https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjph/issue/feed วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2023-11-09T15:10:30+07:00 ผศ.ดร.ภก.พยงค์ เทพอักษร tjph-editor@scphtrang.ac.th Open Journal Systems <p>วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ(Thai Journal of Public Health and Health Sciences; TJPHS) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและผลงานวิจัยทางด้านสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ขอบเขตของวารสารครอบคลุมในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ นโยบายสุภาพและการจัดการการดูแลสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ สุขศึกษา พฤติกรรมสุขภาพ อาชีวอนามัย อนามัยสิ่งแวดล้อม พิษวิทยา สาธารณสุขชุมชน ทันตสาธารณสุข เภสัชสาธารณสุข การพยาบาล และสาขาสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์การแพทย์ สนับสนุนโดย คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข</p> https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjph/article/view/265611 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชนพื้นที่สูงและห่างไกล จังหวัดเชียงใหม่ 2023-10-04T12:03:15+07:00 ถาวร ล่อกา prapatsorn_tha@g.cmru.ac.th ประภัสสร ธรรมเมธา prapatsorn_tha@g.cmru.ac.th สายหยุด มูลเพ็ชร์ prapatsorn_tha@g.cmru.ac.th ศุภิสรา ดิหน่อโพ prapatsorn_tha@g.cmru.ac.th ปริศนา นวลบุญเรือง prapatsorn_tha@g.cmru.ac.th ประวีดา คำแดง prapatsorn_tha@g.cmru.ac.th พีรพรรณ อภิวงค์วาร prapatsorn_tha@g.cmru.ac.th <p>ความเครียดส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตและการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุในกลุ่มด้อยโอกาส การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินระดับความเครียดของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงและห่างไกลในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความเครียดของผู้สูงอายุ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุจำนวน 174 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการใช้แบบประเมินความเครียด (ST-5) และแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ</p> <p> ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 71.20 (60 -100 ปี) ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงและห่างไกลมีความเครียดระดับปานกลาง มาก และมากที่สุด ร้อยละ 33.33, 37.36 และ 29.31 ตามลำดับ ภาวะความเครียดของผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงและห่างไกลมีความสัมพันธ์เชิงเส้นพหุกับปัจจัยด้านเพศ อายุ รายได้ การใช้สมาร์ทโฟน และการเข้าร่วมกิจกรรมผู้สูงอายุ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ปัจจัยด้านเพศ อายุ รายได้ การใช้สมาร์ทโฟน และการเข้าร่วมกิจกรรมผู้สูงอายุ สามารถร่วมกันทำนายภาวะความเครียดในผู้สูงอายุชาติพันธุ์ได้ร้อยละ 17 (<em>p</em> &lt; .001) อัตราการประสบความเครียดที่สูงในผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สูงและห่างไกลบ่งชี้ถึงความจำเป็นในการศึกษาวิจัยเชิงลึกเพื่อวางแผนการจัดบริการสุขภาพและสังคมที่เหมาะสมต่อไป</p> 2023-11-09T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2023 วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