Factors affecting ventriculoperitoneal shunt complications in patients with hydrocephalus
Keywords:
Hydrocephalus, Ventriculoperitoneal shunt, Shunt complications, ภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ, ผ่าตัดใส่สายระบายน้ำโพรงสมองลงช่องท้อง, ภาวะแทรกซ้อนจากสายระบายAbstract
Introduction: This study attempted to determine the factors associated with shunt complications in hydrocephalic patients.
Method: A retrospective study was performed on the record of 91 patients, retrieved from the database of Chumphon Khet Udomsakdi hospital between August 2004 and April 2016. The potential factors affecting shunt complications included: age, sex, etiology, underlying disease, prior external ventricular drain (EVD), prior ventriculostomy drain setup (VPS), and medical student. Survival analysis was performed by the Kaplan-Meier method. The Cox proportional hazards model was used to assess the association between independent variables and shunt complications.
Result: Of the 91 patients, the median follow up time was 4535 person-day, mortality rate was 15.38% and complication rate was 27.47%. The significant factors association with shunt complications included: prior ventriculoperitoneal shunt adjusted HR = 3.28(95%CI: 1.51 - 7.13) and prematurity adjusted HR = 2.1 (95%CI: 1.10 - 3.78)
Discussion and Conclusion: There were two significant factors affecting shunt complications including patients with prematurity and prior ventriculoperitoneal shunt.
บทนำ: วัตถุประสงค์การศึกษาเพื่อหาปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากสายระบายน้ำในโพรงสมองลงช่องท้อง ในผู้ป่วยที่มีภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ
วิธีการศึกษา: การศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลังโดยทบทวนเวชระเบียนผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองลงช่องท้อง ในโรงพยาบาลชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙ วิเคราะห์ข้อมูลเรื่องระยะปลอดภาวะแทรกซ้อน ปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อน โดยใช้สถิติ Kaplan-Meiermethod, Log rank test, Cox proportional hazards model และ partial likelihood ratio test
ผลการศึกษา: ประชากรจำนวน ๙๑ ราย ค่ามัธยฐานเวลาติดตามเท่ากับ ๔,๕๓๕ คน-วัน พบอัตราตายทั้งหมดร้อยละ ๑๕.๓๘ อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนร้อยละ ๒๗.๔๗ โดยพบปัจจัยที่สัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < ๐.๐๕) คือเคยผ่าตัดใส่สายระบายน้ำในโพรงสมองลงช่องท้องมาก่อน adjusted HR = ๓.๒๘ (95%CI: ๑.๕๑ - ๗.๑๓) และผู้ป่วยที่คลอดก่อนกำหนด adjusted HR = ๒.๑ (95%CI: ๑.๑๐ - ๓.๗๘)
วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: มีสองปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากสายระบายน้ำในโพรงสมองลงช่องท้องในผู้ป่วยที่มีภาวะโพรงสมองคั่งน้ำ ได้แก่ เด็กทารกที่คลอดก่อนกำหนด และผู้ที่เคยทำผ่าตัดใส่สายระบายน้ำโพรงสมองลงช่องท้องมาก่อน