ความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ปาริฉัตร ทนันจา
สุจิตรา สุคนธทรัพย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงของผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานครและเพื่อเปรียบเทียบระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงจำแนกตามตัวแปรอายุและระดับการศึกษา 


วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานครทั้งประเภทบุคคลธรรมดาและนิติบุคคลที่มารับบริการตรวจสภาพรถที่สำนักงานขนส่ง กรุงเทพมหานครพื้นที่ 5 (เขตจตุจักร) จำนวน 468 คน โดยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental sampling) ที่มาใช้บริการช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2566 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงประกอบด้วย ข้อมูลส่วนบุคคลและแบบวัดความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูง และนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) จากนั้นทำการเปรียบเทียบแบบรายคู่โดยใช้วิธีแบบแอลเอสดี กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


ผลการวิจัย: พบว่า ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ส่วนใหญ่มีระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ 88.03 หากพิจารณาในแต่ละองค์ประกอบ พบว่า องค์ประกอบด้านการดูแลรักษาตนเอง ด้านการป้องกันโรคแทรกซ้อน และด้านการส่งเสริมสุขภาพ อยู่ในระดับต่ำทุกด้าน เมื่อเปรียบเทียบระดับความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงจำแนกตามกลุ่มอายุและระดับการศึกษาพบว่า ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ที่มีอายุแตกต่างกันมีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และผู้ขับขี่รถแท็กซี่ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษา มีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพต่ำที่สุด และมีความแตกต่างกับกลุ่มที่มีการศึกษาระดับอื่นๆที่สูงกว่า อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05


สรุปผลการวิจัย: ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ในกรุงเทพมหานครมีความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับต่ำและทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับต่ำ ผู้ขับขี่รถแท็กซี่ที่มีอายุแตกต่างกันมีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงไม่แตกต่างกันและผู้ขับขี่รถแท็กซี่ที่มีการศึกษาระดับประถมศึกษามีคะแนนความรอบรู้ด้านสุขภาพ ต่ำที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Original Article)

References

Borges, F. M., Silva, A., Lima, L. H. O., Almeida, P. C., Vieira, N. F. C., & Machado, A. L. G. (2019). Health literacy of adults with and without arterial hypertension. Revista Brasileira de Enfermagem, 72(3), 646-653.

Chinnasee, P., Sukonthasab, S., and Lawthong, N. (2020). Development of a health literacy hypertension test in Thailand. Journal of Health Research, 34(6), 475-483.

Chotchai, T., Seedaket, S., Taearak, K., Panyasong. S., & Buajun, A. (2020). Factors related to health literacy in prevention of hypertension among group at risk in Samran sub-district, Muaeng district, Khon Kaen province. The southern college network journal of nursing and public health, 7(1), 45-56.

Elshatarat, R. A., and Burgel, B. J. (2016). Cardiovascular risk factors of taxi drivers. Journal of Urban Health, 93(3), 589-606.

Inma, R., Jirapongsuwan, A., Tipayamongkholgul, M., and Kalampakorn, S. (2017). Factors related to hypertension among taxi drivers in Bangkok. Journal of public health nursing, 31(3), 39-54.

Lim, S. M., and Chia, S. E. (2015). The prevalence of fatigue and associated health and safety risk factors among taxi drivers in Singapore. Singapore Medical Journal, 56(2), 92-97.

Melnikov, S. (2019). Differences in knowledge of hypertension by age, gender, and blood pressure self-measurement among the Israeli adult population. Heart & Lung the journal of cardio pulmonary and acute care, 48(4), 339-346.

Mokekhaow, K., Maneerat, S., and Worasuk, N. (2019). Health status of taxi drivers in Bangkok. Udon thani rajabhat university journal of humanities and social science, 8(2), 77-92.

Singsalasang, A., Nguanjairak, R., Bumrungyat, C., Kaewpairee, S., and Phanak, A. (2022). Factors associated with health literacy among hypertensive patients in primary care unit, Muang Nakhon Ratchasima District, Nakhon Ratchasima Province. Journal of Safety and Health, 15(1), 58-73.

Sinto, N., Kamkaew, W., Chummalee, I., and Srisaknnok, T. (2022). Health literacy and health behaviors among risk group of hypertension disease, Mahasarakham province. Research and development health system journal, 15(3), 99-113.

Sorensen, K., van den Broucke, S., Fullam, J., Doyle, G., Pelikan, J., Slonska, Z., & Brand, H. (2012). Health literacy and public health: A systematic review and integration of definitions and models. BMC Public Health, 12(80), 1-13.

Sri-ngernyuang, L., and Klinsomchua, V. (2022). Life, health, and health service accessibility of urban vulnerable population: a study of aging Immigrant workers in Bangkok. Health systems research institute. https://kb.hsri.or.th/dspace/bitstream/handle/11228/5698/hs2846.pdf?sequence=1&isAllowed=y

Tanak, L., Koshakri, R., and Jewpattanakul, Y. (2020). Factors related to health literacy among high-risk hypertension population in Bangkok. Journal of The Royal Thai Army Nurses, 21(3), 140-150.

World Health Organization. (2021, August 25). Hypertension. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/hypertension