วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe <p><strong>วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา</strong><strong><br />ISSN 2985-251X (Online)</strong></p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์</strong><strong> <br /></strong>วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษาเป็นวารสารรับตีพิมพ์บทความวิจัยและบทความทางวิชาการ</p> <ul> <li>ด้านการสาธารณสุข (Public Health)</li> <li>วิทยาศาสตร์สุขภาพ (Health Sciences)</li> <li>ด้านพฤติกรรมสุขภาพ (Health Behavior)</li> <li>ด้านสุขภาพศึกษา (Health Education)</li> <li>ด้านทันตสาธารณสุข (Dental Public Health)</li> <li>ด้านการพยาบาล (Nursing)</li> </ul> <p><strong> ประเภทของบทความ</strong> </p> <ul> <li>บทความวิจัย (Research Article)</li> <li>บทความวิชาการ (Academic Article)</li> </ul> <p><strong> ภาษาที่รับตีพิมพ์</strong></p> <ul> <li>ภาษาไทย (Thai)</li> <li>ภาษาอังกฤษ (English)</li> </ul> <p><strong>กำหนดการเผยแพร่ ปีละ </strong><strong>3 ฉบับ</strong></p> <ul> <li>ฉบับที่ 1 มกราคม-เมษายน (January-April)</li> <li>ฉบับที่ 2 พฤษภาคม-สิงหาคม (May-August)</li> <li>ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม (September-December)</li> </ul> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ</strong> </p> <ul> <li>บทความวิจัย ทุกบทความผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน <strong>(Double-Blind Review) </strong>ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน</li> <li>บทความวิชาการ ทุกบทความผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน <strong>(Double-Blind Review) </strong>ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจากหลากหลายสถาบัน</li> </ul> <p><strong>ค่าธรรมเนียมเพื่อประเมินบทความ</strong></p> <p>1. บุคคลภายใน (สังกัดวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี) บทความละ 2,500 บาท</p> <p>2. ศิษย์เก่าวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี บทความละ 3,000 บาท</p> <p>3. บุคคลภายนอก บทความละ 3,500 บาท</p> <p><strong> ***<em>กองบรรณาธิการจะไม่คืนเงินค่าธรรมเนียมเพื่อประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ ในกรณีที่ผู้ทรงคุณวุฒิปฎิเสธการตีพิมพ์ หรือกรณีที่ผู้เขียนบทความขอยกเลิกบทความ หลังจากบทความเข้าสู่กระบวนการ Review ส่งบทความให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินแล้ว***</em></strong></p> <p><strong>ขั้นตอนการชำระค่าธรรมเนียมบทความ</strong></p> <p>1) กองบรรณาธิการ แจ้งให้ผู้นิพนธ์ชำระค่าธรรมเนียมเพื่อประเมินบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ หลังจากที่บทความผ่านกระบวนการปรับแก้เบื้องต้น (Pre review) แล้ว</p> <p>2) ผู้นิพนธ์/ผู้วิจัย ชำระค่าธรรมเนียมตามสังกัดข้างต้น</p> <p><strong>ชื่อบัญชี</strong> <strong>วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา ร่วมกับชมรมศิษย์เก่า<br />ธนาคารกรุงไทย ประเภท ออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 662-5-42917-1</strong> </p> <p>3) ส่งหลักฐานการโอนเงินในระบบของวารสารมายังช่องทาง Review Discussions</p> <p>4) กองบรรณาธิการ ตรวจสอบหลักฐานการชำระค่าธรรมเนียม</p> <p>5) กองบรรณาธิการ นำบทความเข้าสู่กระบวนการประเมินบทความโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Review)</p> <p>6) กองบรรณาธิการ ออกใบเสร็จรับเงินส่งให้ผู้นิพนธ์/ผู้วิจัย ในระบบของวารสาร</p> <p>7) กองบรรณาธิการ ส่งใบเสร็จรับเงินฉบับจริงให้ผู้นิพนธ์/ผู้วิจัย ในกรณีที่แจ้งความประสงค์ไว้เท่านั้น</p> <p><strong>ขั้นตอนการประเมินบทความ</strong></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">1. กองบรรณาธิการกลั่นกรองบทความหลังจากที่บทความส่งเข้ามายังระบบของวารสาร</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2. แจ้งผู้เขียนบทความให้ปรับแก้เบื้องต้น (Pre Review) ตามรูปแบบที่วารสารกำหนด </span><span style="font-size: 0.875rem;"> </span><span