ผลของการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักระดับสูงในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำความดันบรรยากาศปกติที่มีต่อสมรรถภาพในการใช้ออกซิเจนสูงสุด พลังวิกฤต และความสามารถในการพายระยะ 2,000 เมตร ในนักกีฬาเรือพายระดับมหาวิทยาลัย

Main Article Content

ศรัณย์ หิรัญพันธุ์
ทศพร ยิ้มลมัย

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักระดับสูงในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำและความดันบรรยากาศปกติที่มีต่อสมรรถภาพในการใช้ออกซิเจนสูงสุด พลังวิกฤตและความสามารถในการพายเรือระยะ 2,000 เมตรในนักกีฬาเรือพายระดับมหาวิทยาลัย


วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่าง คือ นักกีฬาเรือพาย อายุระหว่าง 19-24 ปี จำนวน 18 คน จากชมรมเรือพาย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยใช้สมรรถภาพในการใช้ออกซิเจนสูงสุดเป็นเกณฑ์ ได้แก่ กลุ่มทดลอง (Hypoxic group, n=9) ทำการฝึกในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำทีมีค่าความดันบรรยากาศปกติ (FiO2=15.3%) และกลุ่มควบคุม (Normoxic group, n=9) ทำการฝึกในสภาวะปริมาณออกซิเจนปกติ (FiO2= 20.9%) ทั้งสองกลุ่มทำการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักระดับสูง 85-98% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด (Maximum heart rate) จำนวน 6 เซต เซตละ 30 วินาที พักระหว่างเซต 60 วินาที 2 วันต่อสัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนและหลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 ทดสอบสมรรถภาพด้านแอโรบิก (Maximal oxygen uptake VO2max,) พลังวิกฤต (Critical power, CP) และความสามารถในการพายระยะทาง 2,000 เมตร นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้การทดสอบค่าที กำหนดระดับความมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05


ผลการวิจัย : ก่อนการทดลองทั้งสองกลุ่มมีค่าเฉลี่ยของอายุ น้ำหนักตัว ดัชนีมวลกาย เปอร์เซ็นต์ไขมันและมวลกล้ามเนื้อปราศจากไขมัน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 หลังการทดลองสัปดาห์ที่ 6 พบว่า ทั้งสองกลุ่ม มีค่าเฉลี่ยของงานสูงสุดที่ทำได้ VO2max และจุดกั้นแอนแอโรบิก ไม่แตกต่างจากก่อนทดลอง ขณะที่ค่าเฉลี่ยของ CP เพิ่มขึ้น และระยะเวลาในการพายระยะทาง 2,000 เมตร ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยไม่พบความแตกต่างระหว่างทั้งสองกลุ่ม


สรุปผลการวิจัย : การฝึกเสริมด้วยการฝึกแบบสลับช่วงที่ความหนักระดับสูงในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำที่ความดันบรรยากาศปกติ (FiO2=15.3%) เป็นเวลา 6 สัปดาห์ สามารถพัฒนาพลังวิกฤตและความสามารถในการพายระยะ 2,000 เมตร ในนักกีฬาเรือพายมหาวิทยาลัยได้ไม่แตกต่างจากการฝึกในสภาวะปริมาณออกซิเจนปกติและความดันบรรยากาศปกติ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Original Article)

References

Akca, F., & Aras, D. (2015). Comparison of rowing performance improvements following various High-Intensity interval trainings. Journal of Strength and Conditioning Research, 29(8), 2249-2254.

Billat, L. V. (2001). Interval training for performance: a scientific and empirical practice. Sports Medicine, 31(1), 13-31.

Bonetti, D. L., & Hopkins, W. G. (2009). Sea-level exercise performance following adaptation to hypoxia. Sports Medicine, 39(2), 107-127.

Czuba, M., Zajac, A., Maszczyk, A., Roczniok, R., Poprzecki, S., Garbaciak, W., & Zajac, T. (2013). The effects of high intensity interval training in normobaric hypoxia on aerobic capacity in basketball players. Jounal of Human Kinetics, 39, 103-114. doi:10.2478/hukin-2013-0073.

Driller, M. W., Fell, J. W., Gregory, J. R., Shing, C. M., & Williams, A. D. (2009). The effects of high-intensity interval training in well-trained rowers. International Journal of Sports Physiology and Performance, 4(1), 110-121.

Foster, C., Farland, C. V., Guidotti, F., Harbin, M., Roberts, B., Schuette, J., Porcari, J. P. (2015). The effects of high intensity interval training vs steady state training on aerobic and anaerobic capacity. Journal of Sports Science and Medicine, 14(4), 747.

Galvin, H. M., Cooke, K., Sumners, D. P., Mileva, K. N., & Bowtell, J. L. (2013). Repeated sprint training innormobaric hypoxia. British Journal of Sports Medicine, 47(Suppl 1), i74-i79.

Hagerman. (1978). Energy expenditure during simulated rowing. Journal of Applied Physiology, 45(1), 87-93.

Harrison, A. J., Ní Chéilleachair, N. J., & Warrington, G. D. (2017). HIIT enhances endurance performance and aerobic characteristics more than high-volume training in trained rowers. Journal of Sports Sciences, 35(11), 1052-1058.

Jones, A. M., & Carter, H. (2000). The effect of endurance training on parameters of aerobic fitness. Sports Medicine, 29(6), 373-386.

Kendall, K. L., Smith, A. E., Fukuda, D. H., Dwyer, T. R., & Stout, J. R. (2011). Critical velocity: a predictor of 2000-m rowing ergometer performance in NCAA D1 female collegiate rowers. Journal of Sports Sciences, 29(9), 945-950.

Morton, J. P., & Cable, N. T. (2005). The effects of intermittent hypoxic training on aerobic and anaerobic performance. Ergonomics, 48(11-14), 1535-1546.

Niess, A. M., Fehrenbach, E., Strobel, G., Roecker, K., Schneider, E. M., Buergler, J., Dickhuth, H.-h. (2003). Evaluation of stress responses to interval training at low and moderate altitudes. Medicine and Science in Sports and Exercise, 35(2), 263-269

Poole, D. C., & Jones, A. M. (2016). Critical Power: An Important Fatigue Threshold in Exercise Physiology. Medicine and Science in Sports and Exercise, 48(11), 2320-2334.

Secher, N. H. (1983). The physiology of rowing. Journal of Sports Sciences, 1(1), 23-53.

Truijens, M. J., Toussaint, H. M., Dow, J., & Levine, B. D. (2003). Effect of highintensity hypoxic training on sea-level swimming performances. Journal of Applied Physiology, 94(2), 733-743.

Vanhatalo, A., Fulford, J., Dimenna, F.J., & Jones, A.M. (2010). Influence of hyperoxia on muscle metabolic responses and the power-duration relationship during severeintensity exercise in humans: a 31P magnetic resonance spectroscopy study. Experimental Physiology. 95, 528-40.

Yoon, J., & Lee, M. (2014). Effects of sprint interval training on blood variables, aerobic and anaerobic performance in normobaric hypoxia. Korean Journal of Sports Science, 25(4), 890-903.