วารสารแพทย์เขต 4-5 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45 <p>The Medical Journal of Regions 4-5 is a journal of the Medical Association of Regions 4-5. It aims to be a medium for exchanging knowledge, opinions, academic experiences in medicine and public health. and disseminating academic work to doctors, dentists, pharmacists and nurses of hospitals in the 5th health service network, namely hospitals in Nakhon Pathom, Ratchaburi, Suphan Buri, Kanchanaburi, Phetchaburi, Samut Songkhram, Samut Sakhon, Prachuap Khiri Khan. and other health fields</p> ชมรมแพทย์ เขต 4-5 th-TH วารสารแพทย์เขต 4-5 0125-7323 <p>ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียนบทความ แต่หากผลงานของท่านได้รับการพิจารณาตีพิมพ์ลงวารสารแพทย์เขต 4-5 จะคงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรกด้วยเหตุที่บทความจะปรากฎในวารสารที่เข้าถึงได้ จึงอนุญาตให้นำบทความในวารสารไปใช้ประโยชน์ได้ในเชิงวิชาการโดยจำเป็นต้องมีการอ้างอิงถึงชื่อวารสารอย่างถูกต้อง แต่ไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์</p> สารบัญ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/268482 <p>.</p> วารสารแพทย์ เขต 4-5 Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 43 1 ความสำเร็จการหยุดยาสเตียรอยด์และปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จการหยุดยาของผู้ป่วยลูปัสในโรงพยาบาลราชบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/268483 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วัตถุประสงค์: </strong>ศึกษาความสำเร็จและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความสำเร็จการหยุดยาสเตียรอยด์ของผู้ป่วยลูปัสในโรงพยาบาลราชบุรี</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วิธีการศึกษา: </strong>การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาย้อนหลังโดยใช้ข้อมูลจากการทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยโรคลูปัสที่เข้ารับการรักษาที่แผนกโรงพยาบาลราชบุรี โดยศึกษาอัตราความสำเร็จของการหยุดสเตียรอยด์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จการหยุดยา ใช้วิธีวิเคราะห์ข้อมูลใช้การถดถอยโลจิสติก</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา: </strong>ระหว่างเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2563 พบผู้ป่วยลูปัสได้รับการรักษาด้วยสเตียรอยด์และการรักษามากกว่า 1 ปี 569 คน โดยนำ 200 คน หรือคิดเป็น ร้อยละ 35.1 ที่หยุดสเตียรอยด์เข้าในการศึกษานี้ เป็นผู้ป่วยเพศหญิงร้อยละ 87.5 อายุเฉลี่ย 42.1 ปี เป็นโรคลูปัสนาน (ค่ามัธยฐาน) 28.5 เดือน สามารถหยุดยาสเตียรอย์ได้ร้อยละ 89.5 โดยเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้การถดถอยโลจิสติกแบบปัจจัยเดียวพบว่า ปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การใช้ยาต้านมาลาเรียร่วมด้วย ดัชนีมวลกายสูง และการลดสเตียรอยด์อย่างช้าๆ โดยลดยาเพรดนิโซโลนต่ำกว่า 5 มิลลิกรัมต่อวัน มากกว่า 12 สัปดาห์ก่อนหยุดยา โดยมี OR 29.67 (95% CI 2.93–300.23), 1.13 (95% CI 1.01–1.23), และ 25.44 (95% CI 8.41–76.93) ตามลำดับ</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สรุป: </strong>การศึกษานี้รายงานอัตราความสำเร็จของการหยุดยาสเตียรอยด์ได้สูงในผู้ป่วยลูปัส และพบปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จการหยุดยา กล่าวคือ การใช้ยาต้านมาลาเรีย ดัชนีมวลกายที่มากขึ้นและการลดการใช้ยาสเตียรอยด์ต่ำกว่า 5 มิลลิกรัมต่อวัน มากกว่า 12 สัปดาห์ การศึกษานี้แสดงถึงความเป็นไปได้ของการหยุดสเตียรอยด์ และอาจนำไปใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการรักษาผู้ป่วยโรคลูปัสได้</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> ชนจันทร์ เพชรรัตน์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 43 1 1 11 การเปรียบเทียบระดับบิลิรูบินทางผิวหนังและความถี่ของการถ่ายอุจจาระระหว่างทารกที่ได้รับการนวดสัมผัสโดยมารดาและทารกที่ได้รับการดูแลตามปกติ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/268484 