style="font-size: 0.875rem;"> </span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.1 กรณีปรับแก้บทความเบื้องต้นแล้ว แจ้งให้ชำระค่าธรรมเนียมบทความ</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.2 กรณีปรับแก้บทความเบื้องต้นไม่สมบูรณ์ แจ้งให้ผู้เนิพนธ์ปรับแก้อีกครั้ง</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">2.3 กรณีผู้นิพนธ์ไม่ปรับแก้ ปฏิเสธการตีพิมพ์ </span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">3. หลังจากที่ผู้นิพนธ์ชำระค่าธรรมเนียมบทความแล้ว นำบทความเข้าสู่กระบวนการประเมินบทความ (Review)</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4. บทความที่ผ่านการประเมิน มีการปรับแก้ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2 ครั้ง หรือจนกว่าบทความจะสมบูรณ์ จึงเข้าสู่กระบวนการเผยแพร่ตีพิมพ์ </span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4.1 กรณีที่ปรับแก้บทความไม่สมบูรณ์ แจ้งผู้นิพนธ์ปรับแก้อีกครั้ง</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">4.2 กรณีที่ไม่ปรับแก้บทความ ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิ ปฏิเสธการตีพิมพ์</span></p> <p><span style="font-size: 0.875rem;">5. วารสารออกหนังสือตอบรับการตีพิมพ์ หลังจากที่ผู้นิพนธ์ปรับแก้ไขบทความตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิแล้วอย่างน้อย 1 ครั้ง</span></p> <p><a href="https://drive.google.com/file/d/1_GmAROdJbJVs3hkWje5W1JJb29oaNu_M/view?usp=sharing" target="_blank" rel="noopener"><span style="font-size: 0.875rem;">ขั้นตอนการพิจารณาและประเมินบทความ</span></a></p> th-TH <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา (Thai Journal of Public Health and Health Education) เป็นลิขสิทธิ์ของ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี</p> tjphe_editor@scphub.ac.th (ผศ.ดร.ภคิน ไชยช่วย (Asst.Prof.Dr.Pakin Chaichuay)) kaewjai@scphub.ac.th (อาจารย์แก้วใจ มาลีลัย (Kaewjai Maleelai)) Wed, 02 Oct 2024 09:38:37 +0700 OJS 3.3.0.8 http://blogs.law.harvard.edu/tech/rss 60 ประวัติการทำงาน อาการระบบทางเดินหายใจ และสมรรถภาพปอดของผู้ประกอบอาชีพค้าขายแผงลอยริมถนน กรุงเทพมหานคร https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/269649 <p>การศึกษาเชิงวิเคราะห์ครั้งนี้ เพื่อเปรียบเทียบสมรรถภาพปอดระหว่างกลุ่มผู้ประกอบอาชีพค้าขายแผงลอยริมถนนกับกลุ่มเปรียบเทียบ และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอด กลุ่มตัวอย่างจำนวน 80 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มผู้ประกอบอาชีพค้าขายแผงลอยริมถนนและกลุ่มเปรียบเทียบเป็นผู้ที่ทำงานในอาคารปิด กลุ่มละ 40 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์และเครื่องสไปโรมิเตอร์สำหรับทดสอบสมรรถภาพปอด แบบสัมภาษณ์ผ่านการประเมินค่าความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์ ได้ค่าอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ในทุกข้อคำถาม และเครื่องสไปโรมิเตอร์ผ่านการสอบเทียบตามบริษัทผู้ผลิต วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา ทดสอบเปรียบเทียบด้วย Independent t test และทดสอบความสัมพันธ์ด้วย Chi square test แสดงค่า Odds Ratio (OR) เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564</p> <p>ผลการศึกษาพบว่า ผู้ประกอบอาชีพค้าขายแผงลอยริมถนนเกิดอาการทางระบบทางเดินหายใจ 3 อันดับแรก ได้แก่ จาม ไอ และคัดจมูก ร้อยละ 17.5 ร้อยละ 15.0 และร้อยละ 10.0 ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบพบว่า ผู้ประกอบอาชีพแผงลอยริมถนนมีสมรรถภาพปอดต่ำกว่ากลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (<em>p</em>&lt;.05) และปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ เพศ อายุ การสูบบุหรี่ และระยะเวลาปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์กับสมรรถภาพปอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยเพศชายมีความเสี่ยงสมรรถภาพปอดผิดปกติกว่าเพศหญิง 3.01 เท่า (OR=3.01, <em>p</em>=.029) ผู้ที่สูบบุหรี่มีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ไม่สูบ 5.06 เท่า (OR=5.06, <em>p</em>=.037) ผู้ที่มีประวัติทำงานมากกว่า 3 ปีมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่มีประวัติทำงานน้อยกว่า 3 ปี 60.27 เท่า (OR=60.27, <em>p</em>=.001) และผู้ที่อายุมากกว่า 40 ปี มีสมรรถภาพปอดมากกว่ากลุ่มผู้ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี ร้อยละ 13.5 (OR=0.86, <em>p</em>=.045) การทำงานริมถนนมีผลต่อสมรรถภาพปอด ดังนั้นผู้ที่ประกอบอาชีพค้าขายควรลดปัจจัยที่สามารถป้องกันได้ ได้แก่ ลดหรืองดการสูบบุหรี่ และลดระยะเวลาการอยู่ริมถนนในช่วงระยะเวลาพัก</p> ณัฐจิต อ้นเมฆ, บุตรี เทพทอง, ชนพร พลดงนอก, โยธิน พลประถม, วราภรณ์ วรรณยะลา, ฌาน ปัทมะ พลยง Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/269649 Wed, 02 Oct 2024 00:00:00 +0700 คุณภาพชีวิตพระภิกษุสงฆ์ ในอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/267609 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาภาคตัดขวางครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิต และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับคุณภาพชีวิตของพระสงฆ์ในอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ กลุ่มตัวอย่าง 148 รูป เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือนเมษายน ถึงพฤษภาคม 2566 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติการทดสอบที และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่าพระภิกษุสงฆ์ส่วนใหญ่เป็นพระลูกวัด ร้อยละ 75.00 อายุเฉลี่ย 48.77 ปี จำนวน พรรษาเฉลี่ย 7.80 พรรษา ระดับการศึกษาแผนกสามัญสูงสุดประถมศึกษา ร้อยละ 24.32 ผ่านการศึกษาแผนกธรรมบาลีร้อยละ 58.78 และส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 81.08 มีภาพรวมคุณภาพชีวิตปานกลาง คิดเป็นร้อยละ 80.41 คุณภาพชีวิตรายด้าน พบว่าทุกด้านอยู่ในระดับคุณภาพชีวิตปานกลาง มากที่สุด คือ ด้านสุขภาพกาย รองลงมาคือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านจิตใจ และด้านสัมพันธภาพทางสังคม คิดเป็นร้อยละ 90.54, 79.73, 75.68 และ 70.27 ตามลำดับ นอกจากนี้ พระภิกษุสงฆ์ที่มีตำแหน่งหน้าที่ในวัด ช่วงอายุ การศึกษาแผนกสามัญ และการศึกษาแผนกธรรม/บาลีที่แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนพระภิกษุสงฆ์ที่มีพรรษาที่แตกต่างกัน และมีโรคประจำตัว คุณภาพชีวิตไม่แตกต่างกัน จากผลการวิจัยชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องได้รับการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ดังนั้น หน่วยงานทางด้านสาธารณสุขควรจัดให้มีแนวทางในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของพระภิกษุสงฆ์ โดยการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพให้มีการดูแลตนเอง แนวทางการออกกำลังกายที่ไม่ขัดต่อหลักพระธรรมวินัย รวมไปถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อคุณภาพชีวิตที่ดี</p> วุฒิฌาน ห้วยทราย, นิสา ปัญญา , ธิราภรณ์ อุ่นแก้ว, วชิราภรณ์ มนตรีวงษ์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/267609 Sun, 06 Oct 2024 00:00:00 +0700 ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการเรียนกับระดับความเครียดของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในช่วงหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/268956 <p>การวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยด้านการเรียนกับระดับความเครียดของนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ในช่วงหลังสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ดำเนินการวิจัยระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง ธันวาคม 2566 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 159 คน โดยใช้สูตรการคำนวณสูตรของ Wayne ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบ multistage random sampling แบ่งสัดส่วนตามระดับชั้นปีที่ศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p value &lt; .05 ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 92.4 เกรดเฉลี่ย 2.51-3.00 ร้อยละ 59.1 มีภูมิลำเนาในเขตจังหวัดศรีสะเกษ ร้อยละ 61.6 ส่วนใหญ่มีประวัติเคยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ร้อยละ 83.6 ปัจจัยด้านการเรียนโดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (x ̅=2.58, S.D.