สรรพสิทธิเวชสาร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal <p>สรรพสิทธิเวชสาร เป็นวารสารวิชาการของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี มีกำหนดตีพิมพ์ปีละ 3 ฉบับ คือ มกราคม-เมษายน พฤษภาคม-สิงหาคม และกันยายน-ธันวาคม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ</p> <ol> <li class="show"> เผยแพร่องค์ความรู้ การค้นคว้า และผลงานวิจัย ทางด้านการแพทย์ การพยาบาล การสาธารณสุข และวิทยาศาสตร์สุขภาพ</li> <li class="show">เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น นำเสนอข้อเสนอแนะและแนวความคิดใหม่ ในประเด็นปัญหาและการบริหารจัดการด้านสาธารณสุข</li> <li class="show">นำเสนอผลงาน องค์ความรู้ แนวความคิด ทางด้านแพทยศาสตร์ศึกษา การพัฒนาและการส่งเสริมการเรียนการสอนด้านสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ</li> </ol> th-TH aarayawi@gmail.com (Arkhom Arayawichanont) netpakdee45@gmail.com (Suchada Netpakdee (Journal Manager)) Tue, 10 Oct 2023 14:03:33 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 การศึกษาอัตราการรอดชีวิตและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรอดชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งตับ ที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดสูตร FOLFOX ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี: การศึกษาจากข้อมูลย้อนหลัง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/article/view/258218 <p><strong>ความสำคัญและที่มา</strong><strong>: </strong>มะเร็งตับเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับต้นในประเทศไทย ผู้ป่วยมะเร็งตับส่วนใหญ่มาพบแพทย์ในระยะลุกลามไม่สามารถให้การรักษาด้วยการผ่าตัด หรือการรักษาเฉพาะที่ การรักษาในผู้ป่วยกลุ่มนี้ตามคำแนะนำคือ การใช้ยารักษากลุ่ม Anti-VEGF และยากลุ่ม Immunotherapy แต่เนื่องจากบริบทในประเทศไทยมีข้อจำกัดการเข้าถึงกลุ่มยาดังกล่าวข้างต้น ผู้ป่วยมะเร็งตับในระยะลุกลามจำนวนมากได้รับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัด อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันมีหลักฐานเชิงประจักษ์สนับสนุนประโยชน์ของการใช้ยาเคมีบำบัดค่อนข้างจำกัด</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: ศึกษาอัตราการรอดชีวิตและปัจจัยที่สัมพันธ์กับการรอดชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งตับ ที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดสูตร FOLFOX ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์</p> <p><strong>วิธีการวิจัย</strong><strong>:</strong> ในการศึกษาแบบ Retrospective cohort study นี้ ทำใน<em>ผู้ป่วย</em>มะเร็งตับที่ไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัด หรือการรักษาเฉพาะที่ได้ <em>มีอายุตั้งแต่ </em><em>18-75 ปี </em>มีผลชิ้นเนื้อยืนยันการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งตับ หรืออาการทางคลินิกเข้าได้โดยอ้างอิงตาม AASLD criteria และรักษาในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ โดยการเก็บข้อมูลลักษณะทั่วไป ลักษณะทางคลินิก และผลลัพธ์การเสียชีวิต จากการทบทวนเวชระเบียน และยืนยันการเสียชีวิตโดยฐานข้อมูลมรณบัตรในทะเบียนราษฎร์ เพื่อวิเคราะห์อัตราการรอดชีวิต และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเสียชีวิต โดยใช้สถิติ Kaplan-Meier estimator และ Cox proportional hazard model</p> <p><strong>ผลการศึกษา:</strong> จากการศึกษาข้อมูลย้อนหลัง 5 ปี ผู้ป่วยมะเร็งตับที่รักษาด้วยยาเคมีบำบัดสูตร FOLFOX <br />ในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ มีจำนวนทั้งหมด 70 ราย มีระยะเวลาการรอดชีวิต (median overall)</p> ชยุตม์ พฤทธิ์ลาภากร, จิตรลดา จึงสมาน, ปริญญา ชำนาญ Copyright (c) 2023 สรรพสิทธิเวชสาร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/article/view/258218 Fri, 29 Sep 2023 00:00:00 +0700 ประสิทธิภาพของการตรวจทางเซลล์วิทยาด้วยเข็มขนาดเล็ก (FNA) ในการพยากรณ์มะเร็งจากก้อนที่ต่อมไทรอยด์ โรงพยาบาลวารินชำราบ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/article/view/260911 <p><strong>หลักการและเหตุผล</strong><strong>: </strong>ภาวะก้อนที่ต่อมไทรอยด์เป็นโรคของระบบต่อมไร้ท่อที่พบได้บ่อย หัตถการที่ช่วยในการวินิจฉัยโรค คือการตรวจทางเซลล์วิทยาด้วยเข็มขนาดเล็ก (Fine needle aspiration, FNA) ประสิทธิภาพของการตรวจวินิจฉัยโรคจึงมีความสำคัญต่อการวางแผนการรักษาขั้นต่อไป</p> <p><strong>วัสดุและวิธีการ</strong><strong>: </strong>เป็นการศึกษาวิจัยรูปแบบ retrospective cohort study ที่โรงพยาบาลวารินชำราบ ในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจวินิจฉัยว่ามีก้อนที่ต่อมไทรอยด์ ได้รับการทำ FNA และผ่าตัดต่อมไทรอยด์ในช่วงเวลาระหว่างวันที่ 1ตุลาคม พ.ศ.2562 ถึง 30กันยายน พ.ศ.2565 จำนวนทั้งหมด 204 ราย จำแนกอายุ เพศ แสดงผลเป็นร้อยละ หาประสิทธิภาพในการตรวจวินิจฉัยโรคจากการทำ FNA โดยเทียบกับผลตรวจทางพยาธิวิทยา (histopathological diagnoses) นำมาคำนวณหาค่า sensitivity, specificity, positive predictive value, negative predictive value และ accuracy rate</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong><strong>: </strong>จากผู้ป่วยที่ศึกษาจำนวน 204 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 91.2% อายุเฉลี่ย 48 ปี (<em>ค่า</em>เบี่ยงเบนมาตรฐาน, SD=14.38) เป็นมะเร็งไทรอยด์ 59 ราย benign 145 ราย ถ้าจัดกลุ่มผลตรวจจากการทำ FNA โดยให้ C1-C2 เป็น negative และ C3-C6เป็น positive จะได้ค่าความไวหรือสัดส่วนของการตรวจพบโรคในผู้ที่ป่วยจริง ร้อยละ 54.24 (sensitivity=54.24%) ค่าความจำเพาะหรือสัดส่วนของการตรวจไม่พบโรคในผู้ที่ไม่ป่วย ร้อยละ 86.90 (specificity= 86.90%) ความน่าจะเป็นของการเป็นโรค ถ้าผลการตรวจเป็นบวก ร้อยละ 62.75 (positive predictive value = 62.75%) ความน่าจะเป็นของการไม่ได้เป็นโรค ถ้าผลการตรวจเป็นลบ ร้อยละ 82.35 (negative predictive value = 82.35%) และความถูกต้องแม่นยำร้อยละ 77.45 (accuracy=77.45%)</p> <p><strong>สรุป</strong><strong>: </strong>การวินิจฉัยโรคมะเร็งที่ต่อมไทรอยด์โดย FNA technique สามารถช่วยวางแผนการรักษาได้ดี ถ้าพบผลอ่าน FNA เป็น C3-C6 จะมีโอกาสเป็นมะเร็งสูง ควรได้รับการประเมินโดยแพทย์ผู้รักษาให้ทำการวางแผนผ่าตัดต่อมไทรอยด์ต่อไป</p> วรกานต์ เจริญสวัสดิ์ Copyright (c) 2023 สรรพสิทธิเวชสาร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/article/view/260911 Fri, 29 Sep 2023 00:00:00 +0700 ผลของการให้ข้อมูลย้อนกลับผลการตรวจครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงอย่างมีส่วนร่วมต่อคะแนนความผูกพันของมารดาและทารกในครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นในโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์: การศึกษาเชิงทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มควบคุม https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/article/view/258989 <p><strong>วัตถุประสงค์ </strong>: เพื่อศึกษาผลของการให้ข้อมูลย้อนกลับผลการตรวจครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงอย่างมีส่วนร่วมต่อคะแนนความผูกพันของมารดาและทารกในครรภ์ในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น</p> <p><strong>ระเบียบวิธีวิจัย</strong> : เก็บข้อมูลในสตรีตั้งครรภ์วัยรุ่นที่มาตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงที่แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อายุครรภ์ 16-28 สัปดาห์ โดยแบ่งกลุ่มในอัตราส่วน 1:1 แบบสุ่มเป็นกลุ่มที่ให้ข้อมูลย้อนกลับแบบมีส่วนร่วมและกลุ่มที่ให้ข้อมูลย้อนกลับแบบปกติ หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นจะได้รับซองคำถามและตอบแบบสอบถามให้ครบถ้วนด้วยตนเอง เพื่อประเมิน ความผูกพันของมารดาและทารกในครรภ์ (Maternal antenatal attachment scale; MAAS), ระดับความวิตกกังวล (Spielberger 1970)) และพฤติกรรมสุขภาพ โดยประเมินก่อนการตรวจครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่ และตอบแบบสอบถามซึ่งมีคำถามเดิมซ้ำอีกครั้งหลังตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง 4 สัปดาห์ ตามนัดฝากครรภ์ตามปกติ</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong> : หญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น 50 คน ถูกแบ่งเป็นกลุ่มที่ให้ข้อมูลย้อนกลับแบบมีส่วนร่วม 25 คน และกลุ่มที่ให้ข้อมูลย้อนกลับแบบปกติ 25 คน หลังหักหญิงตั้งครรภ์ 2 คนในกลุ่มให้ข้อมูลย้อนกลับแบบมีส่วนร่วมและ 5 คนในกลุ่มปกติ เหลือ 23 คนในกลุ่มที่ให้ข้อมูลย้อนกลับแบบมีส่วนร่วม และกลุ่มที่ให้ข้อมูลย้อนกลับแบบปกติ 20 คนเพื่อนำมาวิเคราะห์ พบว่า การตรวจครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงเพิ่มคะแนนความผูกพันของมารดาและทารกในครรภ์ทั้ง 2 กลุ่ม (P &lt; 0.001) โดยกลุ่มที่ให้ข้อมูลย้อนกลับแบบมีส่วนร่วม มีคะแนนความผูกพันมากกว่าแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P = 0.001) รวมทั้งระดับความวิตกกังวลลดลง (P = 0.043)</p> <p><strong>สรุป </strong>: การให้ข้อมูลย้อนกลับผลการตรวจครรภ์ด้วยคลื่นเสียงความถี่สูงอย่างมีส่วนร่วมเพิ่มคะแนนความผูกพันของมารดาและทารกในครรภ์รวมถึงลดความวิตกกังวลในหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> ฐิติมา ชัยศรีสวัสดิ์สุข, วทัศมล ดวนใหญ่, ปริญญา ชำนาญ Copyright (c) 2023 สรรพสิทธิเวชสาร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/article/view/258989 Fri, 29 Sep 2023 00:00:00 +0700 ตัวบ่งชี้การพยากรณ์ผลการรักษา ภาวะอุดกั้นหลอดเลือดดำซูพีเรียร์วีนาคาวา ในมะเร็งปอด โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/article/view/262350 <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: ศึกษาตัวบ่งชี้การพยากรณ์ผลการรักษา ภาวะอุดกั้นหลอดเลือดดำซูพีเรียร์วีนาคาวา(superior vena cava syndrome, SVCS) ในมะเร็งปอด ที่รับการวินิจฉัยในแผนกผู้ป่วยในกลุ่มงานอายุรกรรม โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์</p> <p><strong>วิธีการศึกษา</strong>: ศึกษารวบรวมข้อมูลแบบย้อนหลังเชิงพรรณนา โดยเป็นการเก็บข้อมูลจากเวชระเบียนผู้ป่วยใน ที่มีภาวะ ภาวะอุดกั้นหลอดเลือดดำซูพีเรียร์วีนาคาวา (superior vena cava syndrome, SVCS) จำนวน 129 คน ตั้งแต่ช่วงเวลา มกราคม 2560 ถึง ธันวาคม 2564 โดยใช้สถิติ Kaplan Meier curve ในการวิเคราะห์หาการรอดชีวิตโดยรวม (overall survival, OS) และทำการเปรียบเทียบอัตราการรอดชีพระหว่างปัจจัยเรื่อง ผลการรักษา (Goal of treatment) จุลกายวิภาคเนื้อเยื่อ (Histology) ทางเลือกการรักษา (Treatment option) ระยะล่าช้าจากการรักษา (Treatment delay) ด้วย Log rank test</p> <p><strong>ผลการศึกษา</strong>: ผลการศึกษา 129 ราย พบว่าเป็นเพศชาย ร้อยละ 78.3 มีอายุ 64.38 ± 13.89 ปี ECOG เท่ากับ 1 มากที่สุด (61.2%) มี Overall survival time เฉลี่ยเท่ากับ 59.82 เดือน (95% CI: 48.78- 70.86) กลุ่ม treatment option พบว่า radiotherapy survival time 30.65 เดือน (95%CI: 25.89-35.41) chemotherapy survival time 64.6 เดือน (P-value = 0.173,95% CI: 44.62-84.59) treatment delay พบว่า treatment delay &lt; 7 days มี survival time 57.79 เดือน (95% CI: 43.11-72.48) ส่วนกลุ่ม treatment delay ≥ 7 days มี survival time18.18 เดือน (P-value = 0.648,95%CI: 16.35-20.0) กลุ่ม Adenocarcinoma มี survival time 19.73 เดือน (95%CI: 16.62-22.85) ส่วนกลุ่ม SCCA มี survival time 14.45 เดือน (P-value = 0.325, 95% CI: 9.15-19.74) goal of treatment พบว่า กลุ่ม Radical treatment มี survival time 12.12 เดือน (95%CI: 6.69-17.55) ส่วนกลุ่ม Palliative treatment มี survival time 66.33 เดือน (P-value &lt; 0.001,95% CI: 57.3-75.35)</p> <p><strong>สรุปผลการศึกษา</strong>: ในการศึกษาแบบเชิงวิเคราะห์ย้อนหลัง ในผู้ป่วยภาวะอุดกั้นหลอดเลือดดำซูพีเรียร์วีนาคาวาในมะเร็งปอด พบว่า มีเพียง goal of treatment ที่มีผลต่ออัตราการรอดชีพ ซึ่งมีผลต่อพยากรณ์ของโรค ในส่วน treatment option, treatment delay, Histology cell type ไม่มีผลต่ออัตราการรอดชีพ ซึ่งจะมีผลต่อพยากรณ์ของโรค</p> พงษ์พัฒน์ พิมพ์สะ Copyright (c) 2023 สรรพสิทธิเวชสาร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/sanpasit_medjournal/article/view/262350 Fri, 29 Sep 2023 00:00:00 +0700