องค์ประกอบทางการท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความสนใจท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีตของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ณัฏฐ์พัชร์ กาญจนรัตน์
กุลพิชญ์ โภไคยอุดม

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาองค์ประกอบทางการท่องเที่ยว ได้แก่ ด้านแหล่งท่องเที่ยว (Attraction) ด้านการเข้าถึง (Accessibility) ด้านกิจกรรม (Activity) และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenity) ที่ส่งผลต่อความสนใจท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีตของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร และเพื่อเปรียบเทียบลักษณะทางประชากรศาสตร์ ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และรายได้ของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานครที่มีผลต่อความสนใจท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต


วิธีดำเนินการวิจัย : กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยทีอ่าศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 440 คน โดยวิธีการสุ่มแบบเจาะจงและแบบโควตา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ 0.76 และมีค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีทางสถิติโดยใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความถี่ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สมการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ Independent Sample t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว (One-Way ANOVA) เพื่อทดสอบสมมติฐานของงานวิจัย โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05


ผลการวิจัย :


1. กลุ่มตัวอย่างมีระดับความคิดเห็นขององค์ประกอบทางการท่องเที่ยวโดยรวมเห็นด้วยอยู่ในระดับมาก (X=3.75, S.D.=0.37) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว (Attraction) รองลงมาคือ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกในแหล่งท่องเที่ยว (Amenities) ด้านการเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (Accessibilities) และด้านกิจกรรม (Activities) ตามลำดับ


2. กลุ่มตัวอย่างมีระดับความสนใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต อยู่ในระดับมาก (X=3.96, S.D.=0.58) เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ มีความสนใจท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต เนื่องจากต้องการได้ ความรู้สึกและประสบการณ์ที่ไม่กลับคืนมาแล้ว (X=4.22, S.D.=0.90) รองลงมา คือ มีความสนใจท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต เพื่อไปถ่ายภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีตที่มีความโดดเด่นสวยงาม (X=4.20, S.D.=1.11) มีความสนใจท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต เพื่อสร้างความสัมพันธ์ในครอบครัวหรือกลุ่มเพื่อน (X=3.87, S.D.=1.20) มีความสนใจ ท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต เพื่อหลีกหนีจากความวุ่นวายในปัจจุบันเป็นการชั่วคราว (X=3.82, S.D.=1.11) และมีความสนใจท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต เพื่อไปเรียนรู้กิจกรรมและวัฒนธรรมดั้งเดิม (X=3.67, S.D.=1.33) ตามลำดับ


3. ลักษณะทางประชากรศาสตร์ที่ส่งผลต่อความสนใจท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีตอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 มีเพียงด้านเดียว คือ ด้านอายุ


4. องค์ประกอบทางการท่องเที่ยวที่มีผลต่อความสนใจของนักท่องเที่ยวชาวไทยในการท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ .05 มี 2 องค์ประกอบ คือ ด้านแหล่งท่องเที่ยว (Attraction) และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก (Amenity)


สรุปผลการวิจัย : ลักษณะทางประชากรศาสตร์ด้านช่วงอายุที่ต่างกันส่งผลต่อความสนใจท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีตแตกต่างกัน ส่วนลักษณะทางประชากรศาสตร์ด้าน เพศ รายได้ และระดับการศึกษาที่ต่างกัน มีความสนใจในการท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีตไม่แตกต่างกัน สำหรับองค์ประกอบทางการท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต ด้านแหล่งท่องเที่ยว และด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ส่งผลต่อความสนใจของนักท่องเที่ยวไทยในการท่องเที่ยวเชิงโหยหาอดีต

Article Details

บท
บทความวิจัย (Original Article)

References

Bangkokbiznews. (2018). “BuppeSanNiWat Fever” because the Thai people longed for the past, just lacking the art of telling. (Online). Retrieved April 8, 2018, from: http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/796495.

BMA data center. (2015). Statistics of population and houses in Bangkok classified by Cases and districts 2015. (Online). Retrieved September 13, 2018, from http://203.155.220.230/bmainfo/esp/pop/pop_58.pdf.

Buhalis, D. (2000). Marketing the competitive destination of the future Marketing. Tourism Management, 21 (1), 97-116.

Creighton, M. (1997). Consuming Rural Japan: The marketing of tradition and nostalgia in the japanese travel industry. Ethnology, 36(3), 239-254.

Goossens, C. (2000). Tourism information and pleasure motivation, Annals of Tourism Research. 27(2), 301-321.

Davies. (2007). Nostalgia tourism’ uncovered as new trend. (Online). Retrieved April 1, 2019, from http://www.travelmole.com/news_feature.php?id=1124918.

Dumrongsri, S. (2011). Satisfaction of Thai tourist towards conservative at Sam Chuk 100 Years Market, Suphanburi province. Master’s Thesis, Recreation Management, Srinakharinwirot University. Bangkok.

Jittangwatana, B. (2006). Sustainable tourism development. Bangkok: TAT Academy.

Khemrat, C. (2014). Factors affecting decision marketing behavior towards tourists on man-made tourist attractions; a case study of Cha-am district, Petchaburi province and Hua-hin district, PrachuapKhiri khan province. Master’s Thesis, Stamford international University. Bangkok.

Kitiasa, P. (2003). Anthropology and the study of the past yearning phenomenon in contemporary Thai society. Bangkok:Anthropology Center.

Salinas, A., Buckley, R. and Morales, R. (2016). Economic Development and Nostalgic Tourism in Southern Mexico. Hatfield Graduate Journal of Public Affairs, 1(1), 1-15.

Middleton, V.T.C. (1994). Marketing in Travel and Tourism. (2nd Ed). Oxford: Heinemann Professional Publishing.

Ministry of Tourism and Sports. (2018). Statistics of domestic tourists in Thailand, 2018. (Online). Retrieved August 8, 2018, from https://www.mots.go.th/more_news.php?cid=502&filename=index.

Prakitnonthakran, C. (2014). Retro market in nostalgia tourism. TAT Tourism Journal 2, (2557): 20-25.

Praditrod, C. (2016). Components of Tourist Attractions and Tourism Motivation Affecting to Working People’s Decision Making to Travelling in Vicinity Areas. Master’s Thesis, Graduate School, Bangkok University. Bangkok.

Pumma, N. and Rodsup, N. (2013). Nostalgia in Thai tourism industry. Institute of Mekong Salaween Civilization Studies Journal, 3(Special issue), 47-60.

Robinson, P. (2015). Conceptualizing urban exploration as beyond tourism and as anti-tourism. Advances in Hospitality and Tourism Research, 3(2), 141-164.

Tanitnon, M. (2017). A study of motivations and satisfaction of Thai tourists visiting Baan Bang Khen. Master’s Thesis, Bangkok University. Bangkok.

Tourism Authority of Thailand. (2017). Amazing Thailand Tourism Year 2018. (Online). Retrieved August 8, 2018, from https://thai.tourismthailand.org.

Wongvanit, V. (2003). Tourism geography.(2nd Ed). Bangkok: Thammasat University.