การสร้างแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวสำหรับนักกีฬาบาสเกตบอลชาย 3x3 ระดับอุดมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว สำหรับนักกีฬาบาสเกตบอลชาย 3x3 ระดับอุดมศึกษา
วิธีดำเนินการวิจัย
ศึกษาและวิเคราะห์รูปแบบการแข่งขันกีฬาบาสเกตบอล 3x3 เพื่อทำการสร้างแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวที่เฉพาะเจาะจงกับกีฬาบาสเกตบอล 3x3 ประเภททีมชาย ระดับอุดมศึกษา จากนั้นนำมาหาความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (Content validity) โดยวิธีการหาดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item - Objective Congruence: IOC) ของ Rovinelli และ Hambleton จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 ท่าน จากนั้นหาค่าความเที่ยงตรงตามสภาพ (Concurrent validity) โดยการนำแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกับแบบทดสอบมาตรฐาน KU Agility test ทดสอบกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักกีฬาบาสเกตบอลชาย 3x3 จำนวน 32 คน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน จากนั้นหาค่าความเชื่อถือได้ (Reliability) ด้วยวิธีการทดสอบซ้ำ (test-retest) กับกลุ่มตัวอย่าง โดยทำการทดสอบห่างกัน 1 สัปดาห์ นําผลการทดสอบ ครั้งที่ 1 กับครั้งที่ 2 มาวิเคราะห์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และหาค่าความเป็นปรนัย (Objectivity) โดยวิธีการให้นิสิตพลศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จำนวน 2 คน ทำการทดสอบแบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไวที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 8 คน นำผลที่ได้มาวิเคราะห์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson-Product Moment Correlation Coefficent) แล้วนำค่าที่ได้มาเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานการประเมินสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของ Kirkendall ,Gruder และ Joohnson (1980)
ผลการวิจัย
แบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว สำหรับนักกีฬาบาสเกตบอลชาย 3x3 ระดับอุดมศึกษา มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผลการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ โดยแต่ละข้อมีค่าเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 0.74 – 1 ถือว่าแบบทดสอบที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นสามารถวัดได้ตามวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมจริง และแบบทดสอบมีความเที่ยงตรงตามสภาพโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.92 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีความเชื่อถือได้โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.86 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดี และมีความเป็นปรนัยโดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เท่ากับ 0.93 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ดีมาก
สรุปผลการวิจัย
แบบทดสอบความคล่องแคล่วว่องไว สำหรับนักกีฬาบาสเกตบอลชาย 3x3 ระดับอุดมศึกษา ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา มีความเที่ยงตรงตามสภาพ มีความเชื่อถือได้ และมีความเป็นปรนัย สามารถนำไปใช้วัดและประเมินผลความคล่องแคล่วว่องไวสำหรับนักกีฬาบาสเกตบอลชาย 3x3 ได้
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Boonchai, K. (2012). Measurement for Physical Education Assessment. Bangkok: Department of Physical Education, Faculty of Education, Kasetsart University.
Buchheit, M. (2008). The 30-15 intermittent fitness test: accuracy for individualizing interval training of young intermittent sport players. Journal of strength and conditioning research, 22(2), 365-374.
Busadee, W. (2019). Effects of stability of load and surface training on legs muscular power balance and agility in male football players. Master’s Thesis, Faculty of Sports Science, Chulalongkorn University. Bangkok
Conte, D., Straigis, E., Clemente, F. M., Gómez, M. Á., and Tessitore, A. (2019). Performance profile and game-related statistics of FIBA 3x3 Basketball World Cup 2017. Biology of sport, 36(2), 149-154.
Khajornsilp, B. (1990). Research Statistics II. Bangkok: Kasetsart University.
Kirkendall, D. R., Gruder, J. J., and Joohnson, R. E. (1980). Measurement and Evaluation in physical Education. WM.C. Brown: Iowa.
Nae, I. C. (2014). 3 on 3 Basketball–Facts And Perspective. Marathon, 6(2), 179-183.
Ontong, Y. (2016). A Construction of Agility Test for Woman Basketball Players of Kasetsart University. Master’s Thesis, Faculty of Education, Kasetsart University. Bangkok.
Sheppard, J. M., and Young, W. B. (2006). Agility literature review: classifications, training and testing. Journal of sports sciences, 24(9), 919-932.
Sports Authority of Thailand. (2018). Basketball 3x3. Bangkok: Sports Authority of Thailand.
Srisaat, B. (2011). Preliminary research. Bangkok: Suwiriyasan.
Wandee, N. (2023). Effects of Complex Training on Movement Performance in Thai Women’s National Basketball Team 3x3. Journal of health, physical education and recreation. 49(3), 232-242.