https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/issue/feed วารสารกายภาพบำบัด 2024-04-25T20:16:02+07:00 Chitanongk Gaogasigam chitanongg@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>เป้าหมายและขอบเขต:</strong></p> <p>วารสารกายภาพบำบัด (Thai J Phys Ther) เป็นวารสารอย่างเป็นทางการของสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย วารสารนี้มีพันธกิจในการเผยแพร่และแบ่งปันความรู้ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางด้านกายภาพบำบัดซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติทางกายภาพบำบัดคลินิกรวมถึงการเรียนการสอนทางด้านกายภาพบำบัด วารสารนี้เผยแพร่บทความประเภท บทความวิจัย บทความปริทัศน์ และจดหมายถึงบรรณาธิการ</p> <p><strong>ISSN old number (2522-2566)</strong></p> <p>ISSN 0125-4634 (print)</p> <p>ISSN 2730-3004 (online)</p> <p><strong><span class="il">ISSN new number (2567-)</span> </strong></p> <p>ISSN 3027-7086 (online)</p> <p> </p> <p><strong>กระบวนการพิจารณา: </strong>บทความต้นฉบับทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นอย่างน้อยสามคนผ่านกระบวนการ double-blinded review</p> <p><strong>ความถี่:</strong> กำหนดออก 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม </p> <p><strong>ภาษา:</strong> บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ, บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ </p> <p><strong>ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์: </strong>ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</p> <p><strong>การเข้าถึง: </strong>สามารถเข้าถึงบทความผ่านทางออนไลน์ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย</p> https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/263389 ค่าจุดตัดที่เหมาะสมของการทดสอบด้วยการยกขาสูงสลับกัน 2 นาที เพื่อบ่งชี้การจำกัดความสามารถในการทำกิจกรรมในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว: การศึกษานำร่อง 2024-02-12T13:37:29+07:00 ปิยนุช เตโช mandiblepui@gmail.com <p><strong>ที่มาและความสำคัญ:</strong> การทดสอบเดิน 6 นาที (6-Minute Walk Test: 6MWT) นิยมใช้ประเมินความทนทานของหัวใจและหายใจเนื่องจากมีความเที่ยงและความตรงสูง แต่ยังมีข้อจำกัดบางประการ ดังนั้น การทดสอบยกขาสูงสลับกัน 2 นาที (TMST) จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการทดสอบ หากแต่ยังไม่พบการศึกษาใดหาค่าจุดตัดของ TMST ในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว</p> <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>หาค่าจุดตัดที่เหมาะสมของ TMST เพื่อบ่งชี้การจำกัดความสามารถในการทำกิจกรรมในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว</p> <p><strong>วิธีการวิจัย:</strong> ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว 33 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มด้วย 6MWT โดยใช้ระยะทาง 300 เมตร แบ่งกลุ่มออกเป็นกลุ่มที่มีและไม่มีการจำกัดความสามารถในการทำกิจกรรม จากนั้นทำการทดสอบ TMST วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ROC เพื่อหาค่าจุดตัดของ TMST โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p &lt; 0.05</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่มีการจำกัดความสามารถในการทำกิจกรรม (n = 12) มีจำนวนครั้งเฉลี่ยของ TMST 59.92 ± 8.99 ครั้ง ขณะที่ผู้ที่ไม่มีการจำกัดความสามารถในการทำกิจกรรม (n = 21) มีค่าเฉลี่ย 82.48 ± 16.24 ครั้ง ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p &lt; 0.05 ค่าจุดตัดที่เหมาะสมของ TMST เพื่อบ่งชี้ข้อจำกัดการทำงานในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวเท่ากับ 66 ครั้ง โดยมีค่าความไวและความจำเพาะร้อยละ 81 และ 75 ตามลำดับ</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>ผู้ป่วยหัวใจล้มเหลวที่ทดสอบ TMST ได้น้อยกว่า 66 ครั้ง บ่งชี้ถึงความทนทานของหัวใจและหายใจลดลง ซึ่งนำไปสู่การจำกัดความสามารถในการทำกิจกรรม</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารกายภาพบำบัด https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/263906 ผลการฝึกหายใจด้วยแอปพลิเคชันมือถือ ต่อความสามารถในการทำกิจกรรมและ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจในผู้ป่วยหัวใจล้มเหลว 2023-12-11T10:29:22+07:00 ณัฐสินี เสริมสินสายทอง natsinee.ser@allied.tu.ac.th นันทิชา กุลชัยธนโรจน์ nunticha.kul@allied.tu.ac.th พัทธนันท์ มาราช phattanan.mar@allied.tu.ac.th สุพัตรา ธาดาธีรพัฒน์ ashc1802@gmail.com ขนิษฐา วัฒนนานนท์ khanistha@nmu.ac.th ศศิภา บูรณพันธฤกษ์ sasipa.b@allied.tu.ac.th กรอนงค์ ยืนยงชัยวัฒน์ ykornano@tu.ac.th <p><strong>ที่มาและความสำคัญ:</strong> ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว ส่งผลให้มีอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อต่างๆ รวมถึง กล้ามเนื้อหายใจ เทคนิคหายใจแบบช้าสามารถลดอาการหอบเหนื่อยและเพิ่มสมรรถภาพการหายใจและความสามารถในการทำกิจกรรมได้</p> <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาผลของการฝึกการหายใจแบบช้า โดยใช้แอปพลิเคชันบนมือถือ ต่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจ และความสามารถในการทำกิจกรรม ในผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจล้มเหลว</p> <p><strong>วิธีการวิจัย:</strong> อาสาสมัครผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวจำนวน 34 คน ทั้งเพศชายและหญิง อายุ 40-80 ปี อาสาสมัครทุกคนได้ทำการทดสอบความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจเข้า กล้ามเนื้อหายใจออกและความสามารถในการทำกิจกรรม ก่อนและหลังการเข้าร่วมโครงการเป็นเวลา 8 สัปดาห์ อาสาสมัครที่ได้รับได้รับการฝึกการหายใจแบบช้าด้วยแอปพลิเคชันบนมือถือ ทำการฝึกหายใจด้วยอัตราการหายใจ 7 ครั้งต่อนาที จำนวน 2 เซตต่อวัน ทำการเปรียบเทียบภายในและระหว่างกลุ่มที่ได้รับการฝึกการหายใจแบบช้ากับกลุ่มควบคุมด้วยสถิติ two-way mixed ANOVA ด้วยโปรแกรม SPSS</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>หลังสิ้นสุด 8 สัปดาห์ มีอาสาสมัครที่เข้าร่วมโครงการจนครบ 13 คน (6 คนในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกหายใจและ 7 คนในกลุ่มควบคุม) พบค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจหายใจเข้าและหายใจออกเพิ่มขึ้นในกลุ่มได้รับการฝึกการหายใจแบบช้า (<img title="\Delta" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\Delta" />18.50 และ <img title="\Delta" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\Delta" /> 20.17 ซม. น้ำ, ตามลำดับ) นอกจากนี้ ยังพบแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มได้รับการฝึกการหายใจแบบช้ากับกลุ่มควบคุมหลังสิ้นสุดการฝึก 8 สัปดาห์ (<img title="\Delta" src="https://latex.codecogs.com/gif.latex?\Delta" /> 27.60 ซม.น้ำ, <em>p</em>=0.003) อย่างไรก็ตาม ไม่พบการเพิ่มขึ้นของความสามารถในการทำกิจกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทั้งก่อนและหลังการฝึกหายใจ รวมถึงระหว่างกลุ่มได้รับการฝึกการหายใจแบบช้ากับกลุ่มควบคุม </p> <p><strong>สรุปผล</strong>: กลุ่มได้รับการฝึกการหายใจแบบช้า มีการเพิ่มขึ้นของความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหายใจหลังจากได้รับการฝึกหายใจเป็นเวลา 8 สัปดาห์ แต่ไม่พบความแตกต่างในด้านของความสามารถในการทำกิจกรรมในผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลว</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารกายภาพบำบัด https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/264963 ความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ และการใช้บัญชีสากลเพื่อการจำแนกการทำงาน ความพิการและสุขภาพในการปฏิบัติทางคลินิกสำหรับนักกายภาพบำบัดไทย 2023-12-25T11:47:06+07:00 พรรณี ปึงสุวรรณ ppunne@kku.ac.th เฟื่องลดา ปิดตาระเต faunglada49@gmail.com ชีวาพร แสนเจ๊ก cheewaporn_sa@kkumail.com พันทิวา อินทร์หมื่นไวย์ pantiwainmw@kkumail.com พิศมัย มะลิลา pismal@kku.ac.th วนิดา ดรปัญหา wanidadon@kku.ac.th <p><strong>ที่มาและความสำคัญ:</strong> บัญชีสากลเพื่อการจําแนกการทํางาน ความพิการ และสุขภาพ (International Classification of Functioning, Disability and Health) หรือ ICF เป็นกรอบการทำงานเพื่อจัดทำแนวทางที่เป็นมาตรฐานและครอบคลุมในการอธิบายและจัดหมวดหมู่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและความพิการ ในประเทศไทย ICF ใช้เป็นคู่มือมาตรฐานในการประเมินและจำแนกประเภทความพิการ อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าจะมีช่องว่างในความเข้าใจและการตระหนักเกี่ยวกับ ICF ในกลุ่มนักกายภาพบำบัดประเทศไทย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อสำรวจความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติของการใช้ ICF และ ICF core set ในนักกายภาพบําบัดประเทศไทย</p> <p><strong>วิธีการวิจัย:</strong> นักกายภาพบำบัดในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขประเทศไทย