Effectiveness of occupational health and safety of medical laser use program in Chonburi Hospital

Authors

  • Eakkarin Lukkanalikitkul Occupational Medicine Department, Chonburi Hospital
  • Malinee Punyaratabundhi Occupational Medicine Department, Chonburi Hospital
  • Pornnarut Pongsawasdi Occupational Medicine Department, Chonburi Hospital

Keywords:

Occupational Health and Safety, Laser, อาชีวอนามัยและความปลอดภัย, เลเซอร์

Abstract

Introduction: The objective of this study was to examine the effectiveness of occupational health and safety of medical laser use program in Chonburi hospital.

Method: The study was a quasi-experimental study. The first part was a survey in the hospital including Dermatology, Ophthalmology outpatient departments and operation rooms. The second part was a study among 125 participants to whom the lecture about the occupational health and safety of medical laser use was provided, and the data about their relevant knowledge and awareness were collected again thereafter. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, McNemar’s test and paired t-test.

Result: Laser occupational health and safety standards were not met in many surveyed areas.This was the case for all of engineering controls, administrative and procedural controls, and the use of protective equipment and warning signs. Healthcare workers had inadequate knowledge and awareness on the health effects from laser use. The mean knowledge and awareness score was 6.66 out of the maximum of 17 points, and only 18 healthcare workers (14.4 percent) were aware that the laser occupational health and safety condition in their working departments should be improved. After the lecture, the mean score and proportion of participants who were aware that standards should be improved in their departments significantly increased (mean score of 13.39 points and 33.6 percent respectively; p-value < 0.001)

Discussion and conclusion: The improvement of laser occupational health and safety condition and the education to raise knowledge and awareness of the health effects from medical laser among relevant healthcare workers is important to ensure safety from medical laser use both for patients and healthcare workers.

บทคัดย่อ

บทนำ:  การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงระดับความรู้และความตระหนักของบุคลากรทางการแพทย์โรงพยาบาลชลบุรี เปรียบเทียบก่อนและหลังจากเข้าโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยจากการใช้เลเซอร์

วิธีการศึกษา:  เป็นการศึกษากึ่งทดลอง โดยสำรวจมาตรฐานในหน่วยงานที่มีการใช้เลเซอร์ ได้แก่ กลุ่มงานผู้ป่วยนอกผิวหนัง จักษุ และห้องผ่าตัด และบรรยายให้ความรู้และให้ผู้เข้าร่วมการศึกษา ตอบแบบสอบถามประเมินความรู้และความตระหนัก เปรียบเทียบคะแนนทั้งก่อนและหลัง การให้ความรู้ จำนวน ๑๒๕ คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน McNemar’s testและ paired t-test

ผลการศึกษา:  มาตรฐานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยยังไม่เหมาะสมในหลายๆด้าน ทั้งด้านการ ควบคุมด้านวิศวกรรม การบริหารและกระบวนการ รวมทั้งการใช้อุปกรณ์ป้องกันและป้าย สัญลักษณ์เตือน บุคลากรทางการแพทย์ยังไม่มีความรู้และความตระหนักถึงผลกระทบต่อ สุขภาพที่เกิดจากการใช้เลเซอร์ โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยจากการตอบแบบสอบถามประเมิน ความรู้เท่ากับ ๖.๖๖ คะแนน (คะแนนเต็ม ๑๗ คะแนน) และมีบุคลากรทางการแพทย์เพียง    ๑๘ คน  (ร้อยละ ๑๔.๔) ที่เห็นว่าควรปรับปรุงมาตรฐานในหน่วยงาน ภายหลังจากการบรรยายให้ความรู้พบว่าค่าคะแนนเฉลี่ยและสัดส่วนของผู้ที่เห็นว่าควรมีการปรับปรุงมาตรฐานเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (คะแนนเฉลี่ย ๑๓.๓๙ คะแนน และร้อยละ ๓๓.๖ ตามลำดับ; p-value < ๐.๐๐๑)

 

วิจารณ์ และสรุปผลการศึกษา:  การเสริมสร้างความรู้และความตระหนักในบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงการนำมาตรฐาน ด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในการใช้เลเซอร์ในโรงพยาบาลมาใช้ในประเทศไทย  เป็นเรื่องที่ควรดำเนินการพัฒนาและให้ความสำคัญ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อทั้งผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์

 

Published

2018-03-27

Issue

Section

Original Articles