สรรพสิทธิเวชสาร
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal
<p>สรรพสิทธิเวชสาร เป็นวารสารวิชาการของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี มีกำหนดตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ คือ มกราคม-เมษายน พฤษภาคม-สิงหาคม และกันยายน-ธันวาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ</p> <ol> <li class="show"> เผยแพร่องค์ความรู้ การค้นคว้า และผลงานวิจัย ทางด้านการแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุข และวิทยาศาสตร์สุขภาพ</li> <li class="show">เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำเสนอข้อเสนอแนะและแนวความคิดใหม่ ในประเด็นปัญหาและการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข</li> <li class="show">นำเสนอผลงาน องค์ความรู้ แนวความคิด ทางด้านแพทยศาสตร์ศึกษา การพัฒนาและการส่งเสริมการเรียนการสอนด้านสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ</li> </ol>
โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์
th-TH
สรรพสิทธิเวชสาร
0125-653X
-
การเปรียบเทียบประสิทธิภาพของโปรเจสเตอโรนแบบรับประทานและแบบเหน็บทางช่องคลอดในการป้องกันการคลลอดก่อนกำหนดสตรีตั้งครรภ์ที่ตรวจพบความยาวของปากมดลูกสั้น: การศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มเปรียบเทียบ
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/article/view/258990
<p><strong>หลักการและเหตุผล:</strong> มีหลักฐานสนับสนุนว่าการใช้โปรเจสเตอโรนเหน็บช่องคลอดในสตรีตั้งครรภ์ที่มีความยาวปากมดลูกสั้น สามารถป้องกันการคลอดก่อนกำหนดที่ 34 สัปดาห์ได้ แต่ยังไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการให้โปรเจสเตอโรนด้วยวิธีการอื่นว่าสามารถป้องการการคลอดก่อนกำหนดที่ 34 สัปดาห์ได้หรือไม่</p> <p><strong>วัตถุประสงค์:</strong> เพื่อศึกษาผลของการรับประทานโปรเจสเตอโรนในสตรีตั้งครรภ์ที่มีความยาวปากมดลูกสั้นกว่า 25 มิลลิเมตรต่อการป้องกันการคลอดก่อนกำหนด เปรียบเทียบกับการเหน็บโปรเจสเตอโรนทางช่องคลอด</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ:</strong> เป็นการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มเปรียบเทียบ, สตรีตั้งครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ตั้งแต่ 20-25 สัปดาห์ที่มาฝากครรภ์ที่หน่วยฝากครรภ์โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์จะถูกตรวจวัดความยาวปากมดลูกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง โดยจะสุ่มสตรีตั้งครรภ์ดังกล่าวจำนวน 76 คนที่วัดความยาวปากมดลูกได้สั้นกว่า 25 มิลลิเมตร และแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มเท่าๆ กัน กลุ่มแรกได้รับโปรเจสเตอโรน 200 มิลลิกรัมไปรับประทานวันละ 1 ครั้ง และกลุ่มที่สองจะได้รับโปรเจสเตอโรน 200 มิลลิกรัมไปเหน็บช่องคลอดวันละครั้ง ตั้งแต่เริ่มวิจัยไปจนกระทั่ง 34 สัปดาห์ และรับการวัดความยาวปากมดลูกซ้ำที่ 4 สัปดาห์หลังได้รับยา ผลลัพธ์หลักคือการคลอดก่อนกำหนดที่ 34 สัปดาห์</p> <p><strong>ผลลัพธ์:</strong> ข้อมูลพื้นฐานของประชากรทั้งสองกลุ่มไม่มีความแตกต่างกัน ผลของการป้องกันการคลอดก่อนกำหนดที่อายุครรภ์ 34 สัปดาห์ของการใช้โปรเจสเตอโรนแบบรับประทานและการใช้โปรเจสเตอโรนแบบเหน็บช่องคลอดไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สตรีกลุ่มที่ใช้โปรเจสเตอโรนแบบรับประทาน (จำนวน 38 คน) มี 1 คนที่คลอดก่อนกำหนดที่ 34 สัปดาห์ และมีสตรี 3 คนในกลุ่มที่ใช้โปรเจสเตอโรนเหน็บช่องคลอด (จำนวน 38 คน) ที่คลอดก่อนกำหนดที่ 34 สัปดาห์ (2.6% และ 10.5%, P-value 0.168)</p> <p><strong>สรุป:</strong> การใช้โปรเจสเตอโรนในสตรีตั้งครรภ์ที่มีความยาวปากมดลูกสั้นเพื่อป้องกันการคลอดก่อนกำหนดในแบบรับประทานและเหน็บช่องคลอด ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p>
พงษ์สันต์ พันธะไชย
จตุพร วิจารณ์กัยกิจ
ปริญญา ชำนาญ
Copyright (c) 2024 สรรพสิทธิเวชสาร
2024-06-09
2024-06-09
44 3
93
103
-
การอักเสบติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/article/view/263448
