https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/issue/feed วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา 2024-03-15T18:31:58+07:00 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภคิน ไชยช่วย (Asst. Prof. Dr. Pakin Chaichuay tjphe_editor@scphub.ac.th Open Journal Systems <p><strong>วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา</strong><strong><br />ISSN 2985-251X (Online)</strong></p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong><strong> <br /></strong>วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษาเป็นวารสารรับตีพิมพ์บทความวิจัยและบทความทางวิชาการ</p> <ul> <li>ด้านการสาธารณสุข (Public Health)</li> <li>วิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences)</li> <li>ด้านพฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior)</li> <li>ด้านสุขภาพศึกษา (Health Education)</li> <li>ด้านทันตสาธารณสุข (Dental Public Health)</li> <li>ด้านการพยาบาล (Nursing)</li> </ul> <p><strong> ประเภทของบทความ</strong> </p> <ul> <li>บทความวิจัย (Research Article)</li> <li>บทความวิชาการ (Academic Article)</li> </ul> <p><strong> ภาษาที่รับตีพิมพ์</strong></p> <ul> <li>ภาษาไทย (Thai)</li> <li>ภาษาอังกฤษ (English)</li> </ul> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่ ปีละ </strong><strong>3 ฉบับ</strong></p> <ul> <li>ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน (January-April)</li> <li>ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (May-August)</li> <li>ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม (September-December)</li> </ul> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ</strong> </p> <ul> <li>บทความวิจัย ทุกบทความผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน <strong>(Double-Blind Review) </strong>ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน</li> <li>บทความวิชาการ ทุกบทความผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน <strong>(Double-Blind Review) </strong>ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน</li> </ul> <p><strong>ค่าธรรมเนียมบทความ</strong></p> <p>ค่าธรรมเนียมเพื่อประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ <strong>จำนวน</strong><strong> 3,500 บาท</strong> <strong>ต่อ</strong><strong> 1 บทความ</strong> <em>(กองบรรณาธิการจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมเพื่อประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในกรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิปฎิเสธการตีพิมพ์ หรือกรณีที่ผู้เขียนบทความขอยกเลิกบทความ หลังจากบทความเข้าสู่กระบวนการ Review ส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแล้ว)</em></p> <p><strong>ขั้นตอนการชำระค่าธรรมเนียมบทความ</strong></p> <p>1.หลังจากบทความผ่านการพิจารณาปรับแก้เบื้องต้นตามรูปแบบที่วารสารกำหนด (Pre-Review)</p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. กองบรรณาธิการแจ้งให้ชำระค่าธรรมเนียมบทความโอนเงิน</span><strong style="font-size: 0.875rem;">จำนวน </strong><strong style="font-size: 0.875rem;">3,500 บาท</strong> <strong style="font-size: 0.875rem;">ต่อ</strong><strong style="font-size: 0.875rem;"> 1 บทความ</strong> <strong style="font-size: 0.875rem;">ชื่อบัญชี</strong> <strong style="font-size: 0.875rem;">วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษาร่วมกับชมรมศิษย์เก่า หมายเลขบัญชี</strong> <strong style="font-size: 0.875rem;">ธนาคารกรุงไทย</strong><strong style="font-size: 0.875rem;"> 662-5-42917-1</strong></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. เมื่อโอนเงินเรียบร้อยแล้ว ส่งหลักฐานการโอนเงินเข้าระบบของวารสารมายังช่องทาง Review Discussions หากผู้เขียนบทความต้องการใบเสร็จรับเงินฉบับจริง ขอให้แจ้งที่อยู่เพื่อจัดส่งใบเสร็จรับเงินฉบับจริง</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4. กองบรรณาธิการส่งใบเสร็จรับเงินออนไลน์ให้ทางระบบของวารสาร และส่งใบเสร็จรับเงินฉบับจริง ตามที่อยู่ที่ได้รับแจ้งในระบบของวารสาร</span></p> <p><strong>ขั้นตอนการประเมินบทความ</strong></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. กองบรรณาธิการกลั่นกรองบทความหลังจากที่บทความส่งเข้ามายังระบบของวารสาร</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. แจ้งผู้เขียนบทความให้ปรับแก้เบื้องต้น (Pre Review) ตามรูปแบบที่วารสารกำหนด </span><span style="font-size: 0.875rem;"> </span><span style="font-size: 0.875rem;"> </span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.1 กรณีปรับแก้บทความเบื้องต้นแล้ว แจ้งให้จ่ายค่าธรรมเนียมบทความ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.2 กรณีปรับแก้บทความเบื้องต้นไม่สมบูรณ์ แจ้งให้ผู้เนิพนธ์ปรับแก้อีกครั้ง</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.3 กรณีผู้นิพนธ์ไม่ปรับแก้ ปฏิเสธการตีพิมพ์ </span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. หลังจากที่ผู้นิพนธ์ชำระค่าธรรมเนียมบทความแล้ว นำบทความเข้าสู่กระบวนการประเมินบทความ (Review)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4. บทความที่ผ่านการประเมิน