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อเปรียบเทียบระดับบิลิรูบินทางผิวหนังและความถี่ของการถ่ายอุจจาระระหว่างทารกที่ได้รับการนวดสัมผัสโดยมารดาและทารกที่ได้รับการดูแลตามปกติ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาวิจัยนี้เป็นแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบสองกลุ่ม ในทารกแรกเกิดครบกำหนดที่คลอดและเข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชจอมบึง จังหวัดราชบุรี ตั้งแต่เดือนมกราคม 2566–ธันวาคม 2566 จำนวน 112 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 56 ราย กลุ่มควบคุม 56 ราย กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการนวดสัมผัสโดยมารดา ส่วนกลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มทารกแรกเกิดที่ได้รับการดูแลตามปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย สถิติพรรณนา การแจงแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอ้างอิง chi-square test และ independent t test</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ลักษณะทั่วไปของกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมไม่แตกต่างกัน ระดับบิลิรูบินทางผิวหนัง 1 ชั่วโมงหลังให้นมครั้งแรก, 12, 24, 36, และ 48 ชั่วโมงหลังคลอดของกลุ่มทดลองต่ำกว่ากลุ่มควบคุม แต่มีความชัดเจนที่ 36 ชั่วโมงหลังคลอด (p = .05) ความถี่ของการขับถ่ายอุจจาระของทารก 24 และ 48 ชั่วโมงหลังคลอดของกลุ่มทดลองมากกว่ากลุ่มควบคุม แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>การนวดสัมผัสโดยมารดาช่วยลดระดับบิลิรูบินทางผิวหนัง และไม่เพิ่มความถี่ของการขับถ่ายอุจจาระของทารกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> ผกาพันธุ์ เปี่ยมคล้า Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 43 1 13 28 การประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชน จังหวัดอำนาจเจริญ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/268489 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> 1) เพื่อประเมินผลการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงในชุมชน จังหวัดอำนาจเจริญ ในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายทอดส่งต่อ 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค และเพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการจัดระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงที่เหมาะสม จังหวัดอำนาจเจริญ</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การวิจัยครั้งนี้ใช้รูปแบบการวิจัยประเมินผลโดยการประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมิน CIPPIEST ของ Stufflebeam and Shinkfield (2007) เครื่องมือที่ใช้ในการทำวิจัย มีทั้งเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้ป่วยจิตเวชกลุ่มเสี่ยง จำนวน 91 คน ญาติผู้ป่วย จำนวน 91 คน และภาคีเครือข่าย จำนวน 130 คน พื้นที่ 7 อำเภอในจังหวัดอำนาจเจริญ ดำเนินการศึกษา ระหว่างเดือนมกราคม 2566 ถึงเดือนมิถุนายน 2566</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา</strong>: พบว่า 1) ด้านบริบท ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 3) ด้านกระบวนการ ประเมินการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย พบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก 4) ด้านผลผลิต ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 5) ด้านผลกระทบ พบว่า ทักษะการดำรงชีวิตเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางจิตเวชภาพรวมทุกด้านอยู่ในระดับ 4 (สามารถทำได้เมื่อช่วยเหลือบางครั้ง) ดัชนีความสุขของ ญาติผู้ป่วย ภาพรวมอยู่ในระดับปกติ 6) ด้านประสิทธิผลพบว่า ความพึงพอใจที่มีต่อระบบการเยี่ยมบ้าน ค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด และจำนวนผู้ป่วยระดับฉุกเฉินวิกฤตภาพรวมคงที่ 7) ด้านความยั่งยืนของระบบและ 8) ด้านการถ่ายทอดส่งต่อของระบบ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>สรุป</strong><strong>: </strong>การพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ก่อเกิดผลลัพธ์การพัฒนาเชิงบวกส่งผลให้ผู้ป่วย ครอบครัว และผู้เกี่ยวข้องอยู่ร่วมกันอย่างมีคุณภาพชีวิตที่ดี</p> อุไรวรรณ จำนรรจ์สิริ นิตยา บัวสาย Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 43 1 29 48 ผลการระงับปวดก่อนผ่าตัดด้วย Fascia Iliaca Block ในผู้ป่วยสูงอายุที่กระดูกสะโพกหัก การศึกษาแบบสุ่มที่มีการควบคุม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/268491 