การทำงานของกล้ามเนื้อทราพีเซียในขณะทำงานเหนือระดับไหล่ในผู้ที่มีการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบักผิดปกติ

Main Article Content

กานต์พาจี ศรแก้ว
พรพรรณ พร้อมเพรียง
วิภาวี ศรัทธาสุข
ศุภัสรา เฉลิมสุข
ชโลมใจ เพ็ญศรี

บทคัดย่อ

Scapular dyskinesis คือ ความผิดปกติของการวางตัวและการเคลื่อนไหวของกระดูกสะบัก ซึ่งอาจทำให้การเคลื่อนไหวของระยางค์ส่วนบนบกพร่อง ดังนั้น ในขณะที่มีการทำงานที่มีความสูงเหนือกว่าระดับไหล่หรือการเล่นกีฬาที่มีการยกแขนสูงอาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บของข้อไหล่จากการทำงานหรือการเล่นกีฬาได้


วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาการทำงานของกล้ามเนื้อทราพีเซียสในคนที่มี Scapular dyskinesis ขณะที่ทำงานที่มีความสูงเหนือระดับไหล่


วิธีดำเนินการวิจัย : อาสาสมัครจำนวน 28 คน (หญิง 17 คน ชาย 11 คน) อายุระหว่าง 20-22 ปี แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มี Scapular dyskinesis (14 คน) และกลุ่มควบคุม (14 คน) จากนั้นทำการบันทึกสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อขณะทดสอบแรงการหดตัวสูงสุด ขณะอยู่นิ่งกับที่ (Maximum voluntary isometric contraction; MVIC) ของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนและล่าง ข้างขวา และทำการบันทึกสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ขณะทำงานโดยบันทึกสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ณ วินาที ที่ 0, 10, 60, 120, และหลังสิ้นสุดการทดสอบ 10 วินาที ค่าที่ได้นำไปคำนวณเป็นร้อยละของสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อ ขณะทดสอบแรงการหดตัวสูงสุดขณะอยู่นิ่งกับที่ (%MVIC) และใช้สถิติ Mixed ANOVA เพื่อดูความแตกต่างของค่า %MVIC ของกล้ามเนื้อทราพีเซียสภายในกลุ่มและระหว่างกลุ่ม


ผลการวิจัย  : เมื่อเปรียบเทียบค่า %MVIC ณ.วินาทีที่ 0 กับ 120 พบว่ามีเพียงค่า %MVIC ของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนในกลุ่ม Scapular dyskinesis มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และค่า %MVIC ของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนล่างระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มควบคุมมีการทำงานของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนล่าง มากกว่ากลุ่ม Scapular dyskinesis อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติในทุกช่วงเวลา (p<0.05)


สรุปผลการวิจัย : จากการศึกษา พบว่า การทำงานของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนล่างในกลุ่ม Scapular dyskinesis มีความแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการทำงานของกล้ามเนื้อทราพีเซียสส่วนบนในกลุ่ม Scapular dyskinesis เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเวลาผ่านไป

Article Details

บท
บทความวิจัย (Original Article)

References

Bagg, S. D., and Forrest, W. J. (1986). Electromyographic study of the scapular rotators during arm abduction in the scapular plane. American Journal of Physical Medicine, 65(3), 111-124.

Cools, A. M., Witvrouw, E. E., Declercq, G. A., Danneels, L. A., & Cambier, D. C. (2003). Scapular muscle recruitment patterns: trapezius muscle latency with and without impingement symptoms. American Journal of Sports Medicine, 31(4), 542-549.

Cram JR KG, H. J. (1998). Introduction to surface electromyography, Gaithersburg, MD, United States. Aspen Publisher

Ekstrom, R. A., G. L. Soderberg and R. A. Donatelli (2005). “Normalization procedures using maximum voluntary isometric contractions for the serratus anterior and trapezius muscles during surface EMG analysis.” Journal of Electromyography and Kinesiology 15(4): 418-428.

Falla, D., Bilenkij, G., & Jull, G. (2004). Patients With Chronic Neck Pain Demonstrate Altered Patterns of Muscle Activation During Performance of a Functional Upper Limb Task. Spine, 29(13), 1436-1440. doi:10.1097/01.brs.0000128759.02487.bf

Falla, D., Farina, D., & Graven-Nielsen, T. (2007). Spatial dependency of trapezius muscle activity during repetitive shoulder flexion. Journal of Electromyography and Kinesiology, 17(3), 299-306. doi:http://dx.doi.org/10.1016/j.jelekin.2006.03.005

Huang, T.S., C.Y. Huang, H.-L. Ou and J.-J. Lin (2016). “Scapular dyskinesis: Patterns, functional disability and associated factors in people with shoulder disorders.” Manual Therapy 26: 165-171.

Huang, T. S., H. L. Ou, C. Y. Huang and J. J. Lin (2015). “Specific kinematics and associated muscle activation in individuals with scapular dyskinesis.” Journal of Shoulder and Elbow Surgery 24(8): 1227-1234.

Kibler, W. B., Uhl, T. L., Maddux, J. W., Brooks, P. V., Zeller, B., & McMullen, J. (2002). Qualitative clinical evaluation of scapular dysfunction: a reliability study. Journal of Shoulder and Elbow Surgery 11(6), 550-556. doi:10.1067/mse.2002.126766

Laudner, K. G., Myers, J. B., Pasquale, M. R., Bradley, J. P., & Lephart, S. M. (2006). Scapular Dysfunction in Throwers with Pathologic Internal Impingement. Journal of Orthopaedic & Sports Physical Therapy, 36(7), 485-494. doi:doi:10.2519/jospt.2006. 2146

Ludewig, P. M., Cook, T. M., & Nawoczenski, D. A. (1996). Three-Dimensional Scapular Orientation and Muscle Activity at Selected Positions of Humeral Elevation. Journal of Orthopaedic & Sports Physical Therapy, 24(2), 57-65. doi:doi:10.2519/jospt.1996.24. 2.57

Lertsinthai, P., S. K. (2015). “Comparison of Back Muscle Electromyographic Activity during Sideways Sitting Between Flat and Inclined Surface.” Thai Journal of Physical Therapy 37(2): 11.

McClure, P., A. R. Tate, S. Kareha, D. Irwin and E. Zlupko (2009). “A clinical method for identifying scapular dyskinesis, part 1: reliability.” Journal of Athletic Training 44(2): 160-164.

Oatis, C. A. (2008). Kinesiology: The Mechanics and Pathomechanics of Human Movement (Second ed.). India: Lippincott Williams and Wilkins; Second, North American edition (February 2008).

Poppen, N. K., & Walker, P. S. (1976). Normal and abnormal motion of the shoulder. The Journal of Bone and Joint Surgery, 58(2), 195-201.

Portney, L.G, and Watkins, M.P. (2008) Foundations of Clinical Research: Applications to Practice. Upper Saddle River, NJ, United States. Pearson Education