https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/issue/feed สรรพสิทธิเวชสาร 2024-12-16T00:00:00+07:00 Arkhom Arayawichanont aarayawi@gmail.com Open Journal Systems <p>สรรพสิทธิเวชสาร เป็นวารสารวิชาการของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี มีกำหนดตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ คือ มกราคม-เมษายน พฤษภาคม-สิงหาคม และกันยายน-ธันวาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ</p> <ol> <li class="show"> เผยแพร่องค์ความรู้ การค้นคว้า และผลงานวิจัย ทางด้านการแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุข และวิทยาศาสตร์สุขภาพ</li> <li class="show">เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำเสนอข้อเสนอแนะและแนวความคิดใหม่ ในประเด็นปัญหาและการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข</li> <li class="show">นำเสนอผลงาน องค์ความรู้ แนวความคิด ทางด้านแพทยศาสตร์ศึกษา การพัฒนาและการส่งเสริมการเรียนการสอนด้านสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ</li> </ol> https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/article/view/265255 The การศึกษาระดับรังสีอ้างอิงและการประเมินปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจ เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ 2024-03-21T09:30:59+07:00 ชัยชนะ ละดาดก a_chaichana4@hotmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล</strong><strong>: </strong>ในปัจจุบันการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สามารถทำได้ง่ายและรวดเร็วทำให้จำนวนการตรวจมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น และการได้รับปริมาณรังสีจะเพิ่มความเสี่ยงแบบแปรผันตรงต่อการเกิดมะเร็งในอนาคต จึงควรมีการสำรวจและเฝ้าระวังการใช้ปริมาณรังสีให้เหมาะสมขณะที่ยังคงคุณภาพของภาพที่ดี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองกับระดับรังสีอ้างอิงตามคำแนะนำของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และหน่วยงานสากล</p> <p><strong>วัสดุ</strong><strong>และวิธีการ</strong><strong>: </strong>เก็บข้อมูลชนิดย้อนหลังจากผู้ป่วยตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง จำนวน 210 คน ช่วงวันที่ 1 – 31 ธันวาคม 2565 จากเครื่อง MDCT 128 slices ยี่ห้อ GE รุ่น Optima 660 และยี่ห้อ Cannon 32 slices รุ่น Aquilion Lightning แล้วบันทึกข้อมูลค่า CTDI<sub>vol</sub> ค่า DLP และประเภทของการสแกน จากนั้นคำนวณหาค่าปริมาณรังสียังผล (Deff) แล้วนำค่าตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75 เทียบกับค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์และหน่วยงานสากล</p> <p><strong>ผลการศึกษา: </strong>พบว่า ค่า CTDI<sub>vol</sub> , DLP และ ED ที่ตำแหน่งเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 75 จากการตรวจ CT Brain (NC) มีค่า CTDIvol 37.6 mGy, DLP 700.9 mGy.cm และ Deff 1.61 mSv ซึ่งต่ำกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิง ส่วนการตรวจ CT Brain (NC, C) มีค่า CTDIvol (58.8, 58.8) mGy, DLP (total) 1948.2 mGy.cm และปริมาณรังสียังผล (Deff) 4.48 mSv ทั้งนี้จะพบว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิงของการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองฉีดสารทึบรังสีจะมีค่า CTDIvol ที่สูงกว่าค่าปริมาณรังสีอ้างอิง</p> <p><strong>สรุป: </strong>ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองตามโปรโตคอลการตรวจของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์มีค่าต่ำกว่าระดับรังสีอ้างอิง ส่วนการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองฉีดสารทึบรังสีควรมีการปรับแก้ไขพารามิเตอร์เพื่อให้ค่าปริมาณรังสีลดลง</p> <p><strong>คำสำคัญ:</strong> ค่า CTDI<sub>vol</sub>, ค่า DLP, ค่าปริมาณรังสียังผล, ระดับรังสีอ้างอิง, เอกซเรย์คอมพิวเตอร์</p> 2024-12-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สรรพสิทธิเวชสาร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/article/view/267110 การศึกษาสาเหตุของเชื้อก่อโรค อาการ อาการแสดงและผลการรักษาของโรคฝีในตับในโรงพยาบาล สรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี 2024-02-16T15:22:10+07:00 ส่องหล้า จิตแสง saengrung_r@hotmail.com <p><strong>หลักการและเหตุผล</strong>: ฝีในตับเป็นการติดเชื้อในช่องท้องที่พบได้บ่อยพบประมาณ 48% ของการติดเชื้อในช่องท้องทั้งหมด<sup>2</sup> ฝีในตับพบได้ทั่วภูมิภาคในโลกโดยเฉพาะในประเทศกำลังพัฒนา ถึงแม้ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาทั้งในด้านการวินิจฉัยและการรักษาที่ดีขึ้นฝีในตับก็ยังคงเป็นการติดเชื้อที่มีอัตราการเสียชีวิตสูง <strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อศึกษาเชื้อสาเหตุของการเกิดฝีในตับ, ศึกษาข้อมูลลักษณะทางคลินิกที่สัมพันธ์กับเชื้อก่อโรค,ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและภาพทางรังสีวิทยาที่สัมพันธ์กับเชื้อก่อโรค,ผลการรักษาและอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยผู้ใหญ่ของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ </p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ</strong>:การวิจัยนี้เป็นการวิจัยงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาแบบสังเกตเชิงวิเคราะห์แบบ ย้อนหลัง ในผู้ป่วยอายุมากกว่า 15 ปี ที่มารักษาด้วยรักษาโรคฝีในตับ ระหว่าง 1 ม.ค. พ.ศ.2555- 31 ธ.ค. 2561 ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี ซึ่งมีเกณฑ์การคัดเลือกเข้ามาศึกษา (inclusion criteria) คืออายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป,ได้รับไว้รักษาในโรงพยาบาล ได้รับ การวินิจฉัยโรคตามระบบ International Classification of Disease Tenth Revision (ICD-10) diagnostic code of K750, A064 คือได้รับการวินิจฉัยว่าฝีในตับ, เกณฑ์ การคัดออกจากการศึกษา (exclusion criteria) คือ ข้อมูลที่ ได้ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ การรวบรวมข้อมูล (data collection) ผู้วิจัยทำการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย ฝีในตับตามรหัส ICD-10 ข้างต้น โดยการ ทบทวนเวชระเบียนของโรงพยาบาล และทำการเก็บข้อมูล ข้อมูลพื้นฐานของประชากร