มีการปรับแก้ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือจนกว่าบทความจะสมบูรณ์ จึงเข้าสู่กระบวนการเผยแพร่ตีพิมพ์ </span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4.1 กรณีที่ปรับแก้บทความไม่สมบูรณ์ แจ้งผู้นิพนธ์ปรับแก้อีกครั้ง</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4.2 กรณีที่ไม่ปรับแก้บทความ ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ ปฏิเสธการตีพิมพ์</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">5. วารสารออกหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ หลังจากที่ผู้นิพนธ์ปรับแก้ไขบทความตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง</span></p> <p><a href="https://drive.google.com/file/d/1_GmAROdJbJVs3hkWje5W1JJb29oaNu_M/view?usp=sharing" target="_blank" rel="noopener"><span style="font-size: 0.875rem;">ขั้นตอนการพิจารณาและประเมินบทความ</span></a></p> https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/265386 การศึกษาประสิทธิผลของยาพอกดูดพิษรูปแบบ ดี-เฟส ที่มีต่อผู้ป่วยโรคลมจับโปงเข่า ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี 2023-10-02T13:10:10+07:00 กันตา นิ่มทัศนศิริ kantanim@mcru.ac.th อารียา บัวบุญเลิศ Areeya_waemama0108@gmail.com <p>การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาพอกดูดพิษรูปแบบดี-เฟส ที่มีต่อการบรรเทาความปวดของผู้ป่วยโรคลมจับโปงเข่าที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคลองตาคต อำเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคลมจับโปงเข่าจำนวน 30 คน จัดหน่วยตัวอย่างเข้ากลุ่มแบบสุ่ม จำนวน 3 กลุ่ม เป็นกลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม และกลุ่มทดลอง 2 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบประเมินระดับความปวดแบบภาพใบหน้า มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .86 แบบประเมินโรคข้อเสื่อมของมหาวิทยาลัยออนตาริโอตะวันตกและมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ (WOMAC) ฉบับภาษาไทย ประกอบด้วย 3 หมวดอาการของข้อเข่า ได้แก่ หมวดความปวด หมวดความฝืดแข็ง และหมวดการทำงานของร่างกาย มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบครอนบาคเท่ากับ .97 และยาพอกดูดพิษรูปแบบดี-เฟสที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น จำนวน 2 สูตร ดำเนินการวิจัยโดยกลุ่มตัวอย่างเข้ารับการรักษาเป็นเวลา 2 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 ครั้ง รวม 6 ครั้ง เก็บรวบรวมข้อมูลก่อนและหลังการรักษา วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ เปรียบเทียบความแตกต่างของผลการรักษาภายในกลุ่ม ด้วยสถิติ Paired samples t-test และเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มด้วยสถิติ One-way ANOVA with post-hoc analysis (Bonferroni) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าค่าเฉลี่ยจากการประเมินด้วยแบบประเมินระดับความปวดแบบภาพใบหน้าเท่ากับ 1.68 และค่าเฉลี่ยจากการประเมินด้วยแบบประเมิน WOMAC เท่ากับ 3.35 ความปวดของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมจากการประเมินด้วยแบบประเมินทั้ง 2 ชุด อยู่ในระดับปวดเล็กน้อย ผลการเปรียบเทียบประสิทธิผลของยาพอกดูดพิษรูปแบบดี-เฟส พบว่ากลุ่มตัวอย่างทั้ง 3 กลุ่ม มีระดับความปวดแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มควบคุมเป็นกลุ่มที่มีค่าเฉลี่ยระดับความปวดจากการประเมินด้วยแบบประเมิน FPS และ WOMAC ทั้งก่อนและหลังการทดลอง น้อยที่สุด รองลงมาคือกลุ่มทดลองที่ 1 และกลุ่มทดลองที่ 2 อาจสรุปได้ว่าประสิทธิภาพของยาพอกดูดพิษรูปแบบดี-เฟส ในการลดหรือบรรเทาระดับความปวดของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมไม่เป็นไปตามสมมติฐานการวิจัยในครั้งนี้</p> 2024-01-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/264716 ประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุ ตำบลนาโป่ง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง 2023-08-28T20:40:49+07:00 อรพรรณ นันตาดี oraphan232@gmail.com ยงยุทธ แก้วเต็ม thun716@gmail.com <p> </p> <p>งานวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม ของผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุตำบลนาโป่ง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุในตำบลนาโป่ง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง คัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะหกล้มและมีภาวะเสี่ยงต่อการหกล้มจำนวน 44 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วยโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้ม และเครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินความรู้ พฤติกรรม และแบบประเมินความเสี่ยงต่อการหกล้ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มที่ไม่เป็นอิสระต่อกันด้วยสถิติ Paired sample t-test</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 60-70 ปี ร้อยละ 84.09 มีประวัติการหกล้ม ร้อยละ 43.20 โดยในรอบ 6 เดือนที่อยู่ในช่วงการประเมินเคยมีประวัติหกล้ม 2 ครั้ง ขึ้นไป ร้อยละ 34.10 ส่วนใหญ่หกล้มภายนอกบ้านเวลากลางวัน ร้อยละ 27.30 มีสาเหตุเพราะมีสิ่งของกีดขวางทางเดิน ร้อยละ 20.50 ภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการพลัดตกหกล้ม