ผลของการฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการนวดทางกีฬาต่อการเคลื่อนย้ายกรดแลคติกและสมรรถภาพในการว่ายน้ำในนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย

Main Article Content

พีรภาส จั่นจำรัส
คนางค์ ศรีหิรัญ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์
เพื่อศึกษาผลของการฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการนวดทางกีฬาต่อการเคลื่อนย้ายกรดแลคติกและสมรรถภาพในการว่ายน้ำในนักกีฬาว่ายน้ำทีมชาติไทย

วิธีดำเนินการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างเป็นนักกีฬาว่ายน้ำตัวแทนทีมชาติไทย เพศชาย อายุระหว่าง 18 - 24 ปี จำนวน 15 คน เข้ารับการทดสอบการฟื้นตัว 3 รูปแบบ ได้แก่ การฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหว การฟื้นตัวด้วยการนวด และการฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการนวด การทดสอบแต่ละครั้ง เว้นระยะห่างกัน 1 สัปดาห์ ก่อนและหลังการฟื้นตัวแต่ละรูปแบบทำการบันทึกอัตราการเต้นของหัวใจ ความเข้มข้นของกรดแลคติกในเลือด อัตราเร็วของรอบแขนใน 1 นาที และเวลาที่ใช้ในการว่ายท่าฟรอนท์ครอล 100 เมตร นำผลที่ได้มาวิเคราะห์ทางสถิติ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired-simple t-test) เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยก่อนและหลังการทดสอบ วิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างและความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยของตัวแปรต่าง ๆ ระหว่างกลุ่มและภายในกลุ่ม โดยใช้การทดสอบเปรียบเทียบความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA measure) โดยวิธีของ Bonferroni กำหนดความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัย
การฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการนวดเป็นวิธีการฟื้นฟูที่ส่งผลดีต่อการเคลื่อนย้ายกรดแลคติกและสมรรถภาพในการว่ายน้ำ ได้ดีกว่าการฟื้นตัวแบบีกิจกรรมการเคลื่อนไหว และการฟื้นตัวด้วยการนวด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

สรุปผลการวิจัย
การฟื้นตัวแบบมีกิจกรรมการเคลื่อนไหวร่วมกับการนวดเป็นวิธีที่ช่วยฟื้นฟูสมรรถภาพของนักกีฬาว่ายน้ำภายหลังการออกกำลังกายหรือการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
บทความวิจัย (Original Article)

References

Duffield, R., Dawson, B., Goodman, C. (2005). Energy system contribution to 400-metre and 800-metre track running. Journal of Sports Sciences, 23(3), 299-307.

Gladden, L.B. (2000). Muscle as a consumer of lactate. Medicine and science in sports and exercise, 32(4), 764-771.

Goats, G., & Keir, K. (1991). Connective tissue massage. British Journal of Sports Medicine, 25(3), 131-133.

Greenwood, J.D., Moses, G.E., Bernardino, F.M., Gaesser, G.A., & Weltman, A. (2008). Intensity of exercise recovery, blood lactate disappearance, and subsequent swimming performance. Journal of Sports Sciences, 26(1), 29-34.

Larson, L.M., Smeltzer, R.M., Petrella, J.K., & Jung, A.P. (2013). The effect of active vs. supine recovery on heart rate, power out, and recovery time. International Journal of Exercise Science, 6(3), 180-87.

McGillicuddy, M. (2011). Massage for sport performance. Illinois: Human Kinetics

Neric, F.B., Beam, W.C., Brown, L.E., & Wiersma, L.D. (2009). Comparison of swim recovery and muscle stimulation on lactate removal after sprint swimming. The Journal of Strength & Conditioning Research, 23(9), 2560-2567.

Ostojic, S.M., Markovic, G., Calleja-Gonzalez, J., Jakovljevic, D.G., Vucetic, V., & Stojanovic, M.D. (2010). Ultra short-term heart rate recovery after maximal exercise in continuous versus intermittent endurance athletes. European journal of applied physiology, 108(5), 1055–1059.

Piakaew, N., Suwannate, C., & Awilai, N. (2023). The Acute Effects of Swedish and Ice Massages on Muscle Relaxation after Training in Futsal Athletes. Journal of Sports Science and Health. 24(3), 28-41.

Plowman, S.A., and Smith, D.L. (1997). Exercise physiology for health, fitness, and performance. Boston, MA: Allyn and Bacon.

Rasooli, S.A., Jahromi, M.K., Asadmanesh, A., & Salesi, M. (2012). Influence of massage, active and passive recovery on swimming performance and blood lactate. The Journal of sports medicine and physical fitness, 52(2), 122–127.

Suwannimit, P. and Yoomuang, K., Srijaroonputong, S., Wongwilatnurak, S. & Kitsuksan, T. (2018). Effects of active recovery on physical performance and heart rate in healthy male aged 18-25 years. Thammasat Medical Journal. 18(3). 330-338.

Toubekis, A.G., Tsolaki, A., Smilios, I., Douda, H.T., Kourtesis, T., & Tokmakidis, S.P. (2008). Swimming performance after passive and active recovery of various durations. International journal of sports physiology and performance, 3(3), 375-386.

Vaile, J., Halson, S., & Graham, S. (2010). Recovery review: science vs. practice. The Journal of Australian Strength and Conditioning (JASC), 18(Suppl 2), 5-21.

Weerapong, P., Hume, P.A., & Kolt, G.S. (2005). The mechanisms of massage and effects on performance, muscle recovery and injury prevention. Sports medicine, 35(3), 235-256.