การหาวิธีการขนส่งม้าแข่งที่เหมาะสมที่สุดระหว่างสวัสดิภาพของม้าแข่งและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง

Main Article Content

เสียงซอ เลิศรัตนชัย
เมธา จันดา
ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์
บทความเรื่องนี้ได้พัฒนาสมการทางคณิตศาสตร์ เพื่อหาวิธีการขนส่งม้าที่เหมาะสมที่สุดเพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างสวัสดิภาพของม้าแข่งและค่าใช้จ่ายในการขนส่ง

วิธีดำเนินการวิจัย
การศึกษาครั้งนี้มีสองการศึกษาย่อย โดยการศึกษาย่อยที่ 1 เป็นการศึกษาหาความเครียดของม้าแข่งระหว่างการขนส่งด้วยข้อมูลฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) และอัตราการเต้นของหัวใจ ในขณะที่การศึกษาย่อยที่ 2 เป็นการสร้างสมการคณิตศาสตร์ เพื่อหารูปแบบการขนส่งม้าแข่งที่เหมาะสมเพื่อสร้างสมดุลระหว่างสวัสดิภาพของม้าที่วัดจากความเครียดจากการแข่งขัน และค่าใช้จ่ายในการขนส่ง มีการเก็บข้อมูลจากม้าแข่งจำนวน 6 ตัว โดยม้าแข่งทั้ง 6 ตัว จะถูกทำการเคลื่อนย้ายไปด้วยรถขนส่งที่แตกต่างกัน ได้แก่ รถขนส่งแบบที่มีเครื่องปรับอากาศ หรือแบบที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศ แบบที่มีพื้นที่ระหว่างม้าแข่งหรือแบบที่ไม่มีพื้นที่ว่างระหว่างม้าแข่ง และแบบรถเทรลเลอร์แบบที่มีพื้นที่ว่างระหว่างม้าแข่ง หรือแบบที่ไม่มีพื้นที่ว่างระหว่างม้าแข่ง โดยที่ในการขนส่งนั้น ม้าแข่งจะอยู่บนรถขนส่งเป็นระยะเวลาประมาณ 5 ชั่วโมง หรือเป็นระยะทางประมาณ 250 กิโลเมตร ในการทำการขนส่งม้านั้นจะทำการขนส่งหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ จำนวน 3 สัปดาห์ ระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลและอัตราการเต้นของหัวใจจะมีการวัดก่อนและหลังจากการขนส่ง

ผลการวิจัย
รูปแบบการขนส่งม้าที่แตกต่างกันทำให้ม้าแข่งเกิดความเครียดที่แตกต่างกัน จากการที่มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลที่แตกต่างกัน หลังจากนั้นผู้วิจัยได้สร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์ในรูปแบบกำหนดการเชิงเส้น (Linear Programming) โดยมีฟังก์ชั่นวัตถุประสงค์ (Objective Function) เพื่อการหาค่าใช้จ่ายในการขนส่งที่ต่ำที่สุด และลดความเครียดของม้าแข่งผ่านการโมเดลความเครียดในรูปของต้นทุนค่าปรับ (Penalty Cost) ในขณะที่ตัวแปรตัดสินใจ (Decision Variables) คือ ชนิดของรถที่ใช้ในการขนส่ง และจำนวนของม้าแข่งที่ต้องการขนส่ง

สรุปผลการวิจัย
หลังจากที่ผู้วิจัยได้พัฒนาโมเดลการขนส่งแล้ว ผู้วิจัยได้นำโมเดลการขนส่งที่พัฒนาขึ้นไปสอบถามกับเจ้าของม้าแข่ง พบว่า โมเดลการขนส่งม้าที่พัฒนาขึ้นมีความง่ายต่อการใช้ง่ายและสามารถใช้งานได้จริง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Original Article)

References

Art, T., & Lekeux, P. (2005). Exercise-induced physiological adjustments to stressful conditions in sports horses. Livestock Production Science, 92(2), 101-111.

Friend, T. (2001). A review of recent research on the transportation of horses. Journal of Animal Science, 79(suppl_E), E32-E40.

Gupta A. & Lawsirirat, C. (2006). Strategically optimum maintenance of monitoring-enabled multi-component systems using continuous-time jump deterioration models. Journal of Quality in Maintenance Engineering, 12(3), 306-329.

Leadon, D., Waran, N., Herholz, C., & Klay, M. (2008). Veterinary management of horse transport. Veterinaria Italiana, 44(1), 149-163.

Stull, C., & Rodiek, A. (2000). Physiological responses of horses to 24 hours of transportation using a commercial van during summer conditions. Journal of Animal Science, 78(6), 1458-1466.

Waran, N., Leadon, D., & Friend, T. (2007). The effects of transportation on the welfare of horses. In The welfare of horses (pp. 125-150): Springer.

Wipper, A. (2000). The partnership: The Horse-rider relationship in eventing. Symbolic Interaction, 23(1), 47-70. https://doi.org/10.1525/si.2000.23.1.47