<p><strong>หลักการ :</strong> การติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกเป็นภาวะฉุกเฉิน การวินิจฉัยที่ถูกต้อง จะทำให้รักษาถูกต้องรวดเร็ว แม้ว่า<br />ปัจจุบันจะมีอุบัติการณ์และความรุนแรงลดลง เพราะยาปฏิชีวนะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่ยังพบผู้ป่วยที่มีภาวะแทรกซ้อน<br /><strong>วิธีการศึกษา :</strong> เก็บข้อมูลผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกที่โรงพยาบาลวารินชำราบ ได้แก่ ลักษณะทั่วไปของ<br />ผู้ป่วย ลักษณะที่เกี่ยวกับโรค วิธีการรักษา ระยะเวลานอนโรงพยาบาล และ ภาวะแทรกซ้อน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิง<br />พรรณนา เปรียบเทียบความสัมพันธ์ปัจจัยเสี่ยงกับ ระยะเวลานอนโรงพยาบาล โดยใช้ independent sample t-test<br />(p-value < 0.05) และวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยวิธี Logistic regression<br /><strong>ผลการศึกษา :</strong> ผู้ป่วยทั้งหมด 126 ราย เป็นเพศชาย ร้อยละ 57.1 โรคประจำตัวที่พบมากที่สุด คือ เบาหวาน ร้อยละ 31<br />ตำแหน่งที่พบการติดเชื้อมากที่สุดคือ submandibular space ร้อยละ 44.4 พบการติดเชื้อหลายตำแหน่ง ร้อยละ 14.3<br />สาเหตุหลักเกิดจากฟันผุ ร้อยละ 49.2 พบภาวะแทรกซ้อน คือ sepsis ร้อยละ 7.1 Upper airway obstruction ร้อยละ<br />2.4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระยะเวลานอนโรงพยาบาล คือ เบาหวาน (p = 0.02) การติดเชื้อหลายตำแหน่ง (p = 0.03)<br />และการมีภาวะแทรกซ้อน (p = 0.008) ปัจจัยเสี่ยงที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน คือ การติดเชื้อหลายตำแหน่ง<br />ORadj = 9.24, 95%CI: 0.02-0.41, p = 0.02 และผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ORadj = 5.3, 95%CI: 0.03-0.75,<br />p = 0.02<br /><strong>สรุปผล :</strong> การติดเชื้อในช่องเยื่อหุ้มคอชั้นลึกของโรงพยาบาลวารินชำราบ ส่วนใหญ่เกิดจาก ฟันผุ การส่งเสริมสุขภาพช่อง<br />ฟันจะช่วยป้องกันได้ การวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้องรวดเร็วโดยเฉพาะกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง ได้แก่ผู้ป่วยที่มีอายุมาก และ<br />มีการติดเชื้อหลายตำแหน่ง อาจช่วยลดภาวะแทรกซ้อน</p>
ณัชชารีย์ ศิรพงษ์รัตน์
Copyright (c) 2024 สรรพสิทธิเวชสาร
2024-06-09
2024-06-09
44 3
105
117
-
ผลของรูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่องในระยะฟื้นฟูที่มีต่อคุณภาพชีวิต ของผู้ป่วยหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/article/view/266072
<p><strong>หลักการและเหตุผล :</strong> แม้ว่าความก้าวหน้าทางด้านการแพทย์จะทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองมีอัตราการรอดชีวิตสูง<br />ขึ้น แต่ผู้ป่วยที่รอดชีวิตมักจะมีภาวะแทรกซ้อนที่มีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต ดังนั้นผู้ป่วยควรได้รับการดูแลต่อเนื่องหลัง<br />ออกจากโรงพยาบาล งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังจำหน่าย<br />ออกจากโรงพยาบาล 2) เปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มทดลองระหว่างก่อนและหลังได้รับ<br />การดูแลต่อเนื่องในระยะฟื้นฟู และ 3) เปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระหว่างกลุ่มทดลอง<br />และกลุ่มควบคุม<br /><strong>วัสดุและวิธีการ :</strong> เป็นงานวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองที่นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล<br />สรรพสิทธิประสงค์ระหว่างวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 – 31 ธันวาคม 2565 จำนวน 60 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง<br />เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์ค่าที<br /><strong>ผลการศึกษา :</strong> 1) คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหลังจำหน่ายออกจากโรงพยาบาลอยู่ในระดับปานกลาง<br />(ค่าเฉลี่ย 3.10) 2) ระดับคุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองกลุ่มทดลองหลังได้รับการดูแลต่อเนื่องในระยะฟื้นฟู<br />(ค่าเฉลี่ย 3.52) สูงกว่าก่อนได้รับการดูแลต่อเนื่องในระยะฟื้นฟู (ค่าเฉลี่ย 3.21) 3) คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคหลอดเลือด<br />สมองกลุ่มทดลองหลังได้รับการดูแลต่อเนื่องในระยะฟื้นฟู (ค่าเฉลี่ย 3.52) สูงกว่ากลุ่มควบคุมหลังได้รับการรักษาพยาบาล<br />ตามปกติ (ค่าเฉลี่ย 3.03)<br /><strong>สรุปผล :</strong> คุณภาพชีวิตผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองสูงขึ้นหลังได้รับการดูแลต่อเนื่องในระยะฟื้นฟู และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย<br />โรคหลอดเลือดสมองกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม</p>
ณหทัย เอื้ออารีย์
อาคม อารยาวิชานนท์
Copyright (c) 2024 สรรพสิทธิเวชสาร
2024-06-09
2024-06-09
44 3
119
129