=0.73) (2) ส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 45.3 และ (3) ปัจจัยด้านการเรียนที่มีความสัมพันธ์กับระดับความเครียด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p value&lt;.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านลักษณะการเรียนและสิ่งแวดล้อมในการเรียน บทบาทหน้าที่ของนักศึกษาในชั้นเรียน สัมพันธภาพกับอาจารย์และเพื่อนร่วมชั้นเรียน ความสำเร็จในภาระงานที่ได้รับมอบหมาย และปัจจัยด้านโครงสร้าง อุปกรณ์ และบรรยากาศในชั้นเรียน </p> จุฑามาศ แก้วจันดี, วารี นันทสิงห์ , สุภาพร พันโนฤทธิ์ , บุญหลาย ไกรนพนม , ธนะพัฒน์ ทักษิณทร์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/268956 Sun, 03 Nov 2024 00:00:00 +0700 การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดอ่างทอง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/269244 <p>การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและศึกษาผลลัพธ์ของรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดอ่างทอง คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 30 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 40 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน 2566 ถึงมีนาคม 2567 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ รูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดอ่างทอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Paired t-test และวิเคราะห์เชิงเนื้อหาของข้อมูล</p> <p>ผลการศึกษา พบว่ารูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น คือ SAWAENG HA MODEL ประกอบด้วย 1) S:School 2) A:Activity 3) W:Want 4) A:Acceptable 5) E:Ease 6) N: News 7) G:Guide 8) H:Handle และ 9) A:Achievement หลังเข้าร่วมกิจกรรมตามรูปแบบการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จังหวัดอ่างทอง คะแนนเฉลี่ยของความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ในระดับสูง (X ̅=35.55, S.D.=3.84) แตกต่างจากก่อนเข้าร่วมโปรแกรมฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จะเห็นได้ว่ารูปแบบฯ มุ่งเน้นในการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตและความเข้าใจในบทบาทของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้มีส่วนร่วมในการเสริมสร้างสุขภาพจิตในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ซึ่งมีผลทำให้ความรอบรู้ด้านสุขภาพจิตของกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นอยู่ในระดับที่ดีขึ้น ผลการวิจัยดังกล่าวจะเป็นแนวทางในการสร้างเสริมความแข็งแรงและภูมิคุ้มกันในจิตใจของวัยรุ่นให้สามารถรับมือกับภาวะสุขภาพจิตในสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ</p> สมยศ แสงหิ่งห้อย, ขุมทรัพย์ ก้อนทอง Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/269244 Thu, 07 Nov 2024 00:00:00 +0700 กลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะด้านวิชาการและความก้าวหน้าในสายวิชาชีพ สำหรับบุคลากร สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/270326 <p>การวิจัยและพัฒนามีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะด้านวิชาการและความก้าวหน้าในสายวิชาชีพสำหรับบุคลากร สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองอุบลราชธานี (สสอ.) ดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาบริบท (R1) 2) พัฒนากลยุทธ์ (D1) 3) ทดลองกลยุทธ์ (R2) 4) นำกลยุทธไปใช้ ประเมินผล ถอดบทเรียนและปรับปรุงกลยุทธ์ (D2) กลุ่มตัวอย่าง 1) การศึกษาบริบทฯ เป็นข้าราชการสาธารณสุข สังกัด สสอ. จำนวน 97 คน 2) การพัฒนากลยุทธ์ 2.1 กลุ่มตัวอย่างในการสร้างกลยุทธ์ฯ เป็นผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาบุคลากร ด้านวิชาการและการวิจัย และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 19 คน 2.2 ผู้เชี่ยวชาญประเมินกลยุทธ์ จำนวน 17 คน 3) การทดลองกลยุทธ์ การนำกลยุทธไปใช้ ประเมินผล ถอดบทเรียนและปรับปรุงกลยุทธ์ กลุ่มตัวอย่าง 50 คน เป็นข้าราชการ สสอ.