Knowledge attitude and behavior of energy - drink intake of medical students
Keywords:
Knowledge, Attitude, Consumption behavior, Energy drink, Medical student, ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมของผู้บริโภค, เครื่องดื่มชูกำลัง, นักศึกษาแพทย์Abstract
Introduction: Energy drink is a drink with caffeine and effect to cardiovascular system, it may be dangerous to health if we have over consumption continuously. Main objectives were to explore knowledge, attitude and energy drink consumption behavior of medical students and sub objective was to study the difference of knowledge, attitude and energy drink consumption behavior of medical student level 1 - 6.
Method: This research was a descriptive study. Sampling table was used for selecting 397 samples from student level 1-6 of faculty of Medicine Thammasat university, and stratified to 3 groups; first-year group, preclinical group, clinical group. Data were collected by online questionnaire, which divided to 4 parts; general information, energy drink consumption behavior, knowledge and attitude of energy drink. Percentage, mean and Kruskal-Walis H were used for knowledge and attitude variable analysis.
Result: We found 53.7% of samples consumed energy drink. Clinical-year students were the most (60.4%). Most of them consumed during study or before examination, three major reasons were for reading or doing homework, refreshing, insufficient sleeping. Home or dormitory was the most frequency place for drinking, and most of them intake with no mixer and less than 1 bottle per day. Moreover, they had good knowledge, and uncertain attitude. Knowledge of sample in each group were significantly different, but no difference in attitude.
Discussion and Conclusion: It should study other caffeine consumption behavior and comparing with daily caffeine intake, moreover, it should study in students of other faculties.
บทคัดย่อ
บทนำ: เครื่องดื่มชูกำลังเป็นเครื่องดื่มผสมคาเฟอีน มีฤทธิ์ต่อระบบหัวใจและการไหลเวียนของโลหิตอัน อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ หากได้รับในปริมาณมากและติดต่อกันเป็นประจำ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อศึกษาความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มชูกำลังของนักศึกษาแพทย์ และมีวัตถุประสงค์รอง คือ เพื่อศึกษาความแตกต่างของความรู้ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มชูกำลังของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ ๑ - ๖
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบพรรณนา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ ๑ - ๖ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จำนวน ๓๙๗ คนที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเลขสุ่ม แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น ๓ กลุ่ม คือ กลุ่มชั้นปีที่ ๑ กลุ่มพรีคลินิกและกลุ่มคลินิก รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์ ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ส่วน คือ ข้อมูลทั่วไป พฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มชูกำลัง ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่ม
ชูกำลังและทัศนคติต่อการบริโภคเครื่องดื่มชูกำลัง และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของตัวแปรความรู้และทัศนคติ ด้วย Kruskal-Walis H
ผลการศึกษา: นักศึกษามีพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มชูกำลังร้อยละ ๕๓.๗ นักศึกษาชั้นคลินิกมีพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มชูกำลังมากที่สุด คือ ร้อยละ ๖๐.๔ โดยสถานการณ์ในการบริโภคนักศึกษาส่วนใหญ่ จะบริโภคในการเรียน/การสอบ โดยมีวัตถุประสงค์มากที่สุด
๓ อันดับ คือ อ่านหนังสือ/ทำการบ้าน ต้องการความกระชุ่มกระชวย และนอนหลับ
ไม่เพียงพอ ซึ่งสถานที่ในการบริโภคมากที่สุด ได้แก่ บ้านหรือหอพัก ส่วนใหญ่มีวิธีการดื่มโดยไม่ต้องผสมกับเครื่องดื่มชนิดอื่นๆ และดื่มน้อยกว่า ๑ ขวดต่อวัน นอกจากนี้ยังพบว่า นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่มชูกำลังอยู่ในระดับดี และมีทัศนคติเกี่ยวกับการบริโภคเครื่องดื่มชูกำลัง คือ ไม่แน่ใจ ส่วนความแตกต่างของความรู้และทัศนคติ พบว่า นักศึกษาแพทย์แต่ละกลุ่มมีความรู้ที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ แต่มีทัศนคติที่ไม่แตกต่างกัน
วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา: ควรมีการศึกษาพฤติกรรมการบริโภคเครื่องดื่มที่ผสมคาเฟอีนชนิดอื่นๆ และเปรียบเทียบกับปริมาณคาเฟอีนที่ร่างกายควรบริโภคในแต่ละวัน และควรศึกษาในกลุ่มนักศึกษาคณะอื่นๆ