ได้แก่ เพศ, อายุ, อาชีพ, โรคประจำตัว,และความเสี่ยงในการเกิดโรค ข้อมูลอาการ และอาการแสดงที่ตรวจพบ ข้อมูลการตรวจเพิ่มเติมเพื่อการวินิจฉัยได้แก่ pus culture, hemo culture,hematocrit, white blood cell count, Eosinophilic count, platelets count, FBS, BUN, Cr, Liver function test, Chest X-ray, Ultrasound abdomen, CT abdomen, MRI abdomen, ข้อมูลวันนอนโรงพยาบาล, ข้อมูลการรักษา และผลการรักษา, ข้อมูลการวินิจฉัยตามกลุ่มโรค (ICD 10)</p> <p>วิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยสถิติ chi-square test และ Fisher ศึกษาเชื้อสาเหตุของการเกิดฝีในตับ, ศึกษาข้อมูลลักษณะทางคลินิกที่สัมพันธ์กับเชื้อก่อโรค,ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและภาพทางรังสีวิทยาที่สัมพันธ์กับเชื้อก่อโรค,ผลการรักษาและอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วย</p> <p>สรุป:จากการศึกษาพบว่าสาเหตุของการฝีในตับในผู้ป่วยจากการศึกษานี้ ส่วนใหญ่เกิดจาก pyogenic liver abscess ไม่พบผู้ป่วย amoebic liver abscess ซึ่งเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับการศึกษาทีผ่านมาซึ่งพบว่าแนวโน้มของฝีในตับส่วนใหญ่เกิดจากpyogenic มากขึ้นและแนวโน้มของ amoebic liver abscess ลดลง เชื้อส่วนใหญ่เป็นแบคทีเรีย Gram negative โดยเชื้อที่พบบ่อย 3 อันดับแรกคือ B. pseudomallei รองลงมาคือ K. pneumoniae และ E.coli ซึ่งต่างจากข้อมูลการศึกษาในไทยที่ผ่านมาซึ่งพบเชื้อ K. pneumoniaeมากที่สุด โดยอาการที่พบ มากที่สุด คือ Fever รองลงมา คือ Abdominal pain/ epigastrium pain และ Shaking chill ตามลำดับ ส่วนการตรวจร่างกายที่พบมากที่สุด คือ Hepatomegaly และ Right knocking pain รองลงมาคือ Jaudice โรคประจำตัวที่พบมากที่สุด คือ Diabetis mellitus รองลงมาคือ Hypertension และ S/P hepatobiliary Sx ในส่วน Extrahepatic infectionที่พบ 3 อันดับแรกคือ pneumonia, skin infection, และarthritis ส่วนใหญ่ได้รับการรักษาด้วยการให้ยาฆ่าเชื้อ สำหรับการ Percutaneous drainage และsurgery นั้นน้อย โดยพบว่าใน ในกลุ่ม B. pseudomallei มีความสัมพันธ์กับอายุที่น้อยกว่าในกลุ่มที่ไม่พบเชื้อร่วมกับมีfever, abdominal pain, septic shock, SIRS และ มีความสัมพันธ์กับโรคเบาหวานมากกว่ากลุ่มที่ไม่พบเชื้อ กลุ่มที่พบเชื้อมีอัตราการตาย, อาการไม่ดีขึ้นและมีอัตราการเสียชีวิตที่ 3 เดือนมากกว่ากลุ่มที่ไม่พบเชื้อ ซึ่งอาจเกิดจากความรุนแรงของโรค</p> <p> </p> <p> </p> <p> </p> 2024-12-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สรรพสิทธิเวชสาร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/article/view/264839 ประสิทธิภาพของการใช้ยาทา lidocaine prilocaine cream เปรียบเทียบกับการฉีดยาเฉพาะที่ 2% lidocaine ในการลดความเจ็บปวดของแผลฝีเย็บหลังการคลอดบุตร: การศึกษาทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มเปรียบเทียบ 2023-08-23T15:17:34+07:00 มัลลิกา ตั้งจิตเสถียรกุล piyawadeemfm@yahoo.co.th ปิยวดี วุฒิกรสัมมากิจ piyawadeemfm@yahoo.co.th ปริญญา ชำนาญ sanpasitmedjournal@gmail.com <p><strong><em>วัตถุประสงค์:</em></strong><em> เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพของการใช้ยาทาเฉพาะที่ </em><em>Lidocaine-Prilocaine cream และการฉีด 2% Lidocaine HCL ในการลดความเจ็บปวดแผลฝีเย็บหลังการคลอดบุตร</em></p> <p><strong><em>วัสดุและวิธีการ</em></strong><em>:ในช่วง </em><em>24 กันยายน 2022 ถึง 4 ธันวาคม 2022 พบหญิงตั้งครรภ์จำนวน 779 รายมาที่ห้องคลอดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ด้วยอาการเจ็บครรภ์คลอด หลังจากการคัดออก หญิงตั้งครรภ์จำนวน 42ราย เข้าสู่การศึกษา และถูกแบ่งเป็นสองกลุ่มโดยสุ่ม เพื่อให้ได้รับ 1) 2%Lidocaine HCL ชนิดฉีด (N=21) หรือ2) lidocaine prilocaine creamชนิดทาเฉพาะที่ โดยอาสาสมัครที่ได้เข้ากลุ่ม 2%Lidocaine HCL ชนิดฉีด จะได้รับการฉีดยาที่ฝีเย็บตามแนวของแผลฝีเย็บที่จะตัดด้วย 10 มิลลิลิตรของ2%Lidocaine HCL 5 นาทีก่อนการตัดฝีเย็บ และอีก 10 มิลลิลิตรฉีดที่แผลฝีเย็บหลังการคลอดบุตร ส่วนอาสาสมัครในกลุ่ม lidocaine prilocaine cream จะได้รับการทายา10กรัมด้านนอกของบริเวณฝีเย็บเป็นพื้นที่10ตารางเซ็นติเมตรขณะปากมดลูกเปิดตั้งแต่9เซ็นติเมตรเป็นต้นไป และทายาอีกครั้งด้วย10 กรัม lidocaine prilocaine cream ตามแนวของแผลที่ช่องคลอดด้านในและผิวหนังที่แผลฝีเย็บทางด้านนอกหลังการตัดฝีเย็บและคลอดบุตร ลักษณะพื้นฐานของประชากรและข้อมูลทางคลินิกของอาสาสมัครจะถูกบันทึก ผลการศึกษาเช่นคะแนนความเจ็บปวดจะถูกประเมิณด้วย มาตรวัดความเจ็บปวดด้วยสายตา(VAS)ขนาด10เซ็นติเมตร ทันทีหลังจากการเย็บแผลฝีเย็บ และที่6, 12, 18 และ24ชั่วโมงหลังคลอด รวมถึงความต้องการยาแก้ปวดเพิ่มเติม ระยะเวลาหลังคลอดที่เริ่มขอยาแก้ปวดครั้งแรก และระดับของการรบกวนชีวิตประจำวัน ระดับของความวิตกกังวล และระดับของความพึงพอใจเพื่อนำมาเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม</em></p> <p><strong><em>ผลการศึกษา:</em></strong><em> อาสาสมัครทั้งหมดเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่เคยคลอดบุตรมาแล้วอย่างน้อย </em><em>1 ครั้งจำนวน 42 ราย อายุครรภ์ตั้งแต่37-42สัปดาห์ เป็นครรภ์เดี่ยว ทารกอยู่ในท่าศีรษะ ที่นำเข้ามาศึกษานั้น พบว่าลักษณะทางคลินิก ลักษณะทางสูติศาสตร์ และความก้าวหน้าของการคลอดไม่แตกต่างกันในอาสาสมัครทั้งสองกลุ่ม โดยอาสาสมัครทุกรายคลอดทางช่องคลอด ได้รับการตัดฝีเย็บแบบ mediolateral เพื่อช่วยในการคลอดศีรษะทารก และมีการฉีกขาดของแผลฝีเย็บระดับที่สอง พบว่าระดับคะแนนความเจ็บปวดในกลุ่มlidocaine prilocaine cream มีคะแนนต่ำกว่ากลุ่มที่ได้รับยาฉีด lidocaine ที่เวลา 6, 18 และ 24ชั่วโมงหลังคลอด แต่ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ เวลาหลังสิ้นสุดการเย็บซ่อมแผลทันที และที่ 12 ชั่วโมงหลังคลอด. ทั้งนี้ไม่รายงานของภาวะตกเลือดหลังคลอด, การติดเชื้อแผลฝีเย็บ หรือผลข้างเขียงจากยาที่ใช้ในการศึกษา ไม่พบว่ามีความแตกต่างกันของน้ำหนักทารกแรกคลอด และApgar scoreที่1, 5, 10 นาทีของทารกระหว่างสองกลุ่ม รวมถึงไม่พบว่ามีการรายงานการเกิดภาวะแทรกซ้อนของทารกที่เกี่ยวข้องกับยาที่ใช้ในการศึกษา</em></p> <p><strong><em>สรุป</em></strong> <em>:การใช้ยา lidocaine prilocaine creamชนิดทาเฉพาะที่บริเวณแผลฝีเย็บมีประสิทธิภาพในการลดความเจ็บปวดของแผลฝีเย็บถึง 