เมืองอุบลราชธานี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) กลยุทธ์ฯ 2) แบบทดสอบความรู้ฯ 3) แบบประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของ กลยุทธ์ 4) แบบสอบถามสมรรถนะฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา Paired Sample t-test และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า กลยุทธ์การเสริมสร้างสมรรถนะด้านวิชาการและความก้าวหน้าในสายวิชาชีพของบุคลากรสาธารณสุข สังกัด สสอ. ประกอบด้วย 6 กลยุทธ์ คือ (1) ด้านการวิจัย นวัตกรรม และหลักฐานเชิงประจักษ์ (2) ความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพ (3) การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล (4) ด้านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล (5) การพัฒนาผลงานทางวิชาการและการเผยแพร่ (6) ด้านการพัฒนาวิชาชีพและการจัดทำเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพ กลยุทธ์ฯ มีความเหมาะสมและเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด (X ̅=4.57, S.D.=0.23) 4) ความรู้เกี่ยวกับการดำเนินการวิจัย และสมรรถนะด้านวิชาการและความก้าวหน้าในสายวิชาชีพ สูงกว่าก่อนการพัฒนากลยุทธ์ฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p&lt; 0.001) ความพึงพอใจต่อกลยุทธ์ฯโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X ̅=4.48, S.D.=0.32) ควรนำกลยุทธ์ไปเสริมสร้างสมรรถนะด้านวิชาการและความก้าวหน้าในสายวิชาชีพสำหรับบุคลากรสาธารณสุขต่อไป</p> นายอุทัย นิปัจการสุนทร Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/270326 Wed, 13 Nov 2024 00:00:00 +0700 ความชุกของผู้ป่วยที่สงสัยภาวะหยุดหายใจขณะหลับในโรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/270436 <p>ภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive sleep apnea: OSA) เป็นความผิดปกติที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต การตรวจการนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็นในการวินิจฉัยและแบ่งระดับความรุนแรงของภาวะ OSA ได้ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ทันท่วงทีและลดอัตราการเสียชีวิต การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของภาวะ OSA และการวินิจฉัยโรคจากการตรวจการนอนหลับ รวมทั้งเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของภาวะ OSA ในผู้ป่วยที่มารับบริการในแผนกโสต ศอ นาสิก โรงพยาบาลสมเด็จพระพุทธเลิศหล้า เก็บข้อมูลโดยวิธีการเก็บข้อมูลย้อนหลังจากประวัติการรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะ OSA เข้ารับการรักษาในแผนกโสต ศอ นาสิก ในช่วงตั้งแต่เดือนมกราคม พ.ศ. 2565 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 จำนวน 61 ราย วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและข้อมูลปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของภาวะ OSA โดยใช้สถิติการวิเคราะห์แบบถดถอย</p> <p>ผลการศึกษา พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีทั้งหมด 61 มีเพียง 20 คนหรือคิดเป็นร้อยละ 32.8 ที่ได้รับการตรวจ การนอนหลับ และในจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจการนอนหลับส่วนใหญ่ร้อยละ 50 ใช้สิทธิเบิกจ่ายตรง ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นพบว่า เพศชาย, อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 50 ปี, ดัชนีมวลกายมากกว่าหรือเท่า 35 kg/m², ความดันโลหิตมากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 มิลลิเมตรปรอท และโรคร่วมไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ .05 (p&lt;.05) จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การเข้าถึงการตรวจการนอนหลับของผู้ป่วยยังพบจำนวนน้อย เนื่องจากข้อจำกัดด้านหลักประกันสุขภาพที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าตรวจการนอนหลับของผู้ป่วยที่เห็นชัดเจน