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาผลการระงับปวดก่อนผ่าตัดด้วย fascia iliaca block ในผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหัก</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>การศึกษาแบบไปข้างหน้าด้วยวิธีการสุ่มแบบมีกลุ่มควบคุม ดำเนินการตั้งแต่เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 จนถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 อาสาสมัครได้แก่ ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่อายุตั้งแต่ 60 ถึง 90 ปี อาสาสมัครได้รับการสุ่มออกเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มควบคุมจะได้รับการรักษาด้วยยาแก้ปวดตามมาตรฐาน และกลุ่ม FICB จะได้รับการทำ fascia iliaca block ด้วยยาชาความเข้มข้น 0.33% bupivacaine ปริมาตร 30 มิลลิลิตร หลังจากเข้าโครงการมีการติดตามคะแนนความปวดและปริมาณการใช้ยากลุ่ม opioids</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> อาสาสมัคร 47 ราย ได้รับการวิเคราะห์ที่ 24 ชั่วโมงหลังเข้าร่วมโครงการ อาสาสมัครในกลุ่ม FICB มีคะแนนเฉลี่ยความปวดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ p &lt; .001 ทั้งคะแนนความปวดขณะพัก (0.5 ± 0.8 กับ 2.4 ± 1.3) และคะแนนความปวดขณะเคลื่อนไหว (2.9 ± 1.1 กับ 5.6 ± 1.5) รวมทั้งมีปริมาณการใช้ opioids น้อยกว่ากลุ่มควบคุม (0.1 ± 0.3 กับ 1.5 ± 1.3 มิลลิกรัม)</p> <p>ที่ 48 ชั่วโมงคะแนนความปวดของกลุ่ม FICB ยังคงลดลง ทั้งนี้ร้อยละการเคลื่อนไหวบนเตียงของผู้ป่วยในกลุ่ม FICB มีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุม (82.6% vs 20.8%) นอกจากนี้ภาวะเพ้อสับสนและปอดอักเสบมีค่าน้อยกว่าในกลุ่ม FICB แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>สรุป</strong><strong>: </strong>การระงับปวดด้วย fascia iliaca block ช่วยลดอาการปวดก่อนผ่าตัดให้กับผู้สูงอายุที่มีกระดูกสะโพกหักได้ นอกจากนี้ยังมีส่วนช่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้น และมีแนวโน้มที่จะลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากอาการปวดรุนแรงได้</p> อธิป ยังอยู่ดี Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 43 1 49 59 ผลการใช้แนวทางการส่งต่อทารกแรกเกิดในโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/268492 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อเปรียบเทียบภาวะแทรกซ้อนก่อนและหลังใช้แนวทางส่งต่อทารกแรกเกิดใน โรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ และประเมินความพึงพอใจของบุคลากรในการใช้แนวทางส่งต่อ</p> <p><strong>วิธีการศึกษา: </strong>เป็นการวิจัยเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง เก็บข้อมูลจากเวชระเบียน ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2555 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2560 ทั้งหมด 33 ราย ข้อมูลอายุมารดา อายุครรภ์ เพศ น้ำหนักทารก การวินิจฉัย ภาวะแทรกซ้อนการส่งต่อ ได้แก่ ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจท่อช่วยหายใจเลื่อนหลุด น้ำตาลในเลือดต่ำ อุณหภูมิกายต่ำ ภาวะช็อค หรือเสียชีวิต</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> ทารกกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 33 ราย แบ่งเป็นทารกที่รับส่งต่อ พ.ศ. 2555–2557 ก่อนใช้แนวทาง 17 ราย และ พ.ศ. 2558–2560 หลังใช้แนวทาง 16 ราย ทารกคลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 63.6 น้ำหนักต่ำกว่า 2,500 กรัม ร้อยละ 69.7 ภาวะแทรกซ้อนการส่งต่อที่พบมากที่สุด คือ ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ ร้อยละ 30.3 ท่อช่วยหายใจเลื่อนหรือหลุด ร้อยละ 15.2 ภาวะน้ำตาลต่ำ ร้อยละ 12.1 เมื่อเปรียบเทียบก่อนใช้แนวทางส่งต่อ ใน พ.ศ. 2555–2557 กับ พ.