พบว่าความรู้และพฤติกรรมของผู้สูงอายุในรายข้อเพิ่มสูงขึ้น โดยด้านความรู้ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีปัญหาในด้านการมองเห็น ด้านการทรงตัว หรือการอยู่ในบริเวณที่ที่มีแสงสว่างไม่เพียงพอมีความเสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่าย ส่วนด้านพฤติกรรม ได้แก่ การออกกำลังกายเบาๆ เพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การเก็บอุปกรณ์ภายในบ้านอย่างเป็นระเบียบ และการระมัดตัวเมื่อต้องเดินภายในบ้านที่มีทางต่างระดับหรือที่มีความสว่างน้อยเมื่อเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรม และความเสี่ยงในการป้องกันการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ พบว่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ พฤติกรรม และความเสี่ยงต่อการหกล้มหลังเข้ารับโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มดีกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt; .001) ดังนั้นควรนำโปรแกรมการป้องกันการพลัดตกหกล้มไปใช้ในการส่งเสริมและดูแลผู้สูงอายุในโรงเรียนผู้สูงอายุและพื้นที่ใกล้เคียงต่อไป</p> 2024-02-21T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/266371 ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารแบบอาหารพร่องแป้ง และอดอาหารบางช่วงเวลาในเด็กนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่มีภาวะโภชนาการเกิน โรงเรียนมัธยมในเขตอำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก 2023-12-04T20:06:16+07:00 ปราโมทย์ เย็นบุญธรรม moteyen@gmail.com ฉลองรัฐ ทองกันทา chalongrat.t@scphpl.ac.th <p>การวิจัยเชิงพรรณนามีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ ทัศนคติ พฤติกรรมการบริโภคอาหารแบบอาหารพร่องแป้งและอดอาหารบางช่วงเวลา 2) เปรียบเทียบความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกิน ตามตัวแปรคุณลักษณะส่วนบุคคล ประชากรคือนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีภาวะโภชนาการเกิน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 134 คน เครื่องมือคือแบบแบบสอบถามลักษณะส่วนบุคคล ประเมินความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการบริโภคอาหารแบบอาหารพร่องแป้งและอดอาหารบางช่วงเวลา เก็บข้อมูลระหว่างเดือนมิถุนายน-กันยายน 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ t-test และ One-way ANOVAผลการวิจัยพบว่ากลุ่มเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 56.70 ช่วงอายุ 17-18 ปี ร้อยละ 60.00 ความรู้เกี่ยวกับการบริโภคอาหารระดับดี (X=0.61, S.D.=0.41) ทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง (X =2.89, S.D.=0.41) พฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับต้องปรับปรุงแก้ไข (X=1.61, S.D.=0.45) และผลการวิเคราะห์ลักษณะส่วนบุคคลน้ำหนักตัวเปรียบเทียบกับพฤติกรรมการบริโภคแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ <em>p</em>=0.049 ข้อเสนอแนะควรแก้ไขทัศนคติและพฤติกรรมของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน</p> 2024-03-04T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/266691 การจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี 2023-12-20T14:48:00+07:00 ไฉไล ช่างดำ chailai_ubon@hotmail.co.th บุญเกิด เชื้อธรรม kerd007@gmail.com <p>การวิจัยประเมินผลมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินการจัดการสิ่งปฏิกูล 2) ศึกษาบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ ผลผลิต และ 3) ประเมินความพึงพอใจการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี ประยุกต์ใช้ CIPP Model กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น บุคลากรสาธารณสุขระดับจังหวัดและระดับอำเภอ ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้ประกอบกิจการรถสูบสิ่งปฏิกูล เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวนทั้งสิ้น 45 คน เก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม และแบบประเมินความพึงพอใจ เก็บข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา</p> <p>ผลการวิจัยพบว่าการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานี 1) การกำหนดเป็นนโยบายของเขตสุขภาพและจังหวัด 2) การขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านคณะกรรมการสาธารณสุขจังหวัด 3) การสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน 4) การกำกับติดตามของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ด้านบริบท ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องการจัดการสิ่งปฏิกูล ร้อยละ 97.07 มีผู้รับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 64.49 ด้านปัจจัยนำเข้า ทุกจังหวัดมีนโยบายการจัดการสิ่งปฏิกูลอำเภอละ 1 แห่ง และมีคณะกรรมการขับเคลื่อนระดับจังหวัด ด้านกระบวนการ มีการประชุมคณะกรรมการระดับจังหวัดสร้างความเข้าใจให้กับผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชน มีความพึงพอใจระดับมากที่สุดในเรื่องหลักการระบบบำบัดสิ่งปฏิกูลแบบบ่อทรายกรอง ( =4.55, S.D.=.596) มีความพึงพอใจระดับมากในเรื่องการมีแหล่งเรียนรู้ในพื้นที่ ( =4.41, S.D.