ส่วนปัจจัยที่สัมพันธ์กับระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นที่กล่าวมาข้างต้นไม่มีนัยสำคัญทางสถิติทำให้การตรวจการนอนหลับเป็นสิ่งจำเป็นที่แพทย์หรือบุคลากรทางแพทย์ต้องพิจารณาให้ผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงทุกคนได้รับการตรวจการนอนหลับ เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและเข้ารับการักษาภาวะ OSA ที่รวดเร็ว ดังนั้น ควรมีการขยายสิทธิหลักประกันสุขภาพที่ครอบคลุมการตรวจการนอนหลับและการสนับสนุนเครื่องมือที่ใช้ใน การตรวจการนอนหลับให้ทั่วถึง รวมทั้งการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรค OSA และการตรวจการนอนหลับให้ประชาชนได้เข้าถึงมากขึ้น</p> อาทิตยา ฉิมเชื้อ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/270436 Wed, 13 Nov 2024 00:00:00 +0700 บทบาทและศักยภาพของครูผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/270760 <p> การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของบทบาทและศักยภาพในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กของครูผู้ดูแลเด็ก และเพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กของครูผู้ดูแลเด็ก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างคือ ครูผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็ก อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 128 คน คัดเลือกด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนเมษายน 2567 ถึงเดือนพฤษภาคม 2567 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสถิติวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเชิงเส้นแบบขั้นตอน ผลการศึกษาพบว่า บทบาทในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก อยู่ในระดับมาก (X ̅=2.86, S.D.=0.32) และศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับมาก (X ̅=4.08, S.D.=0.64) สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ตัวแปรที่มีอำนาจพยากรณ์สูงที่สุดได้แก่ บทบาทในการส่งเสริมพัฒนาการเด็ก (β=0.352, p&lt;.001) รองลงมา การรับรู้ความสามารถของตนเอง (β=0.182, p=.036) และน้อยที่สุด คือ ศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (β=0.230, p=.017) ตามลำดับ โดยร่วมกันทำนายการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ได้ร้อยละ 52.6 (R2=0.526) โดยใช้สมการพยากรณ์ คือ Y= a+b1x1+ b2x2+b3x3 ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและบุคลากรทางการศึกษาควรให้ความสำคัญในบทบาทและศักยภาพของครูผู้ดูแลเด็กในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย โดยสามารถนำผลการศึกษาที่ได้ไปส่งเสริมสนับสนุนบทบาทและศักยภาพของครูผู้ดูแลเด็ก ในด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อให้ครูผู้ดูแลเด็กหรือผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กหรือผู้ดูแลเด็กในศูนย์เด็กเล็กสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิผลในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยต่อไป </p> วรรณลีรัตน์ งามเลิศ, ธิติรัตน์ ราศิริ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/270760 Sun, 24 Nov 2024 00:00:00 +0700 ผลการใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลโดยมารดามีส่วนร่วมกระตุ้นการดูดกลืนต่อความสามารถในการดูดนมของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,000 กรัม ที่มีปัญหาการดูดกลืน ตึกทารกป่วย โรงพยาบาลน่าน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/269880 <p>การวิจัยกึ่งทดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของมารดาในการปฏิบัติตามแนวปฏิบัติการพยาบาล 3 ด้าน คือ การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูล การมีส่วนร่วมดูแลในกิจวัตรประจำวัน และการมีส่วนร่วมดูแลในกิจกรรมการพยาบาล และศึกษาเปรียบเทียบผลการเพิ่มรอบกระตุ้นดูดกลืนของทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,000 กรัม กับทารกที่ไม่ได้รับการเพิ่มรอบกระตุ้นดูดกลืน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม คือมารดาและทารกที่เข้ารับการรักษาระหว่างวันที่ 1 กันยายน 2565 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2566 ตึกทารกป่วย โรงพยาบาลน่าน กลุ่มทดลองได้รับการดูแลใช้แนวปฏิบัติการพยาบาลโดยมารดามีส่วนร่วมนวดกระตุ้นการดูดกลืน วันละ 4 ครั้ง กลุ่มควบคุมพยาบาลนวดกระตุ้นการดูดกลืน วันละ 2 ครั้ง เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย แนวปฏิบัติการพยาบาลกระตุ้นดูดกลืนในทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยที่มีปัญหาการดูดกลืนโดยผู้วิจัยพัฒนาขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม มี 10 ขั้นตอน แบบบันทึกการมีส่วนร่วมของมารดา และแบบบันทึกปริมาณน้ำนมที่ให้ทางสายยาง เปรียบเทียบผลลัพธ์ระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วย สถิติ Chi-square Test และ Mann-Whitney-U Test ผลการวิจัย พบว่ามารดามีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนข้อมูล ระดับปานกลาง ร้อยละ 56.6 มีส่วนร่วมดูแลในกิจวัตรประจำวัน ระดับปานกลาง ร้อยละ 66.6 และมีส่วนร่วมดูแลในกิจกรรมการพยาบาล ระดับมาก ร้อยละ 66.6 จำนวนวันที่กินเองทางปากได้ทั้งหมดของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง (X =16.7, S.D.=10.0) และ (X =10.3, S.D.=5.8) ตามลำดับ และจำนวนวันที่ใส่สายยางให้อาหารของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง (X =16.4, S.D.=9.9) และ (X ̅=28.9, S.D.=18.7) ตามลำดับ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p value&lt;.05) การมีส่วนร่วมของมารดาในการดูแลทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อยกว่า 2,000 กรัม ทำให้ทารกมีความสามารถในการดูดกลืนเพิ่มมากขึ้น</p> ภัสราวดี ศรีประเสริฐ, เยาวภา พรมเสน, สุภาพร วัฒนา Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/269880 Sun, 24 Nov 2024 00:00:00 +0700 ประสิทธิผลของศาสตร์การบ่งต้อด้วยหนามหวายในผู้ป่วยโรคต้อกระจก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/268096 <p>งานวิจัยกึ่งทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของศาสตร์การบ่งต้อด้วยหนามหวายซึ่งเป็นหัตถการทางการแพทย์พื้นบ้านไทยในผู้ป่วยโรคต้อกระจก ประเมินความเปลี่ยนแปลงของระดับสายตาข้างที่เป็น (Visual Measurement) โดยใช้แผนภูมิวัดสายตา Snellen chart ในผู้ป่วยโรคต้อกระจกที่มาใช้บริการที่โรงพยาบาลห้วยยอด จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล หนามหวาย และแบบบันทึกการประเมินระดับสายตา (Visual Measurement) ด้วยวิธีวัดระดับความสามารถในการมองเห็น (Visual acuity Test) และวิธีวัดระดับความสามารถในการมองเห็นด้วยแผ่นปิดวัดสายตา Pinhole (Pinhole test) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยเปรียบเทียบข้อมูลก่อนและหลังการทดลองด้วย paired t-test ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p&lt;.05 ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 93.3 มีอายุระหว่าง 52-81 ปี ร้อยละ 43.3 มีอายุ 70 ปีขึ้นไป และมีระยะเวลาในการเป็นต้อกระจกอยู่ในช่วงมากกว่า 5 ปี ร้อยละ 43.3 ผลการทดสอบด้วยวิธี Visual acuity Test พบว่าก่อนการบ่งต้อด้วยหนามหวายผู้ป่วยส่วนใหญ่มีระดับความสามารถในการมองเห็น ที่แถว 1 VA=20/200 ซึ่งเป็นแถวที่มีตัวอักษรใหญ่ที่สุด โดยตาขวา และตาซ้ายอ่านได้ร้อยละ 33.3 และ 30.0 ตามลำดับ หลังการบ่งต้อด้วยหนามหวายมีระดับความสามารถในการมองเห็นเพิ่มขึ้นอ่านได้ที่แถว 8 VA=20/15 ซึ่งเป็นแถวที่มีตัวอักษรเล็กที่สุด โดยตาขวา และตาซ้ายอ่านได้ร้อยละ 43.3 และ 33.3 ตามลำดับ และจากผลทดสอบด้วยวิธี Pinhole test พบว่าหลังการบ่งต้อด้วยหนามหวายมีระดับความสามารถในการมองเห็นเพิ่มขึ้น ที่แถว 8 VA=20/15 ซึ่งตาขวาและตาซ้ายอ่านได้ร้อยละ 36.6 และ 23.3 ตามลำดับ แปลผลเทียบกับแผนภูมิวัดสายตา LogMAR พบว่า Visual Measurement มีค่า LogMAR ลดลง แสดงให้เห็นว่าการมองเห็นดีขึ้น เมื่อเปรียบเทียบค่าก่อนและหลังพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p&lt;.05</p> เรวัตร์ ส่งแสง, วิลาวัณย์ เผือกชาย, ศรินรัตน์ จิตจำ, กัญทร ยินเจริญ, สิริรัตน์ เลาหประภานนท์, สินีนาฎ อารีกิจ, วสันต์ หะยียะห์ยา, ทิยานันท์ ปานิตย์เศรษฐ์ Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/268096 Sun, 01 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ภายใต้แนวคิด สบช.