วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe
<p><strong>วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา</strong><strong><br />ISSN 2985-251X (Online)</strong></p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong><strong> <br /></strong>วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษาเป็นวารสารรับตีพิมพ์บทความวิจัยและบทความทางวิชาการ</p> <ul> <li>ด้านการสาธารณสุข (Public Health)</li> <li>วิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences)</li> <li>ด้านพฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior)</li> <li>ด้านสุขภาพศึกษา (Health Education)</li> <li>ด้านทันตสาธารณสุข (Dental Public Health)</li> <li>ด้านการพยาบาล (Nursing)</li> </ul> <p><strong> ประเภทของบทความ</strong> </p> <ul> <li>บทความวิจัย (Research Article)</li> <li>บทความวิชาการ (Academic Article)</li> </ul> <p><strong> ภาษาที่รับตีพิมพ์</strong></p> <ul> <li>ภาษาไทย (Thai)</li> <li>ภาษาอังกฤษ (English)</li> </ul> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่ ปีละ </strong><strong>3 ฉบับ</strong></p> <ul> <li>ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน (January-April)</li> <li>ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (May-August)</li> <li>ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม (September-December)</li> </ul> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ</strong> </p> <ul> <li>บทความวิจัย ทุกบทความผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน <strong>(Double-Blind Review) </strong>ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน</li> <li>บทความวิชาการ ทุกบทความผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน <strong>(Double-Blind Review) </strong>ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน</li> </ul> <p><strong>ค่าธรรมเนียมเพื่อประเมินบทความ</strong></p> <p>1. บุคคลภายใน (สังกัดวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี) บทความละ 2,500 บาท</p> <p>2. ศิษย์เก่าวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี บทความละ 3,000 บาท</p> <p>3. บุคคลภายนอก บทความละ 3,500 บาท</p> <p><strong> ***<em>กองบรรณาธิการจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมเพื่อประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในกรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิปฎิเสธการตีพิมพ์ หรือกรณีที่ผู้เขียนบทความขอยกเลิกบทความ หลังจากบทความเข้าสู่กระบวนการ Review ส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแล้ว***</em></strong></p> <p><strong>ขั้นตอนการชำระค่าธรรมเนียมบทความ</strong></p> <p>1) กองบรรณาธิการ แจ้งให้ผู้นิพนธ์ชำระค่าธรรมเนียมเพื่อประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ หลังจากที่บทความผ่านกระบวนการปรับแก้เบื้องต้น (Pre review) แล้ว</p> <p>2) ผู้นิพนธ์/ผู้วิจัย ชำระค่าธรรมเนียมตามสังกัดข้างต้น</p> <p><strong>ชื่อบัญชี</strong> <strong>วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา ร่วมกับชมรมศิษย์เก่า<br />ธนาคารกรุงไทย ประเภท ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 662-5-XXXXX-X</strong> </p> <p>3) ส่งหลักฐานการโอนเงินในระบบของวารสารมายังช่องทาง Review Discussions</p> <p>4) กองบรรณาธิการ ตรวจสอบหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียม</p> <p>5) กองบรรณาธิการ นำบทความเข้าสู่กระบวนการประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Review)</p> <p>6) กองบรรณาธิการ ออกใบเสร็จรับเงินส่งให้ผู้นิพนธ์/ผู้วิจัย ในระบบของวารสาร</p> <p>7) กองบรรณาธิการ ส่งใบเสร็จรับเงินฉบับจริงให้ผู้นิพนธ์/ผู้วิจัย ในกรณีที่แจ้งความประสงค์ไว้เท่านั้น</p> <p><strong>ขั้นตอนการประเมินบทความ</strong></p> <p>1. กองบรรณาธิการกลั่นกรองบทความหลังจากที่บทความส่งเข้ามายังระบบของวารสาร<br />2. แจ้งผู้เขียนบทความให้ปรับแก้เบื้องต้น (Pre-Review) ตามรูปแบบที่วารสารกำหนด<br />2.1 กรณีปรับแก้บทความเบื้องต้นแล้ว แจ้งให้ชำระค่าธรรมเนียมบทความ<br />2.2 กรณีปรับแก้บทความเบื้องต้นไม่สมบูรณ์ แจ้งให้ผู้เนิพนธ์ปรับแก้อีกครั้ง<br />2.3 กรณีผู้นิพนธ์ไม่ปรับแก้ ปฏิเสธการตีพิมพ์ <br />3. หลังจากที่ผู้นิพนธ์ชำระค่าธรรมเนียมบทความแล้ว นำบทความเข้าสู่กระบวนการประเมินบทความ (Review)<br />4. บทความที่ผ่านการประเมิน มีการปรับแก้ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือจนกว่าบทความจะสมบูรณ์ จึงเข้าสู่กระบวนการเผยแพร่ตีพิมพ์<br />4.1 กรณีที่ปรับแก้บทความไม่สมบูรณ์ แจ้งผู้นิพนธ์ปรับแก้อีกครั้ง<br />4.2 กรณีที่ไม่ปรับแก้บทความ ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ ปฏิเสธการตีพิมพ์<br />5. วารสารออกหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ หลังจากที่ผู้นิพนธ์ปรับแก้ไขบทความตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง<br />6. กระบวนการปรับแก้ไขบทความยังคงมีต่อเนื่องจนกว่าจะเข้าสู่กระบวนการ Copyediting และ Production<br />7. กองบรรณาธิการจะแจ้งให้ผู้นิพนธ์อ่านทบทวนบทความเป็นครั้งสุดท้าย และยืนยันการเผยแพร่บทความ เนื้อหาของบทความและความคิดเห็นในบทความทั้งหมดเป็นของผู้นิพนธ์แต่เพียงฝ่ายเดียว ไม่ใช่ความคิดเห็นของกองบรรณาธิการ ทางกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบใดๆเกี่ยวกับความผิดพลาดของบทความนั้นๆ<br />8. บทความที่ได้รับจดหมายตอบรับตีพิมพ์แล้ว หากท่านไม่ปฎิบัติตามขั้นตอนของวารสาร หรือไม่ปรับแก้ไขบทความต่อเนื่องจนกว่าจะถึงกระบวนการก่อนการเผยแพร่ตีพิมพ์ หรือขาดการติดต่อกับกองบรรณาธิการวารสาร หรือหากทางกองบรรณาธิการตรวจสอบภายหลังพบว่ากระบวนการวิจัยของท่านไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัย จดหมายตอบรับตีพิมพ์นั้นถือว่าเป็นโมฆะ กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตีพิมพ์<br />9. บทความที่เผยแพร่ตีพิมพ์กับวารสารแล้ว หากทางกองบรรณาธิการตรวจสอบพบว่ากระบวนการวิจัยไม่ถูกต้องตามหลักจริยธรรมการวิจัย บทความดังกล่าวจะถูกถอนออกจากระบบของวารสาร ปฎิเสธการเผยแพร่ทันที</p> <p><a href="https://drive.google.com/file/d/1WA-npdQHi1bgCmvbfvsZJ5QGTYs3yyvq/view?usp=sharing" target="_blank" rel="noopener"><span style="font-size: 0.875rem;">ขั้นตอนการพิจารณาและประเมินบทความ</span></a></p>
วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
th-TH
วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา
2985-251X
<p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี</p>
-
การศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจทำนายระดับการติดนิโคติน และภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/274532
<p>การวิจัยพรรณนาแบบทำนายมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจทำนายระดับการติดนิโคตินและภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่นที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า กลุ่มตัวอย่าง คือ วัยรุ่นอายุ 15-18 ปี ในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ จํานวน 84 คน เก็บข้อมูลระหว่างวันที่ พฤศจิกายน-ธันวาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินการติดนิโคติน และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือแบบประเมินการติดนิโคติน และแบบประเมินภาวะซึมเศร้าในวัยรุ่น โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคได้เท่ากับ 0.84 และ 0.92 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และสถิติถดถอยอย่างง่าย ผลการวิจัย พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย ร้อยละ 88.1 อายุ 18 ปี ร้อยละ 98.8 ส่วนใหญ่กำลังศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส) ร้อยละ 82.1 สถานภาพสมรส บิดามารดาส่วนใหญ่ อยู่ด้วยกัน รายร้อยละ 75 ผู้ปกครองที่ดูแลหลักส่วนใหญ่เป็นมารดา ร้อยละ 56 การสูบบุหรี่ของบุคคลในครอบครัวส่วนใหญ่ไม่สูบ ร้อยละ 59.5 ระดับการติดนิโคตินมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับภาวะซึมเศร้าของกลุ่มตัวอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (<em>r</em>=0.267) และระดับการติดนิโคตินสามารถทำนายภาวะซึมเศร้าของกลุ่มตัวอย่างได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้ร้อยละ 7.1 ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าบุคลากรทางสุขภาพควรพัฒนากิจกรรมการป้องกันหรือแก้ปัญหาการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในวัยรุ่นเพื่อลดการเกิดภาวะซึมเศร้า</p>
ธิดารัตน์ คณึงเพียร
รศิกาญจน์ พลจำรัสพัชญ์
รัตนา คำศรี
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-01
2025-06-01
5 2
e274532
e274532
-
ผลของรูปแบบการจัดการรายกรณีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลานแหลม จังหวัดนครปฐม
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/274643
<p>โรคไม่ติดต่อเรื้อรังโดยเฉพาะโรคเบาหวานเป็นปัญหาสำคัญระดับโลกที่ต้องการการจัดการอย่างเป็นระบบ เพื่อลดภาวะแทรกซ้อนและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลองชนิด 1 กลุ่ม วัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของรูปแบบการจัดการรายกรณีต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านลานแหลม จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 126 มิลิกรัมต่อเดซิลิตร ในระหว่างเดือนธันวาคม 2566 ถึงเดือนมกราคม 2568 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยรูปแบบการจัดการรายกรณี โดยประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการตนเองของแคนเฟอร์และแกลิกค์-บายส์ และแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ประกอบด้วยการให้ความรู้ในการบริโภคอาหารเบาหวาน การออกกำลังกาย การใช้ยาและการตรวจตามนัด การฝึกปฏิบัติตนเองในการควบคุมโรค การติดตามเยี่ยมบ้านและการให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องเป็นรายกรณี เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบถามข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามพฤติกรรมสุขภาพ ระดับน้ำตาลปลายนิ้ว ระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการทดสอบค่าที </p> <p>ผลการวิจัยพบว่า 1) กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยระดับน้ำตาลปลายนิ้วลดลงและระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดลดลงหลังการทดลองและระยะติดตามผล 3 เดือนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 2) มีค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมสุขภาพสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกด้าน ได้แก่ ความรู้ในการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย การใช้ยาและการมาตรวจตามนัด ข้อเสนอแนะควรขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการรายกรณีไปยังพื้นที่อื่นที่มีผู้ป่วยเบาหวานจำนวนมาก เพื่อช่วยส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม และการมีส่วนร่วมของผู้ป่วยในการดูแลตนเอง ซึ่งส่งผลให้ระดับน้ำตาลปลายนิ้วและน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือดลดลงอย่างชัดเจน เป็นการลดภาวะแทรกซ้อน และภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว</p>
ยุพิน จันมูล
วิดาพร ทับทิมศรี
นิศมา ภุชคนิตย์
Copyright (c) 2025 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี
https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0
2025-06-05
2025-06-05
5 2
e274643
e274643