=.590) ด้านผลผลิตมีการจัดการสิ่งปฏิกูล 52 แห่ง ร้อยละ 7.90 ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นเรื่องการจัดการสิ่งปฏิกูล ร้อยละ 99.24 มีพื้นที่ต้นแบบ 5 แห่ง แสดงให้เห็นว่าการจัดการสิ่งปฏิกูลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตสุขภาพที่ 10 อุบลราชธานีทำให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สามารถจัดการสิ่งปฏิกูลได้</p> 2024-03-10T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/266993 ผลของการใช้รูปแบบการให้คำปรึกษาและติดตามดูแลผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนหลังผ่าตัด ผ่านระบบการพยาบาลทางไกล โรงพยาบาลลำพูน 2024-01-05T15:48:57+07:00 ใจรัก จำรูญรัตน์ nakaplugpor@gmail.com <p>การวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการปฏิบัติดูแลตนเองของผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนก่อนและหลังใช้รูปแบบ และประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อรูปแบบการให้คำปรึกษาและติดตามดูแลผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนหลังผ่าตัดผ่านระบบการพยาบาลทางไกล โรงพยาบาลลำพูน กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยที่เข้ารับบริการผ่าตัดโรคไส้เลื่อน โรงพยาบาลลำพูน ในช่วงระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย คือ รูปแบบการให้คำปรึกษาและติดตามดูแลผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนหลังผ่าตัด ผ่านระบบการพยาบาลทางไกลโดยใช้<em>ไลน์แอพลิเคชั่น</em> ชื่อบัญชี “ศัลยกรรม รพ. ลำพูน” เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติดูแลตนเอง และแบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเท่ากับ 0.72, 0.85 และ 0.89 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าสถิติ Paired samples t-test ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนมีความสามารถในการปฏิบัติดูแลตนเองก่อนและหลังการใช้รูปแบบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t=-22.638, <em>p</em>=.000) มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการให้คำปรึกษาและติดตามดูแลผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนหลังผ่าตัดผ่านระบบการพยาบาลทางไกล อยู่ในระดับมากที่สุด ( X=4.33, S.D.=0.43) ดังนั้นรูปแบบการให้คำปรึกษาและติดตามดูแลผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนหลังผ่าตัด ผ่านระบบการพยาบาลทางไกลที่พัฒนาขึ้นนี้ ช่วยเพิ่มความสามารถของผู้ป่วยผ่าตัดไส้เลื่อนในการดูแลตนองได้ที่บ้านเป็นอย่างดี และสร้างความพึงพอใจต่อการได้รับบริการให้คำปรึกษาและติดตามดูแลผู้ป่วยโรคไส้เลื่อนหลังผ่าตัดผ่านระบบการพยาบาลทางไกล</p> 2024-03-24T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/266799 ประสิทธิผลของการสักยาน้ำมันต่อระดับความปวดและองศาการเคลื่อนไหว ของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง 2023-12-24T15:43:22+07:00 พิชญา นาไชย Pitchaya.na88@gmail.com ธัญญะ พรหมศร thanya.pr@ssru.ac.th <p>การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองศึกษาแบบกลุ่มเดียววัดซ้ำก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการสักยาน้ำมันต่อการบรรเทาอาการปวดหลังส่วนล่างและการเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน โดยกลุ่มตัวอย่างมีเกณฑ์คัดเข้าคืออายุระหว่าง 25-60 ปี มีอาการปวดหลังส่วนล่าง เข้ารับการรักษาที่คลินิกการแพทย์แผนไทยประยุกต์ วิทยาลัยการแพทย์แผนไทยอภัยภูเบศร จังหวัดปราจีนบุรี และได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนไทยประยุกต์ว่าเป็นโรคลมปลายปัตคาตสัญญาณ กลุ่มตัวอย่างได้รับการสักยาน้ำมันหนึ่งครั้งต่อสัปดาห์ ทั้งหมด 4 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบประเมินระดับความปวด แบบบันทึกองศาการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ผลการวิจัยพบว่า การสักยาน้ำมันในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง สามารถลดระดับความปวด และเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างได้อย่างมีนัยสำคัญ (<em>p</em>&lt;0.05) เมื่อเปรียบเทียบก่อนรักษากับหลังการรักษา โดย ระดับความปวดก่อนการรักษาเฉลี่ย 5.53 ระดับความปวดหลังการรักษาเฉลี่ย 0.87 องศาการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ในท่า Trunk flexion ก่อนการรักษาเฉลี่ยคือ 265.13 องศา องศาการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่าง ในท่า Trunk flexion หลังการรักษาเฉลี่ย 284.80 องศา การสักยาน้ำมันในผู้ที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง สามารถบรรเทาอาการปวด และเพิ่มองศาการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างได้ ทั้งยังไม่พบผลข้างเคียงจากการรักษา งานวิจัยนี้เป็นการนำภูมิปัญญาพื้นบ้านมาเป็นทางเลือกในการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังส่วนล่าง และเป็นกรณีศึกษาสำหรับการวิจัยพัฒนาต่อไป</p> 2024-03-31T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/267211 ผลของการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับการติดตามการใช้ยาทางไกลในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น 2024-02-16T09:58:52+07:00 พัทร์วรินท์ ศรลัมพ์ Supaporn.sor@gmail.com ณัฐธิดา เวทนาสุข natthida.vetthanasuk@gmail.com รณกฤต ทีทา suttisakbank12345@gmail.com <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์ศึกษาผลของการทำบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับการติดตามการใช้ยาทางไกล ต่อระดับฮีโมโกลบินเอวันซี (HbA1C) ระดับกลูโคสในพลาสมาขณะอดอาหาร (FBS) และความร่วมมือในการใช้ยาโดย