@article{จำปา_รัตนาภินันท์ชัย_2021, title={อิทธิพลของระดับแสงสว่างในห้องต่อความสามารถในการทรงท่าวัดโดย accelerometer ในอาสาสมัครที่มีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว: การทรงท่าในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว}, volume={43}, url={https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/242332}, abstractNote={<p><strong>ที่มาและความสำคัญ:</strong> ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดเกี่ยวกับความผิดปกติในการทรงท่าในผู้ที่มีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) ภาวะแสงไฟสลัวเป็นภาวะที่อาจพบได้บ่อยในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน  อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของแสงไฟสลัวต่อความสามารถในการทรงท่าในผู้ที่มีภาวะ TIA</p> <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาอิทธิพลของแสงสว่างในห้องต่อความสามารถในการทรงท่าเมื่อวัดด้วย accelerometer ในภาวะแสงปกติ แสงสลัว และขณะปิดตา ในผู้ที่มีภาวะ TIA</p> <p><strong>วิธีการวิจัย:</strong> ผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่มี TIA และผู้ที่มีสุขภาพดี (Con) ที่มีเพศและอายุตรงกันกลุ่มละ 12 คน ใช้อุปกรณ์ accelerometer วัดการแกว่งของร่างกายหรือความเร่งของเชิงกรานในแนวหน้า-หลัง (AccAP) และในแนวซ้าย-ขวา (AccML)  ความเรียบลื่นในการแกว่งของเชิงกราน (JERK) และช่วงเวลาในการยืนขาเดียว (ST)  ทำการทดสอบการยืนขาเดียว (SOL) การเคลื่อนไหวชดเชยในการก้าวขาไปทิศต่างๆ (Com)  การทดสอบยืนบนพื้นแข็ง (Sfirm) และยืนบนพื้นนิ่ม (Sfoam)  ทำการวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ Two-way mixed ANOVA และการเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่ม</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>ภาวะแสงไฟสลัวและการปิดตาส่งผลต่อความเร่งของเชิงกราน  ค่า JERK และค่า ST ของกลุ่ม TIA ในการทดสอบ SOL  การเคลื่อนไหวชดเชยในการก้าวขาไปด้านข้าง (ComL) และ Sfirm   โดยพบว่าเฉพาะใน TIA แสงสลัวทำให้ ST ลดลง และทำให้ค่า AccAP, AccML เพิ่มขึ้นในการทดสอบ SOL และ Sfirm และเพิ่มค่า JERK ในการทดสอบ ComL เมื่อเทียบกับแสงปกติ    ถึงแม้ว่าระดับแสงจะไม่มีผลต่อ TIA ขณะทดสอบ Sfoam แต่พบว่า AccML ใน Sfoam ของ TIA มีค่ามากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่ม Con</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>ผู้ที่มีภาวะ TIA มีความบกพร่องในการทรงตัวแบบไม่สามารถสังเกตเห็นได้เมื่อประเมินทางคลินิก แต่สามารถวัดการแกว่งของลำตัวได้เพิ่มขึ้นเมื่อประเมินด้วย accelerometer โดยเฉพาะในภาวะแสงไฟสลัวและปิดตา    ดังนั้น การประเมินการทรงท่าร่วมกับการใช้ accelerometer และการปรับระดับแสงช่วยเพิ่มความไวของการประเมินในผู้ที่มีภาวะ TIA</p>}, number={3}, journal={วารสารกายภาพบำบัด}, author={จำปา รตินาฏ and รัตนาภินันท์ชัย จงจินตน์}, year={2021}, month={ธ.ค.}, pages={136–151} }