ศ. 2558–2560 หลังใช้แนวทางส่งต่อพบภาวะแทรกซ้อนลดลง โดยอุณหภูมิกายต่ำลดลงจากร้อยละ 35.3 เป็นร้อยละ 25 (p = .397) ภาวะแทรกซ้อนทางเดินหายใจ ร้อยละ 23.5 เป็น ร้อยละ 6.3 (p = .335) ไม่พบภาวะช็อค (p = .258) และไม่พบทารกเสียชีวิต (p = .125) ความพึงพอใจของบุคลากรอยู่ในระดับพึงพอใจมาก</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สรุป:</strong> จากการศึกษาบุคลากรมีความพึงพอใจมากในการใช้แนวทางการส่งต่อ แต่ยังไม่สามารถสรุปได้แน่ชัดว่าการใช้แนวทางสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนการส่งต่อทารกแรกเกิด ภาวะอุณหภูมิกายต่ำ ภาวะช็อคและเสียชีวิตลดลง เนื่องจากไม่พบนัยสำคัญทางสถิติ จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติม</p> <p><strong>&nbsp;</strong></p> พัชรินทร์ ว่องวุฒิกำจร Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 43 1 61 70 การศึกษาผลการจัดการความปวดจากโรคมะเร็งในคลินิกระงับปวดและการดูแลแบบประคับประคอง โรงพยาบาลหัวหิน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/268495 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ปัจจุบันคลินิกระงับปวดและการดูแลแบบประคับประคองโรงพยาบาลหัวหิน ได้มีการพัฒนาประสิทธิภาพการดูแลผู้ป่วยโรคมะเร็งโดยเริ่มใช้แบบประเมินอาการ Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) ร่วมกับการดูแลผู้ป่วยแบบสหสาขา และการติดตามอาการอย่างเป็นระบบ</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาผลการดูแลความปวดจากโรคมะเร็งและอาการรบกวนต่าง ๆ ที่ 1 เดือนหลังจากเริ่มรักษา แสดงโดยจำนวนร้อยละของผู้ป่วยในกลุ่มที่ตอบสนองต่อการรักษา ซึ่งผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อการรักษาจะมีการลดลงของระดับความรุนแรงของอาการไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 จากค่าระดับความรุนแรงที่ประเมินในครั้งแรก</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>: </strong>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาไปข้างหน้าเชิงสังเกต กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคมะเร็งและมีความปวดที่มารับการรักษาที่คลินิกรายใหม่ 100 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบประเมินอาการต่างๆที่รบกวนผู้ป่วยโรคมะเร็ง Edmonton Symptom Assessment System (ESAS) ในครั้งแรกที่ผู้ป่วยมารักษาและที่ 2 และ 4 สัปดาห์หลังจากเริ่มรักษา สถิติที่ใช้ในการวิจัยสำหรับการวิเคราะห์ผลลัพธ์คือ ระดับความปวดและระดับความรุนแรงของอาการต่างๆที่รบกวนผู้ป่วยวิเคราะห์ด้วย dependent t test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ผู้ป่วยร้อยละ 22 ตอบสนองต่อการรักษาความปวดที่ 1 เดือนหลังเริ่มรักษาและค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของอาการปวดลดลง (5.83 ± 2.06 กับ 6.18 ± 2.58, p = .085) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าเฉลี่ยระดับความรุนแรงของอาการรบกวนต่าง ๆ แย่ลงที่ระยะเวลาติดตามอาการ 1 เดือน (อาการเหนื่อย/อ่อนเพลีย 5.39 ± 1.89 กับ 3.92 ± 1.75, p = .045; อาการคลื่นไส้ 1.63 ± 2.23 กับ 0.68 ± 2.11, p = .049; อาการซึมเศร้า 4.85 ± 2.63 กับ 3.60 ± 2.38, p = .014; อาการวิตกกังวล 4.92 ± 2.27 กับ 3.85 ± 2.35, p = .001; อาการง่วงซึม 2.46 ± 1.88 กับ 0.44 ± 1.14, p &lt; .001; อาการเบื่ออาหาร 5.57 ± 2.30 กับ 4.22 ± 2.29, p = .002; ความสบายดีทั้งกายและใจ 5.77 ± 1.92 กับ 4.86 ± 2.18, p = .019; และอาการเหนื่อยหอบ 3.34 ± 2.03 กับ 1.13 ± 1.59, p = .002) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>ในอนาคตควรมีการปรับปรุงการรักษาอาการรบกวนต่างๆแก่ผู้ป่วยให้ดียิ่งขึ้น โดยจัดอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรทางการแพทย์รวมถึงพัฒนาระบบการใช้การแพทย์ทางไกลในการติดตามอาการ &nbsp;</p> เชิญพร พยอมแย้ม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 43 1 71 81 ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บทางศีรษะ ชนิดไม่รุนแรง ที่เข้ารับบริการที่แผนกฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชบุรี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/268497 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บทางศีรษะชนิดไม่รุนแรงที่เข้ารับการรักษาที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลราชบุรี</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>วิธีการศึกษา: </strong>การศึกษาแบบพรรณนาย้อนหลัง เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บทางศีรษะชนิดไม่รุนแรง ที่เข้ารับบริการที่แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลราชบุรี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565 โดยใช้แบบบันทึกข้อมูล นำเสนอข้อมูลเป็นจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะด้วยวิธีวิเคราะห์ t test independent, chi-square test และ Fisher’s exact