เปรียบเทียบผลก่อนและหลัง และศึกษาปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่มารับการรักษาที่คลินิกเบาหวาน โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น จำนวน 38 คน เก็บข้อมูลจากการติดตามผู้ป่วยเป็นระยะเวลา 3 เดือน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบบันทึกและแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป แบบบันทึกปัญหาจากการใช้ยา ตามแนวทางของ Pharmaceutical Care Network Europe (PCNE) เวอร์ชั่น 9.1 และแบบวัดความร่วมมือในการใช้ยาสำหรับชาวไทย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา เปรียบเทียบระดับ FBS โดยใช้สถิติ paired t-test เปรียบเทียบระดับ HbA1C และคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาโดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Rank-test</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ภายหลังการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับการติดตามการใช้ยาทางไกล ระดับ HbA1C ลดลงจาก =9.92 (S.D.=1.61 mg%) เป็น =9.08 (S.D.=1.98 mg%) และระดับ FBS ลดลงจาก =168.00 (S.D.=41.12 mg/dl) เป็น =148.71 (S.D.=39.83 mg/dl) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>=0.003 และ <em>p</em>=0.022 ตามลำดับ) และผู้ป่วยมีคะแนนความร่วมมือในการใช้ยา เพิ่มขึ้นจาก =32.29 (S.D.=7.15) เป็น =36.47 (S.D.=3.92) คะแนน (<em>p</em>&lt;0.001) ปัญหาเกี่ยวกับยาในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ พบมากที่สุดคือการใช้ยาหรือบริหารยาน้อยกว่าที่แพทย์สั่ง ร้อยละ 46.80 การบริบาลเภสัชกรรมและการติดตามการใช้ยาทางไกล ส่งผลให้ผลลัพธ์ทางคลินิกและความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วยดีขึ้นได้ ทั้งนี้การติดตามการใช้ยาทางไกลผ่านการโทรศัพท์ หรือผ่านช่องทางการสื่อสารอื่น เป็นวิธีการที่ช่วยให้บุคลากรทางการแพทย์ติดตามผู้ป่วยได้โดยตรงและสามารถให้คำแนะนำและจัดการปัญหาของผู้ป่วยได้ทันที</p> 2024-04-02T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/266990 ประสิทธิผลของแนวปฏิบัติป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยา ที่มีความเสี่ยงสูงในงานห้องผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลำพูน 2024-01-04T15:14:15+07:00 พิพัฒ เกาะแก้ว phiphat2514kk@gmail.com <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความรู้การปฏิบัติในการป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงของพยาบาลวิชาชีพ และอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง ก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2566 กลุ่มตัวอย่างคือ พยาบาลวิชาชีพ จำนวน 18 คน และผู้ป่วยหนักที่ได้รับยาที่มีความเสี่ยงสูงทางหลอดเลือดดำส่วนปลาย ในงานห้องผู้ป่วยหนัก 2 โรงพยาบาลลำพูน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการวิจัย ได้แก่ แนวปฏิบัติป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้ แบบประเมินการปฏิบัติการพยาบาลในการป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง แบบบันทึกอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่า Paired t-test และ Fisher’s exact probability test</p> <p>ผลการวิจัยพบว่า หลังใช้แนวปฏิบัติความรู้เกี่ยวกับป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงของพยาบาลวิชาชีพเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;.05) พยาบาลวิชาชีพสามารถปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูง ถูกต้องเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 75.0 เป็นร้อยละ 96.0 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;.05) และอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;.05) แนวปฏิบัติที่พัฒนาขึ้นนี้ช่วยเพิ่มความรู้ และทักษะการปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลเพื่อป้องกันการเกิดหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบจากการใช้ยาที่มีความเสี่ยงสูงให้แก่พยาบาลวิชาชีพ และช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะหลอดเลือดดำส่วนปลายอักเสบ</p> 2024-04-03T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/267098 ประสิทธิผลการพัฒนาทักษะการสื่อสาร ISBAR ในการส่งมอบข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉิน ของนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ 2024-02-20T21:32:14+07:00 ดวงกมล หน่อแก้ว yai_duangkamon@hotmail.com นุชจรินทร์ แก่นบุปผา nucharin@scphub.ac.th นัจรินทร์ ผิวผ่อง natjarin@scphub.ac.th พนาไพร โฉมงาม panaprai@scphub.ac.th กันยารัตน์ ชิราวุฒิ Kanyarat@scphub.ac.th สุคนธ์ทิพย์ บัวแดง Sukhontip@scphub.ac.th กรกช เพทาย korakot@sphtrang.com <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อนและหลังทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลการพัฒนาความรู้และทักษะการสื่อสาร ISBAR กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ทดลอง คือ รูปแบบการพัฒนาทักษะการสื่อสาร ISBAR ในการส่งมอบข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉิน ประกอบด้วยการสอนความรู้ การฝึกทักษะส่งมอบข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉินในสถานการณ์เสมือนจริง และการสะท้อนคิดหลังการพัฒนา เครื่องมือที่ใช้รวบรวมข้อมูล ประกอบด้วยแบบวัดความรู้และแบบประเมินทักษะ ตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยด้วยค่าดัชนีความตรง ได้ค่า CVI 0.96-1.00 ค่าความเชื่อมั่นแบบวัดความรู้ ได้ค่า KR-20=0.71 แบบประมินทักษะ ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ครอนบาค 0.74 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบ Paired sample t-test ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 78.90 อายุเฉลี่ย 19.98 ปี ความรู้การสื่อสาร ISBAR ในการส่งมอบข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉินเปรียบเทียบก่อนและหลังการพัฒนา พบว่าหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยความรู้เพิ่มขึ้นจาก 9.53 (S.D.