TY - JOUR AU - มหาทรัพย์, ปฤณภัก AU - ลัดดาวงศ์, ธีรพัฒน์ PY - 2021/12/29 Y2 - 2024/03/29 TI - ผลทันทีของการติดเทปไคเนซิโอร่วมกับการกระตุ้นเซลล์กระจกเงาต่อความสามารถด้านการเคลื่อนไหวในเด็กภาวะสมองพิการไทย JF - วารสารกายภาพบำบัด JA - Thai J Phys Ther VL - 43 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/241319 SP - 123-135 AB - <p><strong>ที่มาและความสำคัญ:</strong> ภาวะเด็กสมองพิการเป็นกลุ่มอาการของเด็กที่เกิดจากความผิดปกติของสมองอย่างถาวรเนื่องจากสาเหตุหลายประการ ส่งผลให้เกิดพัฒนาการที่ผิดปกติและล่าช้า การรักษาด้วยการติดเทปไคเนซิโอร่วมกับการรักษาด้วยโปรแกรมกายภาพบำบัดสำหรับพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวโดยกระตุ้นการทำงานของเซลล์กระจกเงาในรูปแบบวีดิทัศน์จัดเป็นการรักษาอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในเด็กภาวะสมองพิการได้จริง และมีแนวโน้มที่สามารถส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทางด้านการเคลื่อนไหวในเด็กภาวะสมองพิการได้</p><p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เปรียบเทียบคะแนนความสามารถด้านการเคลื่อนไหวด้วยแบบประเมิน GMFM-66 ระหว่างกลุ่มเด็กที่ได้รับการรักษาด้วยการติดเทปไคเนซิโอเพียงอย่างเดียว กับกลุ่มเด็กที่ได้รับการรักษาด้วยการติดเทปไคเนซิโอร่วมกับการรักษาด้วยโปรแกรมกายภาพบำบัดสำหรับพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวโดยกระตุ้นการทำงานของเซลล์กระจกเงาในรูปแบบวีดิทัศน์</p><p><strong>วิธีการวิจัย:</strong> อาสาสมัครเป็นเด็กภาวะสมองพิการชนิด spastic diplegia อายุ 5-12&nbsp; ปี มีระดับความสามารถด้านการเคลื่อนไหว (GMFCS) อยู่ในระดับ 1-3 &nbsp;จำนวน 30 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 15 คน กลุ่มควบคุมจะได้รับการติดเทปไคเนซิโอด้วยเทคนิคกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อ tibialis anterior และ rectus femoris ร่วมกับเทคนิคกระตุ้นการทำงานของข้อเท้า เป็นระยะเวลา 60 นาที ส่วนกลุ่มทดลองจะได้รับการรักษาด้วยโปรแกรมกายภาพบำบัดสำหรับพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวโดยกระตุ้นการทำงานของเซลล์กระจกเงาในรูปแบบวีดิทัศน์ เป็นระยะเวลา 60 นาที ร่วมกับการติดเทปไคเนซิโอที่ขา ประเมินผลความสามารถทางด้านการเคลื่อนไหวด้วยแบบประเมิน GMFM-66</p><p><strong>ผลการวิจัย: </strong>เมื่อเปรียบเทียบค่าคะแนน GMFM-66 ระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมภายหลังการได้รับปัจจัยการทดลอง โดยใช้สถิติ ANCOVA พบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P=0.206) และเมื่อเปรียบเทียบคะแนน GMFM-66 ภายในกลุ่ม โดยใช้สถิติ&nbsp; paired t-test พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งสองกลุ่ม (<em>p&lt;</em>0.001)</p><p><strong>สรุปผล: </strong>การติดเทปไคเนซิโอที่ขาเพียงอย่างเดียว และการติดเทปไคเนซิโอที่ขาร่วมกับการรักษาด้วยโปรแกรมกายภาพบำบัดสำหรับพัฒนาทักษะการเคลื่อนไหวโดยกระตุ้นการทำงานของเซลล์กระจกเงาในรูปแบบวีดิทัศน์มีผลทันทีต่อการเพิ่มขึ้นของความสามารถด้านการเคลื่อนไหวในเด็กภาวะสมองพิการชนิด Spastic diplegia แต่ทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ</p> ER -