The perception of instant messaging group communications in Thai medical students

Authors

  • Polathep Vichitkunakorn Department of Family Medicine and Preventive Medicine, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University
  • Uraiwan Pattanasutnyavong Division of Health Promotion and Occupational Health, Songklanagarind Hospital
  • Krishna Suvarnabhumi Department of Family Medicine and Preventive Medicine, Faculty of Medicine, Prince of Songkla University

Keywords:

Instant messaging group communications, Education technology, Medical student, การติดต่อสื่อสารแบบโต้ตอบแบบทันทีแบบกลุ่ม, เทคโนโลยีการศึกษา, นักศึกษาแพทย์

Abstract

Introduction: Education technologies are popular because of convenience and flexibility. LINE® is an attractive application for instant messaging (IM) group communications on smartphones or tablets. The Division of Trauma Surgery at Prince of Songkla University has implemented IM group communications for medical students to increase contact time between the advisors and medical students. This study aimed to examine the perception of IM group communications in Thai medical students.

Method: This study was a qualitative design. We estimated that a sample size of 28 participants in an IM group would provide thematic saturation. In-depth interviews were utilized for data collection. Data were analyzed by content analysis.

Result: The core category, “perception of IM group communications”, was generated from three inter-related categories: (1) User domain: confidence in expressing ideas and effective class preparation, (2) Knowledge content domain: sharing of knowledge and persistent subject data (3) Instrument domain: convenience, small graphic interface and typing surface.

Discussion and Conclusion: IM group communications could be a novel promoting educational tool in medical student perception. There were three components including users, knowledge contents and instrument domains


บทคัดย่อ
บทนำ: เทคโนโลยีการศึกษาเป็นที่นิยมในปัจจุบันเนื่องจากความสะดวกและรวดเร็ว LINE® เป็นโปรแกรมประยุกต์สำหรับการสนทนาโต้ตอบแบบทันทีบนอุปกรณ์สื่อสารสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต หน่วยศัลยศาสตร์อุบัติเหตุ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ได้ประยุกต์ใช้การติดต่อสื่อสารแบบโต้ตอบแบบทันทีแบบกลุ่มสำหรับการเรียนการสอนในนักศึกษาแพทย์ในปีการศึกษา ๒๕๕๗ การศึกษานี้มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้การติดต่อสื่อสารแบบโต้ตอบแบบทันทีแบบกลุ่ม ในนักศึกษาแพทย์ชั้นคลินิก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วิธีการศึกษา: รูปแบบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกในนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ ๔ ที่ได้ใช้งานการติดต่อสื่อสารแบบโต้ตอบแบบทันทีแบบกลุ่ม จำนวน ๒๘ คนและวิเคราะห์ข้อมูลแบบวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการศึกษา: ประเด็นสำคัญของการใช้งานการติดต่อสื่อสารแบบโต้ตอบแบบทันทีแบบกลุ่มในนักศึกษาแพทย์ คือ (๑) ปัจจัยด้านผู้ใช้งาน พบว่า ช่วยเสริมสร้างความมั่นใจและการเตรียมความพร้อมในการเรียนให้แก่นักศึกษา (๒) ปัจจัยด้านเนื้อหาความรู้ พบว่า ช่วยเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสามารถเรียกดูข้อมูลและบทสนทนาในอดีตได้จากโปรแกรม แต่ยังมีข้อจำกัดด้านพื้นที่แสดงความคิดเห็นและอวัจนะภาษาและ (๓) ปัจจัยด้านเครื่องมือ พบว่า มีความสะดวกรวดเร็ว แต่ในขณะเดียวกันอุปกรณ์ก็มีพื้นที่แสดงผลและแป้นพิมพ์ขนาดเล็ก
วิจารณ์และสรุปผลการศึกษา: ในมุมมองการรับรู้ของนักศึกษาแพทย์ พบว่า การติดต่อสื่อสารแบบโต้ตอบแบบทันทีเป็นเครื่องมือทางการศึกษาแนวใหม่ที่ส่งเสริมการเรียนรู้ทางการแพทย์ ซึ่งประกอบไปด้วย ๓ องค์ประกอบหลัก คือ ผู้ใช้งาน เนื้อหาความรู้และเครื่องมือ

Published

2017-12-31

Issue

Section

Original Articles