±1.55) เป็น 11.10 (S.D.±1.45) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=3.68, <em>p</em>&lt;.05) ทักษะการสื่อสาร ISBAR ในการส่งมอบข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉินเปรียบเทียบทักษะก่อนและหลังการพัฒนา พบว่าหลังการพัฒนามีค่าเฉลี่ยทักษะเพิ่มขึ้นจาก 3.71 (S.D.±.34) เป็น 4.66 (S.D.±.25) เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (t=13.00, <em>p</em>&lt;.001) รูปแบบการพัฒนาทักษะการสื่อสาร ISBAR ในการส่งมอบข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉินช่วยให้นักศึกษามีความรู้และทักษะการสื่อสาร ISBAR เพิ่มขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพ สถาบันการศึกษาสามารถนำผลวิจัยไปใช้พัฒนานักศึกษาเพื่อให้การส่งมอบข้อมูลมีความถูกต้อง ส่งผลต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย</p> 2024-04-08T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/266600 การศึกษาระบาดวิทยาและปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคปากแหว่งเพดานโหว่ โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี 2024-03-15T18:31:58+07:00 สุกัลยา ธนกิจจารุ sukalyatha@gmail.com <p>โรคปากแหว่งเพดานโหว่เป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญทั้งในระดับสากลและระดับชาติ การศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง ครั้งนี้เพื่อศึกษาระบาดวิทยาโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ลักษณะการกระจายของผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ด้วย เวลา บุคคล และวิเคราะห์ปัจจัยสัมพันธ์ของการเกิดโรคปากแหว่งเพดานโหว่ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่จำนวน 733 คน ที่เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี ระหว่างปี 2549-2565 อายุตั้งแต่แรกเกิดถึง 20 ปี และมีข้อมูลประวัติเข้ารับการรักษาครบถ้วนตามวัตถุประสงค์ เก็บข้อมูลจากเวชระเบียนประวัติการรักษา วิเคราะห์การกระจายของผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ด้วยสถิติเชิงพรรณนา และสาเหตุปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคด้วยสถิติ Chi-square กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05</p> <p>ผลการศึกษา พบเด็กเกิดชีพเป็นปากแหว่งเพดานโหว่มีอุบัติการณ์ของการเกิดโรคสูงที่สุดในปี 2550 จำนวน 377 คน (1.79 ต่อเด็กเกิดมีชีพ 1,000 คน) รองลงมาคือปี 2551 (1.70 ต่อเด็กเกิดมีชีพ 1,000 คน) และปี 2562 (1.46 ต่อเด็กเกิดมีชีพ 1,000 คน) ตามลำดับ อุบัติการณ์ของการเกิดโรคต่ำที่สุดในปี 2557 (0.75 ต่อเด็กเกิดมีชีพ 1,000 คน) การกระจายของโรคตามลักษณะส่วนบุคคล และปัจจัยสัมพันธ์ของการเกิดโรค พบว่า เพศ อายุครรภ์มารดาก่อนคลอด อายุบิดา อายุมารดา ลำดับการคลอด ประวัติการใช้ยาของมารดาขณะตั้งครรภ์ และลำดับบุตรมีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคปากแหว่งเพดานโหว่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้น การจัดรูปแบบการให้บริการดูแลสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ควรมุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคและสามารถป้องกันได้ รวมถึงการดูแลและช่วยเหลือเด็กแรกเกิดที่มีปัญหาปากแหว่งเพดานโหว่ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น</p> 2024-04-16T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/267662 ผลของโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมร่วมกับการให้การปรึกษาต่อความพร้อมและความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องลำไส้และทวารหนัก 2024-02-20T21:34:06+07:00 ณสิตางศุ์ รักษาพล Nasinasininja@gmail.com อนันต์ศักดิ์ จันทรศรี anansak.jan@gmail.com <p>โรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นปัญหาสุขภาพสำคัญที่ส่งผลต่อความพร้อมและความวิตกกังวลในผู้ป่วยส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก การศึกษาวิจัยกึ่งทดลองแบบหนึ่งกลุ่มวัดก่อน-หลังเพื่อเปรียบเทียบความพร้อมและความวิตกกังวลของผู้ป่วยที่ได้รับการส่องกล้องลำไส้และทวารหนักก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมร่วมกับการให้การปรึกษา กลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วยโปรแกรมการให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมร่วมกับการให้คำปรึกษาในผู้ป่วยส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทางทวารหนัก แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความพร้อมในการเข้ารับการส่องกล้องลำไส้และทวารหนัก และแบบประเมินความวิตกกังวลขณะเผชิญของสปิลเบอร์เกอร์ มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.88 และ 0.86 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติ paired t-test</p> <p>ผลการวิจัย