24 ชั่วโมงหลังคลอดโดยไม่พบภาวะแทรกซ้อนอย่างมีนัยสำคัญต่อมารดาและทารก</em></p> 2024-12-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สรรพสิทธิเวชสาร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/article/view/265272 ผลของการปฏิบัติมณีเวชท่าผีเสื้อต่อการลดระยะเวลาช่วงปากมดลูกเปิดเร็ว สตรีตั้งครรภ์ที่คลอดบุตรครั้งแรกในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์: การศึกษาทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มเปรียบเทียบ 2023-10-06T14:42:59+07:00 วาสุเทพ แซ่เตีย sanpasitmedjournal@gmail.com สนธยา พิริยะกิจไพบูลย์ sontapiri@gmail.com <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>:</strong> เพื่อศึกษาผลของการปฏิบัติมณีเวชท่าผีเสื้อต่อการลดระยะเวลาการคลอดระยะที่หนึ่งในสตรีตั้งครรภ์คลอดบุตรครั้งแรก</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ</strong><strong>: </strong>การทดลองแบบสุ่มในสตรีตั้งครรภ์เดี่ยวอายุระหว่าง 15-34 ปีที่คลอดบุตรครั้งแรก ซึ่งมาด้วยอาการเจ็บครรภ์คลอดและได้รับไว้ดูแลในห้องคลอดโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อายุครรภ์ระหว่าง 37-41 สัปดาห์ เมื่อปากมดลูกเปิดอยู่ระหว่าง 3-6 เซนติเมตร และยังไม่มีภาวะถุงน้ำคร่ำแตก สตรีตั้งครรภ์จะได้รับการสุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มที่ได้รับการสอนให้ปฏิบัติมณีเวชท่าผีเสื้อ หรือ 2.กลุ่มควบคุมที่ได้รับการดูแลตามมาตรฐานขณะรอคลอด ผลลัพธ์หลักคือระยะเวลาช่วงปากมดลูกเปิดเร็ว เปรียบเทียบโดยใช้ student t-test ผลการศึกษารองที่ทำการเก็บข้อมูล ได้แก่ ผลลัพธ์ทางมารดาเกี่ยวกับคะแนนความเจ็บปวด ความถี่ของการหดรัดตัวของมดลูกขณะปากมดลูกเปิดหมด การสูญเสียเลือดหลังคลอด และภาวะแทรกซ้อนต่อทารก</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>ผู้เข้าร่วมการศึกษาจำนวน 102 รายไม่มีความแตกต่างของลักษณะพื้นฐาน ไม่พบความแตกต่างของ ระยะเวลาช่วงปากมดลูกเปิดเร็ว รวมถึงภาวะแทรกซ้อนทางมารดาและทารกระหว่าง 2 กลุ่มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบว่ากลุ่มมณีเวชมีการเปลี่ยนแปลงคะแนนความเจ็บปวดซึ่งประเมินโดยใช้ตัวเลขบอกระดับความรุนแรงของอาการปวดเมื่อแรกรับจนถึงระยะปากมดลูกเปิดหมดน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (มัธยฐานที่เปลี่ยนแปลง 1.0 ในกลุ่มมณีเวชเมื่อเทียบกับ 3.0 ในกลุ่มควบคุม, P&lt;0.005) นอกจากนี้กลุ่มมณีเวชยังพบระยะห่างของการหดรัดตัวของมดลูกเมื่อปากมดลูกเปิดหมดสั้นกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ (มัธยฐาน 120.0 นาทีในกลุ่มมณีเวช เมื่อเทียบกับ 130.0 นาทีในกลุ่มควบคุม, P=0.017)</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>แม้การปฏิบัติมณีเวชท่าผีเสื้อในช่วงปากมดลูกเปิดรวดเร็วจะไม่สามารถลดระยะเวลาการรอคลอดคลอดระยะที่หนึ่ง แต่มีส่วนช่วยในการลดความเจ็บปวดขณะรอคลอด อีกทั้งช่วยเรื่องความถี่การหดรัดตัวของมดลูกในขณะปากมดลูกเปิดหมด โดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารกในครรภ์</p> 2024-12-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 สรรพสิทธิเวชสาร