@article{อารีรักษ์_น้อยอาษา_นามวงศ์_จรรยา_2021, place={Ubon Ratchathani, Thailand}, title={ความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการลาออกหรือเปลี่ยนงานของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดยโสธร}, volume={1}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/250880}, abstractNote={<p>งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนงานของบุคลากรสาธารณสุข จังหวัดยโสธร เป็นการศึกษาแบบภาคตัดขวางเชิงวิเคราะห์ (Cross-sectional analytical study) โดยใช้ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) กลุ่มตัวอย่างคือบุคลากรสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในจังหวัดยโสธร ซึ่งเป็นข้อมูลที่ได้จากการประเมินความสุข (Happinometer) ด้วยตนเอง ของกระทรวงสาธารณสุข ในปี 2561 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและ วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนงาน ด้วย Multiple logistic regression</p> <p>ผลการศึกษา  พบว่ากลุ่มตัวอย่าง  2,534 คน  ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 74.03 เป็นข้าราชการ ร้อยละ 54.70 กลุ่มตัวอย่างมีอายุเฉลี่ย 39.60  ปี (SD± 10.30 ) ความชุกในการเปลี่ยนงาน ร้อยละ 38.83 (95%CI  36.9 to 40.7 ) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนงานคือ 1) รายได้ และ 2) การศึกษา กล่าวคือ คนที่มีรายได้ 20,000 – 40,000 บาท (ORadj 0.71 95% CI 0.56 to 0.91) มีโอกาสในการเปลี่ยนงานน้อยกว่าส่วนคนที่รายได้ 40,000 บาทขึ้นไป มีโอกาสในการเปลี่ยนงานมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่มีรายได้ ต่ำกว่า 20,000 บาท (ORadj  1.25 95% CI 1.01 to 1.56) ปัจจัยด้านการศึกษาพบว่าคนจบการศึกษา ปวช./ปวส./อนุปริญญา (ORadj  0.31 95% CI 0.21 to 0.46), จบปริญญาตรี (ORadj 0.57 95% CI 0.40 to 0.83) และ จบสูงกว่าปริญญาตรี (ORadj 0.63 95% CI 0.48 to 0.82) มีโอกาสในการเปลี่ยนงานน้อยกว่าคนที่จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6</p>}, number={2}, journal={วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา}, author={อารีรักษ์ นริศรา and น้อยอาษา รักชนก and นามวงศ์ ถนอม and จรรยา ณัฐทฌาย์}, year={2021}, month={ก.ค.}, pages={47–57} }