พบว่าก่อนการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมในการเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ระดับสูง และระดับต่ำ ร้อยละ 43.33 และ 36.67 ตามลำดับ มีความวิตกกังวลเล็กน้อยและปานกลาง ร้อยละ 40.00 และ 30.00 ตามลำดับ หลังการทดลองกลุ่มตัวอย่างมีความพร้อมในการเข้ารับการส่องกล้องลำไส้ระดับสูง ร้อยละ 100 มีความวิตกกังวลเล็กน้อย ร้อยละ 66.67 ส่วนคะแนนเฉลี่ยของความพร้อมในการเข้ารับการส่องกล้องลำไส้และทวารหนักหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t</em>= -7.42, <em>p</em>=.000) และคะแนนเฉลี่ยของความวิตกกังวลหลังการทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>t</em>=10.50, <em>p</em>=.000) ดังนั้นการส่งเสริมการให้ข้อมูลและการปฏิบัติตัวเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนส่องกล้องลำไส้ใหญ่ทำให้ผู้ป่วยเกิดการรับรู้และการปรับตัวที่เหมาะสม ทำให้ผู้ป่วยมีความพร้อมและลดความวิตกกังวลในส่องกล้องลำไส้ใหญ่และทวารหนักได้</p> 2024-04-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/266377 การพัฒนาแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กโดยใช้รูปแบบการละเล่นพื้นบ้านไทย 2024-01-03T19:11:08+07:00 เตชภณ ทองเติม spsc_network@hotmail.com ขนิษฐา ฉิมพาลี K.chimpalee@sskru.ac.th จีรนันท์ แก้วมา jeeranan.ka@skru.ac.th <p>การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็ก โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการละเล่นพื้นบ้านไทย และประเมินคุณภาพของแบบทดสอบที่พัฒนาขึ้น โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การสร้างและพัฒนาแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็ก โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการละเล่นพื้นบ้านไทย กลุ่มตัวอย่างในการพัฒนาทดลองเป็นเด็กอายุระหว่าง 10-12 ปี จำนวน 35 คน ที่ผ่านการคัดเลือกแบบเจาะจง ผลการศึกษา คณะผู้วิจัยได้แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็ก โดยใช้รูปแบบการละเล่นพื้นบ้านไทย จำนวน 1 แบบทดสอบ ซึ่งประกอบด้วยรายการทดสอบ จำนวน 9 รายการ ได้แก่ รายการทดสอบ 1) รถไถนา 10 เมตร 2) กระโดดกบ 10 เมตร 3) กระโดดยาง 2 นาที 4) เป่ายาง 5) ลิงชิงหลัก 6) กล้วยตาก 7) กระโดดกระต่ายขาเดียว 2 ครั้ง 8) ขว้างลิง และ 9) ดัชนีมวลกาย โดยทุกรายการทดสอบมีผลการประเมินความตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.8-1.0 ระยะที่ 2 เพื่อประเมินคุณภาพของแบบทดสอบสมรรถภาพทางกายสำหรับเด็กที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กอายุระหว่าง 10-12 ปี จำนวน 60 คน ที่ผ่านการคัดเลือกแบบเจาะจง และวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพของแบบทดสอบ ดังนี้ ประเมินความเที่ยงตรงเชิงสภาพ ด้วยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ระหว่างผลการทดสอบในรายการทดสอบสมรรถภาพทางกายที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น กับผลการทดสอบในรายการทดสอบสมรรถภาพทางกายมาตรฐาน กำหนดระดับนัยสําคัญทางสถิติที่ <em>p</em>-value &lt;.05 ประเมินความน่าเชื่อถือของ ผู้ประเมินด้วยวิธีการทดสอบซ้ำ ระยะเวลาห่างกัน 1 สัปดาห์ โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นจากแบบจำลอง ICC<sub>(3,1)</sub> และ ประเมินความน่าเชื่อถือระหว่างผู้สังเกต โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ภายในชั้นจากแบบจำลอง ICC<sub>(3,K)</sub> ผลการศึกษาพบว่า แบบทดสอบสมรรถภาพทางกายที่คณะผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีค่าความเที่ยงตรงเชิงสภาพระหว่าง 0.60-0.79 ค่าความน่าเชื่อถือของผู้ประเมิน ระหว่าง 0.69-0.90 และค่าความน่าเชื่อถือระหว่างผู้สังเกตระหว่าง 0.80-0.92</p> 2024-04-18T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/266597 การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลฉุกเฉินผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้องแบบไม่มีแผลทะลุ 2024-01-15T14:49:10+07:00 ประภาพร สุวรัตน์ชัย ppjiabsuwaratchai@gmail.com นุสรา วิชญ์โกวิทเทน ืีnussara22@yahoo.com สุปัญญา ทักขะทิน Stakkatin7@gmail.com ปรีชา ศรีบุญเรือง pricha.bun@gamil.com <p>การวิจัยและพัฒนาครั้งนี้เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลฉุกเฉินผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้องแบบไม่มีแผลทะลุ มี 3 ระยะคือ 1) สำรวจ สภาพปัญหา อุปสรรค และความต้องการการพยาบาลฉุกเฉินผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้องแบบไม่มีแผลทะลุ 2) พัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลฉุกเฉินผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้องแบบไม่มีแผลทะลุ อิงแนวคิดของซูคัพ และ 3) ประเมินผลการใช้แนวปฏิบัติฯ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้ป่วยบาดเจ็บช่องท้องแบบไม่มีแผลทะลุ ก่อนและหลังใช้แนวปฏิบัติฯ จำนวน 22 คน และ 20 คนตามลำดับ และ พยาบาลวิชาชีพที่ใช้แนวปฏิบัติฯ จำนวน 12 คน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมิน และบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบการใช้แนวปฏิบัติฯและอัตราการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน ใช้ Chi Square test Logistics Regression วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ปัญหา อุปสรรค และความต้องการการพยาบาลฉุกเฉินคือภาวะช็อกที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน