TY - JOUR AU - Sangkarit, Noppharath AU - Tapanya, Weerasak AU - Kumfu, Sirinthip AU - Prangkeaw, Parichat AU - Armat, Aoratai PY - 2019/02/28 Y2 - 2024/03/29 TI - ความสัมพันธ์ระหว่างการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อลำตัวแบบแยกส่วนและการทรงตัวในเด็กที่มีภาวะการควบคุมกล้ามเนื้อลำตัวบกพร่อง JF - วารสารกายภาพบำบัด JA - Thai J Phys Ther VL - 41 IS - 1 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/175028 SP - 1-15 AB - <p><strong>ที่มาและความสำคัญ:</strong> เด็กที่มีการควบคุมกล้ามเนื้อลำตัวบกพร่องที่จำกัดการทำงานของร่างกายส่งผลให้เรียนรู้การทรงท่าในแนวตั้งตรงล่าช้า ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความล่าช้าของการทรงท่าในเด็ก จึงควรศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความสามารถในการควบคุมกล้ามเนื้อลำตัวและการทรงตัว ที่อาจเป็นปัจจัยเพิ่มการทรงตัวในเด็กที่มีการควบคุมกล้ามเนื้อลำตัวบกพร่องได้</p><p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างระดับการควบคุมกล้ามเนื้อลำตัวโดย Segmental Assessment of Trunk Control (SATCo) กับการทรงตัวโดย Pediatrics Balance Scale (PBS) ในอาสา สมัครเด็กที่มีการควบคุมกล้ามเนื้อลำตัวบกพร่อง ที่ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพะเยาและประจำจังหวัดลำปาง อายุ 5-14 ปี จำนวน 21 ราย</p><p><strong>วิธีการวิจัย:</strong> อาสาสมัครเด็กที่มีการควบคุมกล้ามเนื้อลำตัวบกพร่องทุกราย (ชาย 15 ราย หญิง 6 ราย) ได้รับการทดสอบการควบคุมกล้ามเนื้อลำตัวด้วยการประเมิน SATCo และทดสอบการทรงตัวในเด็กด้วย PBS ใช้สถิติ Spearman's rank correlation coefficient เพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ต้องการศึกษาโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p &lt; 0.05</p><p><strong>ผลการวิจัย: </strong>พบว่าเด็กที่มีการควบคุมกล้ามเนื้อลำตัวบกพร่องที่ระดับ total SATCo มีความสัมพันธ์กับการทรงตัวกับการยกแขนขนานพื้นและเอนตัวไปข้างหน้า (reaching forward with outstretched arm) ในเชิงลบระดับพอใช้ (r=-0.440, p=0.046) ส่วนการควบคุมกล้ามเนื้อลำตัวบกพร่องด้วย SATCo ที่สภาวะ static เมื่อถูกประเมินการทรงตัวโดย PBS มีความสัมพันธ์กับหัวข้อการยืน 30 วินาทีโดยไม่ยึดเกาะ (standing unsupported) มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลางถึงดี (r=0.578, p=0.006) และหัวข้อวางเท้าต่อเท้า (standing with one foot in front) มีความสัมพันธ์เชิงลบในระดับพอใช้ (r=-0.433, p=0.050) และการควบคุมกล้ามเนื้อลำตัวบกพร่องของ SATCo ที่สภาวะ total static และactive มีความสัมพันธ์กับ PBS หัวข้อการยืนนิ่งหลับตา (standing with eyes closed) มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (r=0.595, p=0.004; r=0.665, p=0.001; r=0.537, p=0.006) ตามลำดับ</p><p><strong>สรุปผล: </strong>การควบคุมกล้ามเนื้อลำตัวในเด็กมีความสัมพันธ์ต่อการทรงตัวในเด็ก (functional balance) ที่มีการควบคุมกล้ามเนื้อลำตัวบกพร่อง</p> ER -