ผลของโปรแกรมความปลอดภัยในการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ครัวเรือน บ้านบก อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • ชัยกฤต ยกพลชนชัย คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • ญาณิฐา แพงประโคน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
  • จารุพร ดวงศรี คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

คำสำคัญ:

การป้องกันการเกิดเพลิงไหม้, เพลิงไหม้ในครัวเรือน, โปรแกรมความปลอดภัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-Experimental Research) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมความปลอดภัยในการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ครัวเรือน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีสุ่มอย่างง่าย (Sample Random Sampling) ตามความสมัครใจทั้งชายและหญิงจำนวนทั้งสิ้น 50 คน โดยให้โปรแกรมความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง 8 กิจกรรมเป็นเวลา 14 สัปดาห์ วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การรับรู้แรงจูงใจในการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ก่อนให้โปรแกรมความปลอดภัยมีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( =2.32± S.D.=0.65) หลังการให้โปรแกรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก ( =2.80± S.D.=0.41) แรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ก่อนให้โปรแกรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยความปลอดภัยอยู่ในระดับมาก( =2.38± S.D.=0.84) หลังการให้โปรแกรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับมาก ( =2.76± S.D.=0.44) พฤติกรรมในการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ ก่อนให้โปรแกรมความปลอดภัยมีค่าคะแนนเฉลี่ย อยู่ในระดับมาก ( =2.49± S.D.=0.63) หลังการให้โปรแกรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงขึ้นอยู่ในระดับมาก ( =2.86± S.D.=0.35) ภายหลังการให้โปรแกรมความปลอดภัยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.001) เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการให้โปรแกรมความปลอดภัย ทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การรับรู้แรงจูงใจในการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ แรงสนับสนุนทางสังคมในการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้และพฤติกรรมในการป้องกันการเกิดเพลิงไหม้ แสดงถึงการให้โปรแกรมความปลอดภัยผ่านการรับรู้ข้อมูลข่าวสารด้านความปลอดภัยร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมที่เป็นระบบจะช่วยส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมความปลอดภัยในชุมชนทิศทางที่ดีขึ้น

References

Jitpirom K. (2014). Basic knowledge of fire. Advanced Science Journal I Science and Technology. Bansomdejchaopraya Rajabhat University; Vol.14:1-17. (In thai)

Department of Disaster Prevention and Mitigation.Fire safety for all. Ministry of Interior. (2021).Bangkok. Retrieved 4, 2021.http://measures.disaster.go.th/in. criteria-1.189/. (In thai)

Malavej W. (2559). Study and Analysis for Fire Protection System from Short Circuit in Building Case Study: Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. Retrieved 3,2021. http://dspace.nstru.ac.th:8080/dspace/bitstream/123456789/2200/3/Fulltext. (in thai)

Ratchatasophon S. (2019). A Study of Knowledge Management of Fire Prevention and Extinguishing within the Community: Case Study of Railway Community behind Decha Hospital, Ratchathewi District in Bangkok. Retrieved 5,2021. http://www.shawpat.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id=249:15- &catid=51:-m---m-s& Itemid=202. (In thai)

LertlakAnya S. (2016). Fire Protection System and Fire Safety Management. Eastern Asia Journal, Vol.6(3),351-358. (in thai)

Disaster Prevention and Mitigation Office Ubon Ratchatani Province. (2022). Department of Disaster Prevention and Mitigation Ministry of Interior. Retrieved 4,2021. https://www.disaster.go.th/th/news/perimeter_fence/94. (In thai)

Karemaker M. (2021). Elderly about home fire safety: A qualitative study into home fire safety knowledge and behavior. Fire Safety Journal, Vol.124;1-6.

Guevara Arcea S. and Jeanneret C. (2021). Human behaviour in informal settlement fires in Costa Rica,

Safety Science, Vol.142;1-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-26 — Updated on 2022-04-06

Versions