test</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>ผลการศึกษา: </strong>ผู้ป่วยทั้งหมด 340 ราย มีผู้ป่วยที่มีเลือดออกในกะโหลกศีรษะ 64 ราย (ร้อยละ 18.8)โดยพบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะ ได้แก่ กลไกการบาดเจ็บที่รุนแรง (p = .031) คะแนนความรู้สึกตัว (GCS) (p &lt; .001) และอายุ <u>&gt;</u>65 ปี ร่วมกับมีประวัติสลบ ไม่รู้สึกตัวหลังเกิดเหตุและหรือจำเหตุการณ์ไม่ได้ (p &lt; .001) ปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ เพศ อายุ โรคความดันโลหิตสูง การได้รับยาต้านเกล็ดเลือด การได้รับยาละลายลิ่มเลือด การดื่มสุราก่อนเกิดเหตุ ประเภทอุบัติเหตุ และอาการและอาการแสดงหลังเกิดอุบัติเหตุอื่นๆ ไม่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บทางศีรษะชนิดไม่รุนแรง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>สรุป</strong><strong>: </strong>ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะเลือดออกในกะโหลกศีรษะในผู้ป่วยสูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บทางศีรษะชนิดไม่รุนแรง ได้แก่ กลไกการบาดเจ็บที่รุนแรง คะแนนความรู้สึกตัว (GCS) และอายุ <u>&gt;</u>65 ปี ร่วมกับมีประวัติสลบ ไม่รู้สึกตัวหลังเกิดเหตุและหรือจำเหตุการณ์ไม่ได้</p> เพชรสินีย์ บุญมี Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 43 1 83 93 ปัจจัยที่มีผลต่อการตาบอดในผู้ป่วยต้อหินมุมปิดเฉียบพลันในโรงพยาบาลบ้านโป่ง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/268498 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาอุบัติการณ์ของการตาบอดในผู้ป่วยต้อหินมุมปิดเฉียบพลันในโรงพยาบาลบ้านโป่ง และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการตาบอดในผู้ป่วยต้อหินมุมปิดเฉียบพลันหลังการรักษา</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> เป็นการศึกษาย้อนหลัง (retrospective study) ในผู้ป่วยทั้งหมดที่ได้รับการวินิจฉัยต้อหินมุมปิดเฉียบพลันในโรงพยาบาลบ้านโป่ง ในช่วงเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2565 เป็นระยะเวลา 6 ปี 3 เดือน วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ นำเสนอข้อมูลด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อการตาบอดโดยใช้ chi-squared test และ binary logistic regression</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> อุบัติการณ์ของการตาบอดในผู้ป่วยต้อหินมุมปิดเฉียบพลันในโรงพยาบาลบ้านโป่งพบได้ ร้อยละ 17.2 (29 คน ตาบอด 5 คน) โดยปัจจัยที่มีผลต่อการตาบอดในผู้ป่วยต้อหินมุมปิดเฉียบพลัน ได้แก่ ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการจนมาโรงพยาบาล โดยพบว่าช่วงระยะเวลาที่เริ่มมีอาการจนมาโรงพยาบาล มากกว่า 72 ชั่วโมง จะมีโอกาสตาบอดสูงถึง 28 เท่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = .009) แต่ระดับการศึกษา ระดับการมองเห็นแรกรับ ความดันตาแรกรับ ขนาดขั้วประสาทตาแรกรับ วิธีการรักษา รวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการควบคุมความดันตา ไม่มีผลต่อการตาบอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการจนมารักษาที่โรงพยาบาลเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการตาบอดในผู้ป่วยต้อหินมุมปิดเฉียบพลันในโรงพยาบาลบ้านโป่ง</p> <p>&nbsp;</p> เชาวพร อุบลวิโรจน์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 43 1 95 105 การประเมินผู้ป่วยอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนเฉียบพลัน ที่ทำการเจาะคอฉุกเฉินในโรงพยาบาลปทุมธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/268544 <p>วัตถุประสงค์: ภาวะอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบนที่ต้องได้รับการผ่าตัดเจาะคอฉุกเฉินเป็นภาวะวิกฤติ</p> <p>ที่พบได้บ่อยในโรงพยาบาลปทุมธานี การเจาะคอฉุกเฉินเป็นวิธีที่สำคัญในการดูแลทางเดินหายใจ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ การศึกษาประเมินผู้ป่วยถึงเพศ อายุ ปัจจัยเสี่ยง สาเหตุที่นำมา สามารถลดผลแทรกซ้อนและการเสียชีวิตได้</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วิธีการศึกษา: การศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนารวมข้อมูลจากแฟ้มเวชระเบียน ระยะเวลาตั้งแต่ ตุลาคม</p> <p>2562 ถึง กันยายน 2565</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา: จากกลุ่มประชากรในการศึกษาจำนวน 105 ราย พบเป็นประชากรชายมากกว่าหญิง มีช่วงอายุ 41–60 ปี มากที่สุด สาเหตุหลักที่นำผู้ป่วยมาโรงพยาบาลเพื่อเจาะคอ คือโรคมะเร็งศีรษะและลำคอ โดยพบเป็น oropharyngeal cancer มากที่สุด ร้อยละ 29.5 พบค่าเฉลี่ยของระยะเวลาในการผ่าตัดเท่ากับ 43 นาที ซึ่งนับรวมหัตถการผ่าตัดเจาะคอ และหัตถการร่วมทั้งหมดที่ทำในครั้งเดียวกัน เช่น การส่องกล้องตรวจกล่องเสียงและหลอดอาหาร และการตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งตรวจทางพยาธิวิทยา ระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 7 วัน เนื่องจากหลังทำหัตถการเจาะคอ ต้องมีการพักฟื้นปรับสภาพร่างกายผู้ป่วยและมีการสอนการดูแลตนเองให้กับผู้ป่วยและคนรอบข้าง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สรุป: ผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะคอฉุกเฉินพบมีจำนวนใกล้เคียงกันทุกปี โดยสาเหตุหลักพบเป็นมะเร็งศีรษะและลำคอมากที่สุด หากเราให้ความรู้ในการดูแลตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคแก่ประชาชน จะสามารถลดจำนวนผู้ป่วยที่มาโรงพยาบาลและลดการผ่าตัดฉุกเฉินได้</p> ญาณิตา รัชนิวัต Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 43 1 107 118 ภาวะโภชนาการและปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นในตำบลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/268546 <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อประเมินภาวะโภชนาการ สถานการณ์สภาวะสุขภาพช่องปาก และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อสภาวะสุขภาพช่องปากของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1–3 โรงเรียนในเครือข่ายบริการสุขภาพโรงพยาบาลประชาธิปัตย์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี</p> <p><strong>วิธีการศึกษา:</strong> การศึกษาแบบภาคตัดขวาง ดำเนินการเก็บข้อมูลระหว่างเดือนกรกฎาคม–พฤศจิกายน 2566 เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการประเมินภาวะโภชนาการ สภาวะสุขภาพช่องปาก สอบถามนักเรียนจำนวน 2,389 ราย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสองตัวแปร และวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสภาวะสุขภาพช่องปาก โดยทำการควบคุมตัวแปรรบกวนด้วยสมการถดถอยพหุคูณโลจิสติกส์</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> นักเรียนร้อยละ 67.6 มีภาวะโภชนาการที่ดี มีภาวะโภชนาการเกิน (เริ่มอ้วนและอ้วน) ร้อยละ14.3 และมีภาวะโภชนาการต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 11.7 สถานการณ์สภาวะสุขภาพช่องปาก นักเรียนมีความชุกโรคฟันผุ ร้อยละ 60.4 และสภาวะฟันดีไม่มีผุร้อยละ 57.1</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>:</strong> ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อสภาวะสุขภาพช่องปาก คือ อายุ ภาวะโภชนาการ การจัดฟัน การมีหินน้ำลาย การดื่มน้ำอัดลม การกินลูกอม การรับรู้ปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพช่องปาก ความต้องการรับบริการทันตกรรม การได้รับการรักษาฟันและเหงือก ดังนั้นควรส่งเสริมและป้องกัน ติดตามการเฝ้าระวังภาวะโภชนาการ และเฝ้าระวังปัจจัยเสี่ยง ที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดการเกิดโรคฟันผุ</p> ศิริวรรณ เทพชุม Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 43 1 119 131 ผลของการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ ในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/268547 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยการปฏิบัติการพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพก่อนและหลังการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ และเปรียบเทียบการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>รูปแบบการศึกษา</strong><strong>:</strong> เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง วัดผล 2 แบบ คือ 1) แบบหนึ่งกลุ่มวัดผลก่อนและหลัง การส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาล เพื่อป้องกันการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในพยาบาลวิชาชีพแบบสมัครใจ จำนวน 11 คน และ 2) แบบสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลองในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมที่ได้รับยา สารน้ำ และส่วนประกอบของเลือดทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย จำนวน 100 ราย&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; แบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 50 ราย และกลุ่มทดลอง 50 ราย เครื่องมือ คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางคลินิก 2) แนวทางการส่งเสริมการปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 10 กลวิธี และ &nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;3) แบบประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาล จำนวน 10 กิจกรรม มีค่าความตรงของเครื่องมือเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1 และมีค่าความเที่ยงของเครื่องมือระหว่างผู้ประเมินในการวินิจฉัยการเกิดภาวะหลอดเลือดดำ&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ส่วนปลายอักเสบมีค่าเท่ากับ 1 ดำเนินการตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที และไคสแควร์</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> พบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลเพิ่มขึ้นจาก 5.0 คะแนน ( &nbsp;= 5.0, SD = 0.77) เป็น 8.1 คะแนน ( &nbsp;= 8.1, SD = 0.83) และพบการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบลดลงจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 2</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>สรุป</strong><strong>:</strong> การปฏิบัติการพยาบาลตามแนวทางการส่งเสริมนี้ช่วยลดการเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบในผู้ป่วยวิกฤตศัลยกรรมได้ ดังนั้นจึงควรส่งเสริมด้วยวิธีที่หลากหลายและต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการปฏิบัติต่อไป</p> <p>&nbsp;</p> นรินทร์ พิพัฒนวรคุณ สหรัฐ สังข์ชวะสุทธิ์ สุรีรัตน์ ชาสมบัติ มยุรี คุ้มรักษา Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 43 1 133 143 การศึกษาเปรียบเทียบผลการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบเข้าด้านหน้าและเข้าด้านหลัง โรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/268548 <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบเข้าด้านหน้าและเข้าด้านหลัง ในโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>วิธีการศึกษา: </strong>การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาแบบ case-control study ซึ่งศึกษาข้อมูลย้อนหลัง โดยศึกษาเก็บข้อมูลจากเวชระเบียน กลุ่มตัวอย่าง คือ เวชระเบียนของผู้ป่วยที่เข้ารับผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ตั้งแต่ มกราคม 2559 จนถึง กันยายน 2565 ของโรงพยาบาลกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวนกลุ่มละ 70 ราย ใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยแบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบเข้าด้านหน้า และกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบเข้าด้านหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบบันทึกข้อมูลจากเวชระเบียน ได้แก่ เพศ อายุ ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด การสูญเสียเลือดในการผ่าตัด การได้รับยาแก้ปวด จำนวนวันนอนหลังการผ่าตัด ความสามารถในการฝึกเดินหลังผ่าตัด การเกิดรอยร้าวของกระดูกต้นขา และการเคลื่อนหลุดของข้อสะโพก โดยติดตามผลการหลุดข้อสะโพกไป 1 ปี หลังผ่าตัด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติไคสแควร์ (chi-square) และสถิติ ทีอิสระ (independent t test)</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลของทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า อายุ ระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัด จำนวนวันนอนหลังการผ่าตัด ความสามารถในการฝึกเดินหลังผ่าตัด การเกิดรอยร้าวของของกระดูกต้นขา และการเคลื่อนหลุดของข้อสะโพกมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p &lt; .05) ส่วนการสูญเสียเลือด ในการผ่าตัด การได้รับยาแก้ปวดของทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน (p &gt; .05)</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; สรุป</strong><strong>: </strong>การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบเข้าด้านหน้าถึงแม้ว่าจะใช้เวลาในการผ่าตัดที่นานกว่าการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกแบบเข้าด้านหลัง