TY - JOUR AU - จำปา, รตินาฏ AU - รัตนาภินันท์ชัย, จงจินตน์ PY - 2021/12/29 Y2 - 2024/03/29 TI - อิทธิพลของระดับแสงสว่างในห้องต่อความสามารถในการทรงท่าวัดโดย accelerometer ในอาสาสมัครที่มีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว: การทรงท่าในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว JF - วารสารกายภาพบำบัด JA - Thai J Phys Ther VL - 43 IS - 3 SE - บทความวิจัย DO - UR - https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/242332 SP - 136-151 AB - <p><strong>ที่มาและความสำคัญ:</strong> ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดเกี่ยวกับความผิดปกติในการทรงท่าในผู้ที่มีภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) ภาวะแสงไฟสลัวเป็นภาวะที่อาจพบได้บ่อยในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน&nbsp; อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานการศึกษาเกี่ยวกับอิทธิพลของแสงไฟสลัวต่อความสามารถในการทรงท่าในผู้ที่มีภาวะ TIA</p><p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาอิทธิพลของแสงสว่างในห้องต่อความสามารถในการทรงท่าเมื่อวัดด้วย accelerometer ในภาวะแสงปกติ แสงสลัว และขณะปิดตา ในผู้ที่มีภาวะ TIA</p><p><strong>วิธีการวิจัย:</strong> ผู้เข้าร่วมงานวิจัยที่มี TIA และผู้ที่มีสุขภาพดี (Con) ที่มีเพศและอายุตรงกันกลุ่มละ 12 คน ใช้อุปกรณ์ accelerometer วัดการแกว่งของร่างกายหรือความเร่งของเชิงกรานในแนวหน้า-หลัง (AccAP) และในแนวซ้าย-ขวา (AccML)&nbsp; ความเรียบลื่นในการแกว่งของเชิงกราน (JERK) และช่วงเวลาในการยืนขาเดียว (ST)&nbsp; ทำการทดสอบการยืนขาเดียว (SOL) การเคลื่อนไหวชดเชยในการก้าวขาไปทิศต่างๆ (Com) &nbsp;การทดสอบยืนบนพื้นแข็ง (Sfirm) และยืนบนพื้นนิ่ม (Sfoam)&nbsp; ทำการวิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ Two-way mixed ANOVA และการเปรียบเทียบระหว่างสองกลุ่ม</p><p><strong>ผลการวิจัย: </strong>ภาวะแสงไฟสลัวและการปิดตาส่งผลต่อความเร่งของเชิงกราน &nbsp;ค่า JERK และค่า ST ของกลุ่ม TIA ในการทดสอบ SOL &nbsp;การเคลื่อนไหวชดเชยในการก้าวขาไปด้านข้าง (ComL) และ Sfirm&nbsp;&nbsp; โดยพบว่าเฉพาะใน TIA แสงสลัวทำให้ ST ลดลง และทำให้ค่า AccAP, AccML เพิ่มขึ้นในการทดสอบ SOL และ Sfirm และเพิ่มค่า JERK ในการทดสอบ ComL เมื่อเทียบกับแสงปกติ&nbsp;&nbsp;&nbsp; ถึงแม้ว่าระดับแสงจะไม่มีผลต่อ TIA ขณะทดสอบ Sfoam แต่พบว่า AccML ใน Sfoam ของ TIA มีค่ามากกว่าเมื่อเทียบกับกลุ่ม Con</p><p><strong>สรุปผล: </strong>ผู้ที่มีภาวะ TIA มีความบกพร่องในการทรงตัวแบบไม่สามารถสังเกตเห็นได้เมื่อประเมินทางคลินิก แต่สามารถวัดการแกว่งของลำตัวได้เพิ่มขึ้นเมื่อประเมินด้วย accelerometer โดยเฉพาะในภาวะแสงไฟสลัวและปิดตา&nbsp;&nbsp;&nbsp; ดังนั้น การประเมินการทรงท่าร่วมกับการใช้ accelerometer และการปรับระดับแสงช่วยเพิ่มความไวของการประเมินในผู้ที่มีภาวะ TIA</p> ER -