญิงตั้งครรภ์ได้รับรู้ประโยชน์ และรับรู้ความสามารถของตนเองในการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มีความเชื่อมั่นและมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการ เกิดพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการที่ดี</p><p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายต่อพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการของหญิงตั้งครรภ์<strong>&nbsp; </strong></p><p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วิธีการศึกษา:</strong> เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง ชนิดสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการที่คลินิกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 จังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 60 ราย เครื่องมือในการวิจัยคือ แบบสอบถามสุขภาพด้านโภชนาการและโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการ และการออกกำลังกาย แบบสอบถามสุขภาพด้านโภชนาการมีตรวจสอบความตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.82 และตรวจสอบความเชื่อมั่นเท่ากับ .90 และโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายได้นำมาปรับปรุงตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิก่อนนำไปใช้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การทดสอบค่าที</p><p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา: </strong>ค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการในกลุ่มทดลองภายหลังการทดลอง สูงกว่าก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p><p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สรุป:</strong> พยาบาลประจำคลินิกฝากครรภ์ สามารถนำโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการและการออกกำลังกายไปประยุกต์ใช้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์เพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพด้านโภชนาการที่เหมาะสม</p> ER -