แต่มีจำนวนวันนอนหลังการผ่าตัดน้อยกว่า ความสามารถในการฝึกเดิน หลังผ่าตัดได้เร็วกว่า และไม่พบการเคลื่อนหลุดของข้อสะโพกหลังผ่าตัด</p> <p>&nbsp;</p> อัศนัย ศรีสุวนันท์ Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 43 1 145 156 การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการสถานการณ์ โรคโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดนครนายก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/reg45/article/view/268549 <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 พัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 และศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลในเขตจังหวัดนครนายก</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>วิธีการศึกษา</strong><strong>:</strong> การวิจัยและพัฒนา ใช้การวิจัยแบบผสานวิธีโดยใช้ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ดังนี้ 1) ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงสำรวจเพื่อสำรวจสภาพปัญหาการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 140 คน 2) ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 13 คน และ 3) ระยะที่ 3 การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดก่อน-หลัง เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลจากบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จำนวน 35 คน</p> <p>วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุด และค่าสูงสุด ทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสถิติ independent sample t test, one-way ANOVA และ paired t test กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p><strong>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; ผลการศึกษา</strong><strong>:</strong> 1) ปัญหาการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส่วนใหญ่อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 70.0 (mean = 119.05, SD = 24.88)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 2) รูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 คือ SIM-CPR Model ประกอบด้วย การสนับสนุนให้เกิดแรงจูงใจในตนเอง การสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ การทำให้เห็นคุณค่าในงาน การให้โอกาสในงาน และการสนับสนุนทรัพยากร</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; 3) ประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด-19 จากคะแนนเฉลี่ย 7.14 (SD = 1.53) เพิ่มขึ้นเป็น 10.25 (SD = 1.09) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p-value &lt; .001) ทัศนคติต่อการ เฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคโควิด-19 จากคะแนนเฉลี่ย 32.62 (SD = 2.27) เพิ่มขึ้นเป็น 37.80 (SD = 1.82) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p-value &lt; .001) และศักยภาพในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 มีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 (p-value &lt; .001) โดยก่อนการพัฒนามีคะแนนเฉลี่ย 120.42 (SD = 4.11) หลังการพัฒนามีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 178.60 (SD = 5.97)</p> <p>&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp;&nbsp; <strong>สรุป</strong><strong>: </strong>ควรนำรูปแบบการเสริมสร้างพลังอำนาจเพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 ของบุคลากรสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ที่ผู้วิจัยค้นพบคือ SIM-CPR Model ได้แก่ การสนับสนุนให้เกิดแรงจูงใจในตนเอง (S: Support for self-motivation) การสนับสนุนข้อมูลข่าวสาร (I: Information support) การเสริมสร้างขวัญกำลังใจ (M: Morale support) การทำให้เห็นคุณค่าในงาน (C: Creating value in work) การให้โอกาสในงาน (P: Providing job opportunities) และการสนับสนุนทรัพยากร (R: Resource support) ไปใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด-19 หรือสถานการณ์โรคติดต่ออุบัติใหม่/อุบัติซ้ำ ตลอดจนภาวะฉุกเฉินทางด้านสาธารณสุขในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป</p> <p>&nbsp;</p> ไพโรจน์ กวินเลิศวัฒนา Copyright (c) 2024 https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-03-29 2024-03-29 43 1 157 170