Correlation of the scores on different comprehensive examinations and the Medical Competency Assessment Test for National License: a mixed methods study
Keywords:
Comprehensive examination, Thai, National license examination, Correlation, Performance, การสอบประมวลความรู้, ไทย, การสอบประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม, ความสัมพันธ์Abstract
Introduction: In-house comprehensive examinations for preclinical students from various Thai medical schools were provided. However, their quality has never been evaluated with a score correlation with NLE as the gold standard. This study aimed to assess the correlation of the scores as determined by three different comprehensive examinations and national license examination 1 (NLE step I) and to identify the positive learning strategies.
Method: A mixed methods sequential explanatory study was done to investigate the performances amongst four tests and to identify the potential factors affecting those scores using semi-structured interviews and focus groups with content analysis.
Result: All (n = 48) third-year medical students participated in our study. The majority were females (64.6%). Significantly positive correlations of NLE scores were: test A scores (r = 0.86), test B scores (r = 0.85), and WU test scores (r = 0.78). The highest accuracy index (AI = 0.87) was the WU test, where sensitivity, specificity were 20.0% and 97.1%, respectively. The WU test revealed that it was most helpful in preparing them for the NLE. Students who passed the exam used three study strategies; group study, tutorial sessions, and review by themselves.
Discussion and Conclusion: There were strong positive correlations between three different in-house developed comprehensive examinations and NLE. The WU test showed the highest accuracy index to predict the NLE result. Regular review of lessons was emphasized as a cornerstone.
บทคัดย่อ
บทนำ: เพื่อประเมินความสอดคล้องของคะแนนสอบข้อสอบประมวลความรู้จากโรงเรียนแพทย์สามแห่งเปรียบเทียบกับคะแนนสอบข้อสอบขั้นตอนที่ ๑ ของศูนย์ประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม (ศ.ร.ว.) และระบุวิธีการเตรียมตัวสอบของนักศึกษาแพทย์ที่สอบผ่าน
วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยแบบผสม ระบุระดับความสัมพันธ์จากค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของคะแนนสอบของนักศึกษาแพทย์ (นศพ.) จากชุดข้อสอบทั้งสี่ฉบับ และใช้การสัมภาษณ์เพื่อระบุวิธีการเตรียมตัวสอบของ นศพ. ที่สอบผ่าน
ผลการศึกษา: นศพ. ชั้นปีที่สาม ๔๘ คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ ๖๔.๖) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์ พบว่าคะแนนสอบข้อสอบประมวลความรู้และคะแนนสอบของ ศ.ร.ว. มีความสัมพันธ์แบบตามกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (โรงเรียนแพทย์ ก, r= ๐.๘๖; โรงเรียนแพทย์ ข, r= ๐.๘; และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.), r= ๐.๗๘) ข้อสอบ มวล. มีความแม่นยำสูงสุดเพื่อพยากรณ์การสอบตกข้อสอบของ ศ.ร.ว. (AI= ๐.๘๗) มีความไวและความเจาะเพาะร้อยละ ๒๐.๐ และร้อยละ ๙๗.๑ ตามลำดับ นักศึกษาแพทย์ที่สอบผ่านเตรียมตัวสอบด้วยการทบทวนแบบกลุ่ม การสอนเพื่อน และทบทวนด้วยตนเอง
วิจารณ์และสรุปผลการศึกษา: คะแนนสอบข้อสอบประมวลความรู้ทั้งสามฉบับและคะแนนสอบข้อสอบ ศ.ร.ว. มีความสัมพันธ์แบบตามกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อสอบ มวล. มีความแม่นยำสูงสุดเพื่อพยากรณ์การสอบตกข้อสอบของ ศ.ร.ว. โดยเตรียมตัวสอบอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งสำคัญ