โมเดล https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/268642 <p>การวิจัยเชิงผสมผสานแบบขั้นตอนเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและประเมินรูปแบบการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ภายใต้แนวคิด สบช. โมเดล แบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1) การสร้างรูปแบบการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ภายใต้แนวคิด สบช.โมเดล ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 36 คน ซึ่งได้จากการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเอกพันธ์ เครื่องมือการวิจัย คือแนวทางการระดมสมอง ผู้วิจัย ผู้ช่วยวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการระดมความคิด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูลด้วยการตรวจสอบแบบสามเส้าด้านผู้วิจัย และ 2) การประเมินรูปแบบการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ภายใต้แนวคิด สบช.โมเดล ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน จำนวน 27 คน ซึ่งได้จากการคัดเลือกโดยวิธีเฉพาะเจาะจง เครื่องมือการวิจัย คือแบบประเมิน และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า รูปแบบการปฏิบัติงานเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ภายใต้แนวคิด สบช.โมเดล ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ ได้แก่ การเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ผลการประเมินคุณภาพของรูปแบบ พบว่า ด้านความเหมาะสม ความเป็นประโยชน์ ความเป็นไปได้ และความถูกต้องครอบคลุมอยู่ในระดับมาก (X=3.92, S.D.=0.80)</p> รัชชานนท์ วันทาแก่น, ธีรพล หล่อประดิษฐ์, ยุทธนา แยบคาย Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/268642 Sun, 01 Dec 2024 00:00:00 +0700 รูปแบบการบริโภคอาหารสำหรับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และกลุ่มเสี่ยง: การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/269739 <p>การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมหลักฐานเกี่ยวกับรูปแบบการบริโภคอาหารสำหรับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และกลุ่มเสี่ยง ดำเนินการวิจัยโดยการสืบค้นงานวิจัย เอกสารที่เกี่ยวข้องจากฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญของงานวิจัยทางการแพทย์และสาธารณสุขที่ได้รับการเผยแพร่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษในฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ PubMed Thai Journal Online (ThaiJo) google scholar Google ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2556 ถึง พ.ศ. 2566 ตามกระบวนการทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนาบริกส์ ผลการวิจัยที่ผ่านเกณฑ์คัดเข้า จำนวน 8 ชื่อเรื่อง และสามารถสรุป ลักษณะรูปแบบของอาหารได้ 3 รูปแบบ คือ รูปแบบอาหารตะวันตก (Western dietary patterns) รูปแบบอาหารดั้งเดิม (Traditional dietary patterns) และรูปแบบอาหารเพื่อสุขภาพ (Healthy dietary patterns) โดยแสดงให้เห็นถึงลักษณะสำคัญ 2 ประเด็น คือ อาหารรูปแบบอาหารตะวันตก เป็นปัจจัยเสี่ยงในการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือดและเป็นเบาหวาน ในขณะที่รูปแบบการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อาจป้องกันการเกิดระดับน้ำตาลในเลือดสูงได้ การศึกษาครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 และกลุ่มเสี่ยงที่มีความหลากหลายแตกต่างกันตามบริบทของพื้นที่และสถานะสุขภาพ ซึ่งจะนำไปสู่ความแตกต่างอย่างมากในรูปแบบการเลือกบริโภคอาหาร แม้ว่าจะทราบถึงรูปแบบอาหารที่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือดและโรคเบาหวานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังต้องขึ้นอยู่กับผู้ป่วยเองที่จะเลือกรูปแบบในการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับภาวะสุขภาพของตนเอง</p> อรธิรา บุญประดิษฐ์, สุจิรา ฟุ้งเฟื่อง, นิรมล พจน์ด้วง Copyright (c) 2024 วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/269739 Sat, 09 Nov 2024 00:00:00 +0700