จำนวน 346 คน ได้เชิญเข้าร่วมเป็นอาสาสมัคร เพื่อตอบแบบสอบถามความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติในการใช้ ICF ผ่าน Google form แบบสอบถามนี้ได้รับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน และให้นักกายภาพบำบัดทดสอบก่อนใช้ อาสาสมัครส่งแบบสอบถามกลับภายใน 2 เดือน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>นักกายภาพบำบัดตอบแบบสอบถามทั้งหมด 191 คน (ร้อยละ 55.20) ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากรู้จัก ICF ร้อยละ 74.35 และมีความรู้ ความเข้าใจ อยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 52.11 และไม่รู้จัก ICF core set ร้อยละ 71.83 ส่วนการนำ ICF ไปใช้งานทางคลินิกพบว่าส่วนมากนำไปใช้ร้อยละ 52.82 และมีผู้ที่ไม่เคยฝึกอบรมหรือเรียนรู้เกี่ยวกับ ICF มาก่อนพบร้อยละ 57.59 ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากร้อยละ 47.89 มีมุมมองที่ดีต่อการใช้ ICF แต่มีอุปสรรคเกี่ยวกับความรู้และความเข้าใจในการใช้</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>การศึกษาครั้งนี้อาจกล่าวได้ว่า การศึกษาและการฝึกอบรม ICF มีความจำเป็นเพื่อเพิ่มความสามารถของนักกายภาพบำบัดในการใช้ ICF อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเนื้อหาในหลักสูตรของสถาบันผลิตนักกายภาพบำบัด</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารกายภาพบำบัด https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/265718 สัดส่วนงาน และปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกประกอบอาชีพและความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน ของผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีกายภาพบำบัด 2024-01-02T10:50:42+07:00 อาภัสนันท์ วิยะนัด arpassanan@kkumail.com จริญญา ประทุมชาติ jarinyapr@kkumail.com ศักรินทร์ ภูผาดศรี Sakkarin.p@kkumail.com จณิตตา ชีพไธสง janitta.c@kkumail.com ทิวาพร ทวีวรรณกิจ Thiwth@kku.ac.th วิไลรัตน์ นามวงศ์ wilaisae@kku.ac.th สุกัลยา อมตฉายา samata@kku.ac.th <p><strong>ที่มาและความสำคัญ:</strong> สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาด้านต่างๆ รวมถึงค่านิยมในปัจจุบันอาจทำให้นักกายภาพบำบัดมีแนวทางการเลือกประกอบอาชีพได้กว้างขวางมากขึ้น แต่ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลสัดส่วนงาน ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเลือกประกอบอาชีพ และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานครอบคลุมของผู้ที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขากายภาพบำบัดจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ของไทยอย่างชัดเจน</p> <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาสัดส่วนงาน และปัจจัยในการเลือกประกอบอาชีพ และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ที่จบการศึกษาปริญญาตรีสาขากายภาพบำบัดจากสถาบันต่างๆ ของไทย</p> <p><strong>วิธีการวิจัย:</strong> อาสาสมัครที่สำเร็จการศึกษาสาขากายภาพบำบัดของประเทศ จำนวน 303 ราย ได้รับการสำรวจความคิดเห็นแบบภาคตัดขวางโดยใช้แบบสำรวจความคิดเห็นออนไลน์ และรายงานผลการศึกษาโดยใช้สถิติพรรณนา</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>อาสาสมัครส่วนใหญ่ทำงานในภาครัฐบาล (ร้อยละ 68) ตามด้วยภาคเอกชน (ร้อยละ 20) ศึกษาต่อ (ร้อยละ 6) รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 2) และสายงานอื่นๆ (ร้อยละ 4) โดยอาสาสมัครที่ทำงานภาครัฐบาลให้ความสำคัญกับความมั่นคงในการทำงาน ความภูมิใจวิชาชีพ ความก้าวหน้าในการทำงาน และโอกาสในการพัฒนาตนเอง ส่วนอาสาสมัครในกลุ่มอาชีพอื่นๆ ให้ความสำคัญกับความสบายใจและความอิสระในการทำงาน ภาระงาน และค่าตอบแทนที่ได้รับ นอกจากนี้ ความสัมพันธ์และการยอมรับจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานเป็นปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของอาสาสมัครทุกกลุ่ม</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>การศึกษานี้ช่วยให้ได้ข้อมูลสัดส่วนงาน และปัจจัยในการเลือกประกอบอาชีพ และความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของผู้ที่จบการศึกษาสาขากายภาพบำบัดของประเทศซึ่งน่าจะเป็นประโยชน์สําหรับนักเรียน นักศึกษากายภาพบําบัด ผู้ปกครอง สถาบันผู้ผลิต สภาวิชาชีพ รวมถึงผู้สนใจ ในการวางแผนชีวิต การพัฒนาหลักสูตร รวมถึงวางแผนการผลิตนักกายภาพบําบัดเพื่อการขับเคลื่อนสุขภาวะของประชาชนไทยต่อไป</p> 2024-04-25T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารกายภาพบำบัด