วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjph <p>วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ(Thai Journal of Public Health and Health Sciences; TJPHS) มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ทางวิชาการและผลงานวิจัยทางด้านสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ ขอบเขตของวารสารครอบคลุมในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ นโยบายสุภาพและการจัดการการดูแลสุขภาพ การส่งเสริมสุขภาพ สุขศึกษา พฤติกรรมสุขภาพ อาชีวอนามัย อนามัยสิ่งแวดล้อม พิษวิทยา สาธารณสุขชุมชน ทันตสาธารณสุข เภสัชสาธารณสุข การพยาบาล และสาขาสุขภาพอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์การแพทย์ สนับสนุนโดย คณะสาธารณสุขศาสตร์และสหเวชศาสตร์ สถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข</p> th-TH <p>บทความทุกบทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารสาธารณสุข</p> tjph-editor@scphtrang.ac.th (ผศ.ดร.ภก.พยงค์ เทพอักษร) wiphawan@scphtrang.ac.th (นางสาววิภาวรรณ แก้วลาย) Fri, 25 Oct 2024 00:00:00 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารต่อพฤติกรรมของผู้สัมผัสอาหารในร้านอาหาร อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjph/article/view/270459 <p> </p> <p>การเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิต ช่วยส่งเสริมสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี ซึ่งผู้สัมผัสอาหารมีบทบาทสำคัญต่อความปลอดภัยของอาหารและสุขาภิบาลอาหารที่เหมาะสมในร้านอาหาร โดยการศึกษานี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Design) ชนิดสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง (Two Group Pretest - Posttest Design) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารต่อพฤติกรรมของผู้สัมผัสอาหารในร้านอาหาร อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สัมผัสอาหาร 78 คน คัดเลือกด้วยการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 39 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร ระยะเวลา 5 สัปดาห์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานตามปกติ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความรอบรู้และพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหาร วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Repeated-Measures ANOVA และ Independent Samples t-test กำหนดระดับนัยสำคัญที่ 0.05</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ก่อนได้รับโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้ กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้และพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหารไม่แตกต่างกัน (<em>p</em>-value ≥0.05) ภายหลังการได้รับโปรแกรม 1 สัปดาห์ กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความรอบรู้และพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหารสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (<em>p</em>-value &lt;0.001) ความรอบรู้และพฤติกรรมของกลุ่มทดลองหลังการได้รับโปรแกรมทันทีและหลังได้รับโปรแกรม 1 สัปดาห์ สูงกว่าก่อนการได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (<em>p</em>-value &lt;0.001) แสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการพัฒนาความรอบรู้สามารถพัฒนาความรอบรู้และพฤติกรรมด้านสุขาภิบาลอาหารของผู้สัมผัสอาหารในอำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานีได้</p> กรรณิการ์ ลดาสุวรรณ, สุมัทนา กลางคาร , กษมา วงษ์ประชุม Copyright (c) 2024 วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjph/article/view/270459 Thu, 10 Oct 2024 00:00:00 +0700