วารสารกายภาพบำบัด https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt <p><strong>เป้าหมายและขอบเขต:</strong></p> <p>วารสารกายภาพบำบัด (Thai J Phys Ther) เป็นวารสารอย่างเป็นทางการของสมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย วารสารนี้มีพันธกิจในการเผยแพร่และแบ่งปันความรู้ที่เกี่ยวข้องกับศาสตร์ทางด้านกายภาพบำบัดซึ่งสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติทางกายภาพบำบัดคลินิกรวมถึงการเรียนการสอนทางด้านกายภาพบำบัด วารสารนี้เผยแพร่บทความประเภท บทความวิจัย บทความปริทัศน์ และจดหมายถึงบรรณาธิการ</p> <p><strong>ISSN old number (2522-2566)</strong></p> <p>ISSN 0125-4634 (print)</p> <p>ISSN 2730-3004 (online)</p> <p><strong><span class="il">ISSN new number (2567-)</span> </strong></p> <p>ISSN 3027-7086 (online)</p> <p> </p> <p><strong>กระบวนการพิจารณา: </strong>บทความต้นฉบับทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นอย่างน้อยสามคนผ่านกระบวนการ double-blinded review</p> <p><strong>ความถี่:</strong> กำหนดออก 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม-เมษายน ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม และฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม </p> <p><strong>ภาษา:</strong> บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ, บทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ </p> <p><strong>ค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์: </strong>ไม่มีการเก็บค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์</p> <p><strong>การเข้าถึง: </strong>สามารถเข้าถึงบทความผ่านทางออนไลน์ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย</p> สมาคมกายภาพบำบัดแห่งประเทศไทย Physical Therapy Association of Thailand (P.T.A.T.) th-TH วารสารกายภาพบำบัด 0125-4634 การสำรวจความรู้และทักษะการรักษาผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในนักกายภาพบำบัดและนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดไทย https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/267974 <p><strong>ที่มาและความสำคัญ</strong><strong>:</strong> ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาวะกระดูกสันหลังคดเป็นสิ่งสำคัญสำหรับนักกายภาพบำบัดเพื่อให้การจัดการที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยที่มีภาวะนี้ การรักษาที่ไม่เหมาะสมอาจทำให้มุมการคดเพิ่มขึ้นได้ ในประเทศไทยยังไม่มีการสำรวจครอบคลุมด้านความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาวะกระดูกสันหลังคดในนักกายภาพบำบัดและนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัด</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong><strong>: </strong>การศึกษาในครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อสำรวจระดับความรู้และความมั่นใจในการจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกสันหลังคดชนิดไม่ทราบสาเหตุในนักกายภาพบำบัดและนักศึกษากายภาพบำบัดชาวไทย</p> <p><strong>วิธีการวิจัย:</strong>การสำรวจออนไลน์ได้ถูกพัฒนาขึ้นตามแนวทางของ Society on Scoliosis Orthopedic and Rehabilitation Treatment (SOSORT) โดยแบบสอบถามนี้ประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ความรู้พื้นฐาน และความมั่นใจในการรักษาผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุ</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>มีนักกายภาพบำบัดจำนวน 221 คน และนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดจำนวน 167 คน ที่ตอบแบบสอบถาม ผลลัพธ์แสดงให้เห็นว่าทั้งสองกลุ่มได้คะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของคะแนนรวมที่เป็นไปได้ นักกายภาพบำบัดที่จบการศึกษาระดับหลังปริญญาได้คะแนนเฉลี่ยสูงกว่านักกายภาพบำบัดที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.029) นอกจากนี้ พบว่ากลุ่มนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดรายงานระดับความมั่นใจในระดับที่สูงกว่าในการจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกสันหลังคด และให้คะแนนความเหมาะสมของเนื้อหาหลักสูตรเกี่ยวกับกระดูกสันหลังคดที่ตนเรียนสูงกว่ากลุ่มนักกายภาพบำบัด (p &lt; 0.05)</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>นักกายภาพบำบัดและนิสิตนักศึกษากายภาพบำบัดมีระดับความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุอยู่ในระดับต่ำ ข้อเสนอแนะควรมีการปรับปรุงหลักสูตรระดับปริญญาตรีให้มีเนื้อหาเกี่ยวกับกระดูกสันหลังคดที่ละเอียดมากขึ้น นอกจากนี้ ควรปรับปรุงโปรแกรมการศึกษาต่อเนื่องสำหรับนักกายภาพบำบัดให้มีการฝึกอบรมเพิ่มเติมที่มุ่งเน้นการเพิ่มพูนความรู้และทักษะในการจัดการผู้ป่วยที่มีภาวะกระดูกสันหลังคด</p> อัมพร นันทาภรณ์ศักดิ์ มัณฑนา วงศ์ศิรินวรัตน์ ระพีพัฒน์ จิตมาลย์ Copyright (c) 2024 วารสารกายภาพบำบัด http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-20 2024-12-20 46 3 100 112 ประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยโรคหินปูนในหูชั้นในหลุดด้วยรูปแบบตรังโมเดล ต่ออาการเวียนศีรษะบ้านหมุนและการทำกิจวัตรประจำวัน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/268422 <p><strong>ที่มาและความสำคัญ: </strong>โรคหินปูนในหูชั้นในหลุด (Benign paroxysmal positional vertigo :BPPV) เป็นสาเหตุที่พบบ่อยของอาการเวียนศีรษะ ส่งผลกระทบต่อการทำกิจวัตรประจำวัน การฟื้นฟูระบบเวสติบูลาร์ (vestibular rehabilitation: VRT) เป็นวิธีการรักษาที่มีประสิทธิภาพ โรงพยาบาลตรังได้พัฒนารูปแบบการรักษาที่เรียกว่าTrang model ซึ่งประกอบด้วยการตรวจประเมิน การทำ canalith repositioning procedure (CRP) เช่น Epley, Semont หรือ Gufoni maneuver ร่วมกับการทำ VRT อย่างเป็นระบบ พร้อมประเมินซ้ำและปรับแผนการรักษาเฉพาะบุคคล รวมถึงให้ความรู้และโปรแกรมการฝึกที่บ้านแก่ผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม การศึกษาถึงประสิทธิผลของTrang modelในการรักษา BPPV โดยเฉพาะในกลุ่มประชากรไทยยังมีอยู่จำกัด จึงจำเป็นต้องมีการศึกษาผลลัพธ์ของการนำรูปแบบการรักษานี้ไปใช้ในบริบทของประเทศไทย</p> <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย BPPV ด้วยTrang model ต่อการหายของโรคและความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน</p> <p><strong>วิธีการวิจัย: </strong>เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง ในผู้ป่วย BPPV 122 รายที่มารับการรักษาที่คลินิกลดเวียนศีรษะ รพ.ตรัง ระหว่าง ก.ย. 2565 - ส.ค. 2566 ประเมินผลจากคะแนน Visual Analog Scale (VAS), Dizziness Handicap Inventory (DHI) และผลการตรวจทางคลินิกได้แก่ Dix-Hallpike/Roll test, head impulse test (HIT) ก่อนและหลังรักษาด้วย Trang model วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ Wilcoxon Signed Ranks Test และ McNemar test</p> <p><strong> </strong></p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิงร้อยละ77.90 และมีช่วงอายุ 61-80 ปี หลังรักษาพบคะแนน VAS ลดลงจาก 6.52 ± 1.61 เป็น 1.37 ± 0.91, คะแนน DHI เฉลี่ยลดลงจาก 48.95 เป็น 2.77 อย่างมีนัยสำคัญ (<em>p</em> &lt; 0.01) ในผู้ป่วย BPPV ตามเกณฑ์คัดเข้า 122 ราย พบผู้ป่วยมี Dix-Hallpike/Roll test ผิดปกติร้อยละ 79.50 โดยทั้งหมดผลเป็นปกติหลังเข้ารับการรักษาด้วยTrang model และพบ head impulse test ผิดปกติก่อนการรักษาร้อยละ 81.10 โดยผลเป็นปกติหลังเข้ารับการรักษาด้วย Trang model เช่นเดียวกัน อย่างมีนัยสำคัญ (<em>p</em>&lt;0.01) และ ร้อยละ 95.10 สามารถจำหน่ายได้หลังได้รับการรักษา 1-3 ครั้ง</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วย BPPV ด้วย Trang model มีประสิทธิผลในการหายอาการของโรค และเพิ่มความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน</p> วัชรินทร์ ทายะติ Copyright (c) 2024 วารสารกายภาพบำบัด http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-20 2024-12-20 46 3 113 123 การศึกษาเปรียบเทียบผลการรักษาระหว่างเครื่องเลเซอร์พลังงานต่ำกับเครื่องกระตุ้นระบบประสาทส่วนปลายด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในกลุ่มปวดหลังส่วนล่างระยะเฉียบพลันและ กึ่งเฉียบพลัน https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/270443 <p><strong>ที่มาและความสำคัญ: </strong>อาการปวดหลังส่วนล่างเป็นปัญหาที่มักพบในผู้ใหญ่ การรักษาด้วยเลเซอร์พลังงานต่ำมีหลักฐานที่ชัดเจนว่าสามารถลดอาการปวดในผู้ป่วยระยะเฉียบพลันได้ แต่ยังมีการศึกษาในเครื่องกระตุ้นระบบประสาทส่วนปลายด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าที่ยืนยันถึงการใช้เครื่องมือนี้ในผู้ป่วยระยะเฉียบพลันไม่มากนัก</p> <p><strong>วัตถุประสงค์: </strong>เพื่อเปรียบเทียบระดับความเจ็บปวด องศาการเคลื่อนไหวของหลังส่วนล่าง และผลกระทบของอาการปวดหลังที่มีต่อชีวิตประจำวันก่อน หลังการรักษา และระหว่างกลุ่ม</p> <p><strong>วิธีการวิจัย: </strong>อาสาสมัครถูกแบ่งออกเป็นกลุ่ม 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยเลเซอร์พลังงานต่ำ (15 คน) และกลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นระบบประสาทส่วนปลายด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (15 คน) และได้รับการประเมินระดับความปวดชนิดตัวเลข (Numerical rating scale: NRS) องศาการเคลื่อนไหวของหลังส่วนล่าง และแบบสอบถาม Oswestry Disability Index (ODI) ก่อนการรักษา หลังการรักษาครั้งที่ 5 และ 10 ทั้งสองกลุ่มได้รับการรักษาความถี่ 5 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ และนำผลการประเมินมาวิเคราะห์โดยใช้สถิติ The Friedman test, Mann-Whitney U Test และ mixed-ANOVA test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05</p> <p><strong>ผลการวิจัย: </strong>ผู้เข้าร่วมวิจัยทั้งสองกลุ่มมีระดับความเจ็บปวดและคะแนนแบบสอบถาม ODI ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ หลังจากได้รับการรักษา 10 ครั้ง และยังพบว่า หลังการรักษาครั้งที่ 5 กลุ่มที่ได้รับการรักษาด้วยเครื่องกระตุ้นระบบประสาทส่วนปลายด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า มีระดับความเจ็บปวดขณะที่ทำกิจกรรมที่กระตุ้นอาการปวดลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และทั้งสองกลุ่มมีองศาการเคลื่อนไหวหลังเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญบางทิศทาง อย่างไรก็ตาม ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในทุกผลลัพธ์เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม</p> <p><strong>สรุปผล: </strong>การกระตุ้นด้วยเครื่องกระตุ้นระบบประสาทส่วนปลายด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้า ช่วยลดอาการปวดในผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังระยะเฉียบพลันและกึ่งเฉียบพลันได้มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกับการใช้เลเซอร์พลังงานต่ำ ด้วยกลไกที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ เครื่องมือทั้งสองชนิดสามารถเพิ่มความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวัน และการเคลื่อนไหวของหลังได้</p> สิรุษา ติระภากรณ์ มีน พรหมมนตรี ชาลิสา อภิชัยบุคคล พิมพ์พิมล กัมปนาทแสนยากร Copyright (c) 2024 วารสารกายภาพบำบัด http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-20 2024-12-20 46 3 124 140 ผลของการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนเอวด้วยแนวคิด Abdominal Drawing-In Maneuver ผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางไกลต่อการรับรู้ตำแหน่งของกระดูกสันหลังส่วนเอวในผู้ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งในท่านั่งร่วมกับมีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังและมีภาวะความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนเอว: การศึกษานำร่อง https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjpt/article/view/271119 <p><strong>ที่มาและความสำคัญ</strong><strong>:</strong> การฟื้นฟูสมรรถภาพทางไกลส่งเสริมการลดค่าใช้จ่าย จํานวนการเข้ารับการรักษาและระยะเวลาในการรักษาได้ ปัจจุบันการออกกําลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนเอวได้ถูกแนะนำในผู้ที่มีปัญหาภาวะความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนเอว</p> <p><strong>วัตถุประสงค์</strong>: เพื่อศึกษาผลของการฟื้นฟูสมรรถภาพทางไกลด้วยการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนเอวด้วยเทคนิค Abdominal Drawing-In Maneuver (ADIM) ต่อการรับรู้ตำแหน่งของกระดูกสันหลังส่วนเอว ระดับอาการปวดและความสามารถในการหดตัวของกล้ามเนื้อ Transversus abdominis (TrA) ในผู้ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งในท่านั่งร่วมกับมีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังและมีภาวะความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนเอว</p> <p><strong>วิธีการวิจัย</strong>: อาสาสมัครจำนวน 24 คน ที่มีภาวะความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนเอวแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม โดยการสุ่ม ได้แก่ กลุ่ม ADIM และกลุ่มควบคุม ตัวแปรในการศึกษาประกอบด้วยความคลาดเคลื่อนการรับรู้ตำแหน่งของกระดูกสันหลังส่วนเอว ระดับอาการปวดและความสามารถในการหดตัวของกล้ามเนื้อ TrA โดยประเมินก่อนและหลังการรักษาเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์</p> <p><strong>ผลการวิจัย</strong>: กลุ่ม ADIM แสดงให้เห็นว่ามีการปรับปรุงค่าความคลาดเคลื่อนการรับรู้ตำแหน่งของกระดูกสันหลังส่วนเอว ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.015) ความสามารถในการหดตัวของกล้ามเนื้อ TrA ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.003) และลดระดับอาการปวดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.002) หลังการออกกำลังกายเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีเพียงระดับอาการปวดที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิต (p=0.004) เท่านั้น เมื่อทำการเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มพบว่ากลุ่ม ADIM สามารถปรับปรุงระดับค่าความคลาดเคลื่อนการรับรู้ตำแหน่งของกระดูกสันหลังส่วนเอวให้ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.008) และความสามารถในการหดตัวของกล้ามเนื้อ TrA เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.001) หลังการรักษา 4 สัปดาห์</p> <p><strong>สรุปผล</strong>: นักกายภาพบำบัดสามารถปรับปรุงความคลาดเคลื่อนการรับรู้ตำแหน่งของกระดูกสันหลังส่วนเอว ระดับอาการปวดและความสามารถในการหดตัวของกล้ามเนื้อ TrA ให้ดีขึ้น ในผู้ที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งในท่านั่งร่วมกับมีอาการปวดหลังส่วนล่างเรื้อรังและมีภาวะความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนเอว โดยใช้เทคนิค ADIM ผ่านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางไกล เทคนิค ADIM สามารถเพิ่มความสามารถการหดตัวของกล้ามเนื้อ TrA ซึ่งมีความสำคัญต่อภาวะความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนเอว ดังนั้น การปฏิบัติทางคลินิกเทคนิค ADIM จึงมีความสำคัญที่จะใช้ในการแนะนำการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงของกระดูกสันหลังในผู้ป่วยที่มีภาวะความไม่มั่นคงของกระดูกสันหลังส่วนเอว</p> พงศธร ซ้ายกลาง ขวัญหทัย พันธโส พีรภาว์ ตั้งนามประเสริฐ มณฑนรรห์ ฉันทรุจิกพงศ์ สุณิศา เทพศิริ ธัญวรัตม์ สาป้อง รักษิณา พูลสวัสดิ์ ธีรวัฒน์ นิธิอรรถวานนท์ รุ่งฤดี ทัพศิลา Copyright (c) 2024 วารสารกายภาพบำบัด http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0 2024-12-20 2024-12-20 46 3 141 156