สัมพันธ์กับการเสียชีวิต OR 7.37 (95% CI 2.37-22.96) แนวปฏิบัติฯที่ใช้ มี 6 หมวด ผ่านเกณฑ์ AGREE II ทุกด้าน (75.6-88.4%) ความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ ระดับมาก และ ประเมินประสิทธิภาพ พบความพึงพอใจพยาบาลวิชาชีพที่ใช้แนวปฏิบัติฯ ระดับสูงและประเมินผลลัพธ์เปรียบเทียบอัตราการเกิดภาวะไตบาดเจ็บเฉียบพลัน พบว่าก่อนและหลังการใช้แนวปฏิบัติฯ 22.7% และ10.0% ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&gt;.269)</p> 2024-04-22T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/264114 พฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดีของประชาชนในตำบลคอนสาย อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี 2023-08-10T10:04:13+07:00 ทศพล แก้วสิงห์ fkan.1964@yahoo.co.th <p>การวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมสุขศึกษาต่อพฤติกรรมป้องกันพฤติกรรมการป้องกันโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี ในตำบลคอนสาย อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี พฤติกรรมการป้องกันประกอบด้วยความรู้ การรับรู้ความเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง และการรับรู้ประโยชน์ การสนับสนุนจากครอบครัว กลุ่มตัวอย่างคือประชาชนที่มีประวัติครอบครัวที่เคยป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง จำนวน 70 คน ระยะเวลาดำเนินโปรแกรมสุขศึกษาเป็นเวลา 3 เดือน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในเดือนธันวาคม 2565 และเดือนเมษายน 2566 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Paired-Sample T-Test </p> <p>ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายร้อยละ 54.3 อายุเฉลี่ย 46 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 67.1 ประวัติครอบครัวที่เคยป่วยและเสียชีวิตจากโรคมะเร็ง ร้อยละ 77.1 ส่วนใหญ่เป็นโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี ร้อยละ 34.3 และ 21.4 ตามลำดับ ประสิทธิผลของโปรแกรมสุขศึกษาก่อนและหลังการอบรม พบว่าความรู้เกี่ยวกับการป้องกันโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี การรับรู้ความรุนแรงของโรค และการสนับสนุนจากครอบครัวในการป้องกันโรค มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แม้ว่าการให้โปรแกรมสุขศึกษาเกี่ยวกับโรคมะเร็งตับและมะเร็งท่อน้ำดี จะทำให้ความรู้ การรับรู้เกี่ยวกับโรค การสนับสนุนจากสังคม และพฤติกรรมการป้องกันโรคเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นก็ตาม กลุ่มเป้าหมายต้องอาศัยกระบวนการติดตามและให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจึงจะประสบผลสำเร็จ สามารถป้องกันโรคได้</p> 2024-04-28T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/266876 การศึกษาเพื่อจิตสำนึกใหม่: ดูแลด้วยหัวใจในยุค VUCA World 2024-01-18T22:13:56+07:00 กวินลักษณ์ นาวิชิต katkawinlak@gmail.com รัชนี ศรีตะวัน tawantuk60@gmail.com นภัทร เตี๋ยอนุกูล napatt22@gmail.com <p>การเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบันที่มีความผันผวนส่งผลกระทบต่อการศึกษาพยาบาลที่ต้องมีการปรับตัวเพื่อผลิตบัณฑิตที่ตอบสนองความต้องการของสังคม ทักษะวิชาชีพเป็นสมรรถนะหลักและทักษะทางสังคม สมรรถนะที่สำคัญในยุคการเปลี่ยนแปลง ที่นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะเพื่อให้สามารถปรับตัว ยอมรับการปรับเปลี่ยน และยังคงผลลัพธ์ที่นำสู่เป้าหมายของการผลิตบัณฑิตพยาบาลศาสตร์ มีบทบาทในการให้บริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ ซึ่งบทความนี้จะนำเสนอเกี่ยวกับ การศึกษาเพื่อจิตสำนึกใหม่ในโลกปัจจุบัน และการนำการศึกษาเพื่อจิตสำนึกใหม่มาจัดการเรียนการสอนแก่นักศึกษาพยาบาล</p> <p>การศึกษาจิตสำนึกใหม่ (Educational for a new consciousness) เป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะที่มุ่งเน้นการเข้าใจตนเอง เข้าใจผู้อื่น เข้าใจสังคม โดยได้นำแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา (Contemplative education) ซึ่งมีปรัชญาพื้นฐานที่เชื่อมั่นในความเป็นมนุษย์และมีกระบวนทัศน์องค์รวม มุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงภายในตนเอง การเข้าถึงความดี ความงามและความจริงในชีวิต จึงเหมาะสมที่จะนำมาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ให้นักศึกษาพยาบาลเกิดความสมดุลทั้งด้านกาย ใจ และความคิด การปรับเปลี่ยนความคิด ยอมรับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในยุคผันผวน (VUCA World) มีกิจกรรมการเรียนรู้ 3 ด้าน คือ มิติความจริง มิติความงาม และมิติความรู้ นำสู่การวางแผนจัดการเรียนรู้ด้วยการศึกษาเพื่อจิตสำนึกใหม่ ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การเรียนรู้สู่จิตสำนึกใหม่ 2) วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 3) กิจกรรมด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ และ 4) การสะท้อนคิดมุ่งเน้นการพัฒนาความงามในจิตใจ และนำไปปฏิบัติตามแผนการจัดการเรียนการสอน มีความรัก ความเมตตา ความเอื้ออาทร ต่อตนเองและผู้อื่น ฟังอย่างลึกซึ้ง ใคร่ครวญ ไม่ตัดสิน ตระหนักรู้ในตนเอง เรียนรู้อย่างเปิดกว้างโดยเชื่อมั่นและไว้วางใจกัน เคารพในคุณค่าของมนุษย์และให้การพยาบาลแบบองค์รวม นำสู่การบริการด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ </p> 2024-04-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี